Index  

อะฮฺกามสำหรับเยาวชน

อิจติฮาดและตักลีด

  มนุษย์สามารถปฏิบัติตามกฏบัญญัติของศาสนาได้ด้วยการอิจติฮาด หรือตักลีด

  อิจติฮาดหมายถึง ความสามารถในการค้นหาเหตุผลของอะฮฺกามศาสนา (กฏบัญญัติของศาสนา) จากแหล่งอ้างอิงโดยเฉพาะอัล-กุรอาน ฮะดีซของนบี (ซ็อล ฯ) และมะอฺซูม (อ.) ซึ่งการอิจติฮาดจะสัมฤทธิ์ผลก็ต่อเมื่อมีการเรียนรู้ และอาศัยความเพียรพยายามอย่างสูง มีความชำนาญพิเศษ ประกอบกับต้องได้รับความสำเร็จ (เตาฟีก) ที่พระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงประทานให้เป็นกรณีพิเศษ ซึ่งบุคคลที่มีคุณสมบัติดังกล่าวนี้เรียกว่า มุจตะฮิด

  ตักลีด หมายถึงการปฏิบัติตาม หรือการตาม ในที่นี้หมายถึงการปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของมุจตะฮิด หมายถึงการปฏิบัติภาระกิจของตนให้ตรงคำวินิจฉัยของมุจตะฮิด

  ข้อที่ ๑. มุจตะฮิดที่บุคคลอื่นปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของท่านเรียกว่า มัรญิอฺตักลีด ส่วนบุคคลที่ปฏิบัติตามเรียกว่า มุก็อลลิด

  ข้อที่ ๒. บุคคลที่ไม่ได้เป็นมุจตะฮิด ไม่สามารถค้นหาเหตุผลอะฮฺกามจากแหล่งอ้างอิงได้ จำเป็นต้องปฏิบัติตามมุจตะฮิด หมายถึงปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ตรงกับคำวินิจฉัยของมุจตะฮิด

  ข้อที่ ๓. หน้าที่ของประชาชนส่วนใหญ่เกี่ยวกับหลักการปฏิบัติในศาสนาคือ การตักลีด (ปฏิบัติตาม) เนื่องจากบุคคลที่มีความสามารถวินิจฉัยปัญหาศาสนา หรืออิฮฺติยาฏการกระทำมีจำนวนน้อยนิด

  ข้อที่ ๔. การตักลีดอะฮฺกามหมายถึง การปฏิบัติตามคำสั่งของมุจตะฮิด และมุจตะฮิดที่ต้องตักลีดตามต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

-  เป็นเพศชาย

-  บาลิฆ (บรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ)

-  มีสติสัมปชัญญะ

-  เป็นชีอะฮฺอิมามียะฮฺ (๑๒ อิมาม)

-  บิดามารดาแต่งงานถูกต้องตามหลักศาสนา

-  มีชีวิต

-  มีความยุติธรรม (ไม่ทำบาปทั้งบาปเล็กและบาปใหญ่)

-  มีความรู้สูงสุด (อะอฺลัม) กว่ามุจตะฮิดท่านอื่น หมายถึงมีความเข้าใจฮุกุมของอัลลอฮฺดีกว่ามุจตะฮิดท่านอื่นในสมัยของตน

ข้อที่ ๕. ไม่สามารถเริ่มต้นตักลีดตามมุจตะฮิดที่เสียชีวิตไปแล้ว แต่ถ้าตักลีดอยู่กับมุจตะฮิดท่านหนึ่งต่อมาท่านได้เสียชีวิต สามารถปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของท่านต่อไปได้

ข้อที่ ๖. ถ้ามุจตะฮิดที่ตักลีดตามเสียชีวิต และท่านมีความรู้สูงกว่ามุจตะฮิดที่ยังมีชีวิต จำเป็นต้องคงสภาพการตักลีดกับท่าน แต่ถ้ามุจตะฮิดที่มีชีวิตมีความรู้สูงกว่า จำเป็นต้องเปลี่ยนตักลีดไปสู่มุจตะฮิดที่มีชีวิต กรณีที่ทั้งสองท่านมีความรู้เท่ากัน หรือไม่สามารถแบ่งแยกได้ว่าท่านใดมีความรู้สูงกว่า สามารถคงสภาพการตักลีดกับมุจตะฮิดที่เสียชีวิตแล้วต่อไปได้ หรือเปลี่ยนไปตักลีดกับมุจตะฮิดที่มีชีวิต

  ข้อที่ ๗. สามารถรู้จักมุจตะฮิดและอะอฺลัมได้ ๓ วิธีคือ

-  บุคคลนั้นต้องเชื่อมั่นด้วยตัวเอง เข่น เป็นผู้มีความรู้และสามารถจำแนกการเป็นมุจตะฮิดและความอะอฺลัมได้

-  ผู้รู้ที่มีความยุติธรรม ๒ ท่าน ที่สามารถจำแนกการเป็นมุจตะฮิดและความอะอฺลัม ได้รับรองการเป็นมุจตะฮิดและอะอฺลัมของมุจตะฮิดท่านนั้น แต่มีเงื่อนไขว่าผู้รู้ที่มีความยุติธรรม ๒ ท่่านอื่นต้องไม่มีความเห็นขัดแย้ง

-  การเป็นผู้มีความรู้สูงสุดของมุจตะฮิดท่านนั้นเป็นมี่รู้จักของสังคมทั่วไป

ข้อที่ ๘. สามารถรู้จักคำฟัตวา (คำวินิจฉัย) ของมุจตะฮิดได้ ๔ วิธีคือ

-  ได้ยินฟัตวาจากมุจตะฮิด

-  ได้ยินจากผู้ที่มีความยุติธรรม ๒ ท่านกล่าวถึงฟัตวาของมุจตะฮิด

-  ได้ยินจากผู้ที่มีความยุติธรรมคนหนึ่ง ซึ่งสามารถมั่นใจในคำพูดของเขาได้

-   ได้เห็นคำฟัตวาในริซาละฮฺ และบุคคลนั้นมั่นใจในความถูกต้องของริซาละฮฺ

ข้อที่ ๙. ถ้าฟัตวาของมุจตะฮิดได้เปลี่ยนแล้ว ผู้ปฏิบัติตามต้องปฏิบัติตามคำฟัตวาใหม่ ซึ่งไม่อนุญาตให้ปฏิบัติตามคำฟัตวาเดิมต่อไปได้ เว้นเสียแต่ว่าฟัตวาเดิมตรงกับหลักการอิฮฺติยาฏ

ข้อที่ ๑๐. เป็นวาญิบ สำหรับทุกคนที่ต้องเรียนรู้ปัญหาที่ต้องประสบเป็นประจำ

ความแตกต่างระหว่างอิฮฺติยาฏมุซตะฮับกับอิฮฺติยาฏวาญิบ

ข้อที่ ๑๑. อิฮฺติยาฏมุซตะฮับจะมาคู่กับฟัตวาเสมอ หมายถึงเกี่ยวกับเรื่องนั้นมุจตะฮิดนนอกจากจะออกฟัตวาแล้วยังได้อิฮฺติยาฏอีกต่างหาก หมายถึง เปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติตามเลือกว่าจะปฏิบัติตามฟัตวาหรืออิฮฺติยาฏในการปฏิบัติ แต่ไม่สามารถปฏิบัติตามฟัตวาของมุจตะฮิดท่านอื่นได้ เช่น ภาชนะที่นะญิซให้ล้างในน้ำกุร ๑ ครั้ง ถือว่าสะอาด แม้ว่าอิฮฺติยาฏให้ล้าง ๓ ครั้ง ก็ตาม

อิฮฺติยาฏวาญิบ จะไม่มาคู่กับฟัตวา ดังนั้น ผู้ปฏิบัติตามสามารถปฏิบัติตามหลักการอิฮฺติยาฏ วาญิบ หรือปฏิบัติตามฟัตวาของมุจตะฮิดท่านอื่นได้ เช่น อิฮฺติยาฏ ไม่ให้ซัจญฺดะฮฺลงบนใบองุ่นถึงแม้จะเป็นใบอ่อนก็ตาม

เครื่องหมายของการบรรลุศาสนบัญญัติ

บาลิฆ หมายถึงการบรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ ถ้าเป็นเด็กผู้ชายต้องมีเครื่องหมายดังต่อไปนี้

- มีขนขึ้นบริเวณอวัยะเพศ หรือบริเวณ้ท้องน้อย หรือใต้รักแร้

- มีอสุจิเคลื่อนออกมาไม่ว่าขณะตื่นหรือหลับก็ตาม

- มีอายุครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์ตามปีจันทรคติ ซึ่งจะมีจำนวนวันน้อยกว่า ๑๕ ปีของปีสุริยคติ ๑๖๓ วัน กับ ๖ ชั่วโมง

เครื่องหมายบาลิฆของเด็กผู้หญิง

- เครื่องหมายเดียวกันกับผู้ชาย (สองประการแรก)

- มีอายุครบ ๙ ปีบริบูรณ์ตามปีจันทรคติ ซึ่งจะมีจำนวนวันน้อยกว่า ๙ ปีของปีสุริยคติ ๙๗ วัน  ๒๒ ชั่วโมง กับอีก ๔๘ นาที

อะฮฺกามเฏาะฮาเราะฮฺ

นิญาซาต (สิ่งโสโครก)

อิสลามได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสะอาดทั้งทางร่างกาย จิตวิญญาณ และที่อยู่อาศัย มนุษยต้องออกห่างการกินการดื่มอาหารที่นะญิซ และต้องระวังรักษาเครืองแต่งกายไม่ให้นะญิซ เพื่อดำรงนมาซ ซึ่งนับว่าเป็นการแสดงความเคารพภักดีที่ดีที่สุด ดังนั้น เป็นการดีอย่างยิ่งถ้าสวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาดที่สุด ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าการเรียนรู้เรื่องนะญิซจำเป็นต้องเรียนรู้คู่กับการทำความสะอาด

ข้อที่ ๑๒. สิ่งทุกสิ่งบนโลกนี้ถือว่าสะอาด ยกเว้น ๑๑ ชนิดดังต่อไปนี้ นะญิซ ซึ่งการสัมผัสกับสิ่งเหล่านั้นจะเป็นสาเหตุให้นะญิซไปด้วย

  ข้อที่ ๑๓. นิญาซาต ๑๑ ชนิดได้แก่

  ๑. ปัสสาวะ  ๒. อุจจาระ  ๓. อสุจิ  ๔. ซากสัตว์

  ๕. เลือด   ๖. สุนัข  ๗. สุกร  ๘. กาฟิร

    ๙. สุรา ๑๐. เบียร์  ๑๑. เหงื่อของอูฐที่กินนะญิซ

ข้อที่ ๑๔. ปัสสาวะและอุจจาระของมนุษย์ และของสัตว์ที่เนื้อฮะรอมที่มีเหลือดไหลพุ่ง หมายถึงเวลาเชือดหรือตัดเส้นเลือดที่คอแล้วมีเลือดไหลพุ่งออกมา นะญิซ

ข้อที่ ๑๕. สัตว์แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท กล่าวคือ สัตว์ที่มีเหลือดไหลพุ่ง หมายถึงเวลาเชือดหรือตัดเส้นเลือดที่คอแล้วมีเลือดไหลพุ่งออกมา สัตว์ที่ไม่มีเลือดไหลพุ่ง หมายถึงเวลาเชือดหรือตัดเส้นเลือดที่คอแล้วจะไม่มีเลือดไหลพุ่งออกมา

ข้อที่ ๑๖. อุจจาระและปัสสาวะของสัตว์ที่เนื้อฮะลาล เช่น วัว แพะ แกะ และของสัตว์ที่ไม่มีเลือดไหลพุ่งเช่น ปลา งู เป็นต้น สะอาด

ข้อที่ ๑๗. อุจจาระและปัสสาวะของสัตว์ที่เนื้อมักรูฮฺ เช่น ม้า ลา หรือฬ่อเป็นต้น สะอาด

ข้อที่ ๑๘. อุจจาระของนกที่่เนื้อฮะรอม เช่น อีกา สะอาด

อะฮฺกามซากสัตว์

  ข้อที่ ๑๙. สัตว์ที่ไม่ได้เชือดตามหลักการอิสลาม หรือสัตว์ที่ตายเองถือว่าเป็น ซากสัตว์

  ข้อที่ ๒๐ ซากสัตว์ที่ไม่มีเลือดไหลพุ่ง เช่น ปลา สะอาด

  ข้อที่ ๒๑. ซากสัตว์ที่มีเลือดไหลพุ่ง อวัยวะส่วนที่ไม่มีชีวิต เช่น ขน ผม เขา สะอาด ส่วนอวัยวะที่มีชีวิต เช่น เนื้อ หนัง นะญิซ

  ข้อที่ ๒๒. ทุกส่วนของสุนัขและสุกร ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือตายแล้ว นะญิซ

  ข้อที่ ๒๓. คนตาย แม้ว่าเพิ่งจะตายซึ่งร่างกายยังไม่ทันเย็น ถือว่าอวัยวะทุกส่วน นะญิซ ยกเว้นอวัยวะที่ไม่มีชีวิต เช่น ขน ผม เล็บ หรือฟัน

  ข้อที่ ๒๔. เมื่อใดก็ตาม ถ้าฆุซลฺมัยยิตทั้งสาม (พุทธา พิมเสน น้ำเปล่า) เรียบร้อยแล้ว ถือว่าสะอาด

  ข้อที่ ๒๕. บุคคลที่ทำสงครามบนหนทางของอัลลอฮฺ เพื่อปกป้องอิสลามและได้ตายในสนามรบ ถือว่าร่างกายสะอาด ไม่จำเป็นต้องฆุซลฺมัยยิตและกะฝั่น (ห่อศพ)

อะฮฺกามเลือด

ข้อที่ ๒๖. เลือดของคนและของสัตว์ทุกประเภทที่มีเลือดไหลพุ่ง  เช่น ไก่ วัว แพะเป็นต้น นะญิซ

ข้อที่ ๒๗. สัตว์ที่ไม่มีเลือดไหลพุ่ง เช่น ปลา หรือยุง  สะอาด

ข้อที่ ๒๘. เลือดที่พบในใข่ไก่ไม่นะญิซ แต่อิฮฺติยาฏมุซตะฮับให้หลีกเลี่ยง

ข้อที่ ๒๙. เลือดที่ออกตามไรฟัน ถ้าผสมกับน้ำลายในปากจนหายไปหมด สะอาด และถ้ากลืนน้ำลายลงไปไม่เป็นไร

ขั้นตอนการนะญิซของสิ่งสะอาด

ข้อที่ ๓๐. ถ้าสิ่งของที่สะอาดสัมผัสกับสิ่งที่นะญิซ ซึ่งมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือทั้งสองเปียก และสามารถเปียกถึงอีกสิ่งหนึ่งได้ สิ่งที่สะอาดจะนะญิซทันที่

ข้อที่ ๓๑. ถ้าไม่รู้ว่าสิ่งที่สะอาดนะญิซหรือไม่ ถือว่าสะอาด และไม่จำเป็นต้องตรวจสอบ แม้ว่าสามารถพิสูจน์ถึงการเป็นนะญิซและความสะอาดของสิ่งนั้นได้ก็ตาม

ข้อที่ ๓๒. การกินหรือดื่มสิ่งที่นะญิซ อะรอม

มุเฏาะฮะรอต (สิ่งที่ใช้ทำความสะอาด)

  ข้อที่ ๓๓. มุเฏาะฮะรอต หมายถึงสิ่งที่ใช้ทำความสะอาดสิ่งนะญิซ มี ๑๐ ชนิด  แต่สิ่งที่ใช้เป็นประจำเสมอได้แก่

  ๑. น้ำ ๒. พื้นดิน  ๓. แสงแดด

  ๔.อิสลาม   ๕.การหมดไปของนะญิซ   

อะฮฺกามน้ำ

  น้ำมีหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรู้จัก ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  ข้อที่ ๓๔. น้ำแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทกล่าวคือ น้ำบริสุทธิ์หรือน้ำผสม

  น้ำผสมหมายถึง ที่สะกัดออกมาจากสิ่งอื่น เช่น น้ำผลไม้ (น้ำแตงโม น้ำแครอท น้ำแอบเปิล) หรือน้ำที่เจือปนหรือผสมกับสิ่งอื่น ซึ่งไม่สามารถเรียกน้ำนั้นว่าเป็นน้ำบริสุทธิ์ได้อีกต่อไป เช่น น้ำหวาน หรือเครื่องดื่มต่าง ๆ

น้ำบริสุทธิ์หมายถึง น้ำที่ไม่มีสิ่งอื่นเจือปน

น้ำสามารถชำระล้างนะญิซได้ต้องมีเงื่อนไข ๔ ประการ ดังนี้

  ๑. ต้องเป็นน้ำบริสุทธิ์ ฉะนั้น น้ำผสม เช่น น้ำกุหลาบ น้ำผลไม้ ไม่สามารถชำระล้างนะญิซได้

  ๒. ต้องเป็นน้ำสะอาด

  ๓. ขณะที่ล้างนะญิซน้ำต้องไม่เปลี่ยนเป็นน้ำผสม และสี กลิ่น หรือรสอย่างใดอย่างหนึ่งต้องไม่เปลี่ยนเพราะนะญิซนั้น

  ๔. เมื่อล้างนะญิซแล้วต้องไม่มีเศษนะญิซหลงเหลืออยู่ในน้ำ

  ข้อที่ ๓๕. อะฮฺกาม (เงื่อนไข) ของน้ำ

  เป็นไปได้ที่บางครั้งจะนำใช้น้ำผสมล้างสิ่งสกปรกต่าง ๆ แต่ไม่สามารถใช้น้ำผสมล้างสิ่งที่เปื้อนนะญิซได้เด็ดขาด (ไม่นับว่าเป็นหนึ่งในมุเฏาะฮะรอต) ดังนั้น ถ้าน้ำผสมโดนนะญิซ จะเป็นนะญิซทันที ไม่ว่านะญิซจะมากหรือน้อยก็ตาม และไม่จำเป็นว่าสี กลิ่น หรือรสชาดของน้ำจะเปลี่ยนไปหรือไม่

  - ทำวุฎูอฺหรือฆุซลฺกับน้ำผสม บาฏิล

  ประเภทของน้ำบริสุทธิ์

  ข้อที่ ๓๖. น้ำบางครั้งผุดขึ้นจากดิน บางครั้งตกลงมาจากฟากฟ้า หรือบางครั้งไม่ใช่ทั้งสองกรณ๊ น้ำที่ตกลงมาจากฟากฟ้าเรียกว่า น้ำฝน น้ำที่ผุดขึ้นจากพื้นดินถ้าไหลอย่างต่อเนื่อง เช่น น้ำจากตาน้ำเรียกว่า น้ำไหล แต่ถ้าไม่ไหล เรียกว่าน้ำบ่อ ส่วนน้ำที่ไม่ได้ผุดขึ้นจากดินหรือไม่ได้ตกมาจากฟากฟ้าเรียกว่า น้ำกุร และถ้ามีปริมาณน้อยกว่าพิกัดที่ได้กำหนดไว้เี่รียกว่า น้ำน้อย

ข้อที่ ๓๗. น้ำกุรหมายถึง ปริมาณน้ำเมื่อเทใส่ภาชนะที่มีความกว้าง ยาว ลึก ๓.๕ คืบเต็มพอดี หรือปริมาณน้ำที่มีน้ำหนัก ๓๘๓/๙๐๖ กิโลกรัม ถือเป็นอิฮฺติยาฏ แต่ส่วนมากจะให้น้ำหนักเพียง ๓๗๗/๔๑๙ กิโลกรัม

น้ำน้อย

ข้อที่ ๓๘. น้ำน้อยหมายถึง น้ำที่ไม่ได้ไหลออกจากพื้นดิน หรือน้ำที่มีปริมาณน้อยกว่ากุร

ข้อที่ ๓๙. ถ้านำเอาน้ำน้อยไปราดบนสิ่งของที่เปื้อนนะญิซ หรือมีสิ่งที่เปื้อนนะญิซไปโดน น้ำเป็นนะญิซทันที แต่ถ้าราดน้ำจากด้านบนลงบนสิ่งของที่เปื้อนนะญิซเฉพาะส่วนที่โดนกับสิ่งของนะญิซ แต่น้ำที่อยู่เหนือขึ้นไปไม่นะญิซ เช่นกัน ถ้าน้ำพลุได้พุ่งจากด้านล่างไปสู่ด้านบน และนะญิซได้ลอยไปด้านบน ถือว่าด้านล่างไม่นะญิซ  แต่ถ้านะญิซได้ตกมาสู่ด้านล่างถือว่าด้านบนนะญิซ

ข้อที่ ๔๐.ถ้ามีนะญิซตกลงไปในน้ำไหล เฉพาะส่วนที่สี กลิ่น หรือรสได้เปลี่ยนไปนะญิซ แต่ส่วนที่เชื่อมกับตาน้ำแม้ว่าจะมีปริมาณน้อยกว่ากุรถือว่าสะอาด น้ำในสถานที่อื่นเช่นกัน เช่น ลำธารหรือคลองถ้ามีปริมาณเท่ากับกุร หรือเนื่องจากน้ำที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงได้เชื่อมกับตาน้ำถือว่าสะอาด แต่ถ้าไม่ถือว่านะญิซ

ข้อที่ ๔๑. ถ้าน้ำน้อยนะญิซ แต่ได้เชื่อมติดกับน้ำกุรหรือน้ำไหลถือว่า สะอาด แต่อิฮฺติยาฏวาญิบน้ำกุรหรือน้ำไหลต้องผสมกับน้ำน้อยด้วย เช่น ภาชนะใส่น้ำน้อยเปื้อนนะญิซ ให้นำไปวางใต้ก๊อกน้ำที่เชื่อมต่อกับแหล่งน้ำกุร หลังจากนั้นเปิดน้ำลงในภาชนะ ถือว่าสะอาด แต่ถ้าสี หรือกลิ่น หรือรสของน้ำได้เปลี่ยนไปแล้วต้องเปิดน้ำทิ้งไว้จนกว่าสิ่ หรือกลิ่น หรือรสจะหมดไป

น้ำกุร น้ำไหล และน้ำบ่อ

ข้อที่ ๔๒.น้ำบริสุทธิ์ทุกประเภทยกเว้นน้ำน้อย ถ้าสิ หรือกลิ่น หรือรสของน้ำไม่ได้เปลี่ยนไป ถือว่าสะอาด แต่ทุกครั้งที่โดนนะญิซและสี หรือกลิ่น หรือรส อย่่างหนึ่งอย่างใดเปลี่ยนไป นะญิซ (ดังนั้น น้ำไหล น้ำบ่อ น้ำฝน และน้ำกุรอยู่ในเงื่อนไขเดียวกัน)

ข้อที่ ๔๒. น้ำที่ใช้ตามตึกและอาคารต่าง ๆ เนื่องจากน้ำเหล่านี้เชื่อมกับแหล่งน้ำกุร จึงถือว่าอยู่ในกฏของน้ำกุร

ข้อที่ ๔๓. คุณสมบัติบางประการของน้ำฝน

- ถ้าฝนตกลงบนสิ่งที่เปื้อนนะญิซ โดยไม่ได้มีนะญิซติดอยู่บนสิ่งนั้นเพียงครั้งเดียว ถือว่าสะอาด

- ถ้าฝนตกลงบนเสื้อผ้า หรือพรมที่เปื้อนนะญิซ ไม่จำเป็นต้องบิดถือว่าสะอาด

- ถ้าฝนตกลงบนพื้นดินที่นะญิซ ถือว่าสะอาด

- ทุกครั้งที่น้ำฝนรวมกันอยู่ในที่หนึ่ง แม้ว่าจะมีจำนวนน้อยกว่ากุร ถ้านำสิ่งที่เปื้อนนะญิซไปล้างในนั้นขณะที่ฝนกำลังตก และสี หรือกลิ่น หรือรสไม่ได้เปลี่ยนไป ถือว่าสะอาด

จะล้างสิ่งที่เปื้อนนะญิซด้วยน้ำอย่าไร

ข้อที่ ๔๔. การล้างสิ่งของที่เปื้อนนะญิซอันดับแรกต้องขจัดนะญิซออกก่อน หลังจากนั้นจึงล้างด้วยน้ำตามขั้นตอนที่จะกล่าวต่อไป

ข้อที่ ๔๖. ภาชนะที่เปื้อนนะญิซหลังจากขจัดนะญิซออกหมดแล้ว ถ้านำไปล้างในน้ำกุรเพียงครั้งเดียวถือว่าสะอาด แต่ะถ้าล้างด้วยน้ำน้อยให้ล้าง ๓ ครั้ง

ข้อที่ ๔๗. ภาชนะที่เปื้อนนะญิซสามารถล้างด้วยน้ำได้ด้วยวิธีนี้ กล่าวคือ

- ถ้าเป็นน้ำกุร ให้จุ่มภาชนะลงในน้ำกุรเพียงครั้งเดียว เมื่อนำขึ้นมาถือว่าสะอาด

- ถ้าเป้นน้ำน้อย ให้เทน้ำใส่ให้เต็มภาชนะ หลังจากนั้นให้เทออกทำเช่นนี้ ๓ ครั้ง หรือเทน้ำลงไปจำนวนหนึ่งหลังจากนั้นให้เขย่าเพื่อให้น้ำเปียกทั่วบริเวณที่เปื้อนนะญิซแล้วเทน้ำออก ทำเช่นนี้ ๓ ครั้งถือว่าสะอาอ

ข้อที่ ๔๘.พรมหรือเสื้อผ้าหรือสิ่งที่คล้ายคลึงกันที่ดูดซับน้ำและสามารถบิดน้ำออกได้ ดังนั้น ถ้าล้างด้วยน้อย ทุกครั้งที่ราดน้ำลงไปต้องบิดหรือรีดน้ำออกด้วย น้ำกุรหรือน้ำไหลก็เ่ช่นเดียวกัน อิฮฺิติยาฎวาญิบให้บิดหรือรีดน้ำออก

พื้นดิน

ข้อทีื ๔๙.ถ้าใต้ฝ่าเท้าหรือใต้รองเท้าขณะที่เดินอยู่นั้นเปื้อนนะญิซ และจะสะอาดได้ด้วยการเดินหรือเช็ดเท้ากับพื้นที่สะอาด โดยมีเงื่อนไขว่านะญิซจะต้องถูกขจัดออกไป

และพื้นดินที่สามารถขจัดนะญิซได้ต้องมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

- ต้องสะอาด

- ต้องแห้ง

- ต้องเป็นดิน หรือทราย หรือหินคลุก หรือกรวด หรือสิ่งที่คล้ายคลึงกัน

ข้อที่ ๕๐. ถ้าเดินหรือเช็ดเท้ากับพื้นแล้วทำให้นะญิซใต้ฝ่าเท้าหรือใต้รองเท้าหมดไป ถือว่าสะอาด แต่ดีกว่าให้เดินอย่างนัอย ๑๕ ก้าว

แสงแดด

ข้อที่ ๕๑. แสงแดดด้วยกับเงื่อนไขที่จะกล่าวต่อไปนี้ สามารถทำความสะอาดสิ่งที่เปื้อนนะญิซเหล่านี้ได้ กล่าวคือ

- พื้นดิน

- อาคารหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ของอาคาร เช่น ประตู หรือหน้าต่างเป็นต้น

- ต้นไม้ และหญ้า

ข้อที่ ๕๒. แสงแดดพร้อมเงื่่อนไขดังต่อไปนี้สามารถทำความสะอาดนะญิซได้

- สิ่งที่นะญิซต้องเปียก หมายถึงเมื่อมีสิ่งอื่นไปโดนสิ่งนั้นจะเปียกไปด้วย

- สิ่งที่นะญิซได้แห้งเพราะแสงแดดได้ส่องไปโดน ดังนั้น ถ้ายังมีรอยเปียกอยู่ถือว่าไม่สะอาด

- ขณะที่แดดส่องต้องไม่มีอุปสรรคขว้างกั้นแสงแดด เช่น ผ้าม่าน หรือก้อนเมฆ เว้นเสียแต่ว่าสิ่งนั้นบางซึ่งไม่สามารถเป็นอุปสรรคกั้นแสงแดดได้

- แสงแดดเพียงอย่างเดียวที่ส่องให้สิ่งนั้นแห้ง เช่น ขณะที่แดดส่องต้องไม่มีลมพัด

- ขณะที่แดดส่ิอง ต้องไม่มีนะญิซติดอยู่บริเวณนั้น ถ้ามีต้องขจัดออกก่อนที่แดดจะส่อง

- ทั้งภายนอกและภายในของข้างฝา กำแพง หรือพื้นต้องแห้งในคราวเดียวกัน ฉะนั้น ถ้าวันนี้เฉพาะภายนอกแห้งและพรุ่งนี้ภายในถึงจะแห้ง เฉพาะภายนอกเท่านั้นสะอาด

ข้อที่ ๕๓. ถ้าพื้นดินหรือสิ่งที่คล้ายคลึงกันนะญิซ แต่ไม่เปียก สามารถเอาน้ำหรือของเหลวอื่นราดเพื่อให้เปียก และหลังจากแสงแดดส่องจนแห้งแล้วถือว่าสะอาด

อิสลาม

ข้อที่ ๕๔. กาฟิรนะญิซ แต่ถ้ากล่าวคำปฏิญาณยืนยัน ถือว่าเป็นมุสลิมหมายถึงกล่าวว่า อัชฮะดุ อัน ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ วะอัชฮะดุอันนะ มุฮัมมะดัน เราะซูลุลลอฮฺ (ขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และขอปฏิญาณว่ามุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของพระองค์) การเป็นมุสลิมทำให้ร่างกายทั้งหมดสะอาด

การขจัดนะญิซ

ข้อที่ ๕๕. สองกรณีถ้าหากนะญิซหมดไปถือว่าสิ่งที่นะญิซสะอาด และไม่จำเป็นต้องใช้น้ำล้างอีก

- ร่างกายสัตว์ เช่น ปากเป็ดหรือสัตว์อื่นที่คล้ายคลึงกันกินนะญิซ เมื่อนะญิซที่ปากหมดไป ถือว่าสะอาด

- ภายในร่างกาย เช่น ในจมูก หรือหู หรือปากขณะที่แปรงฟันได้มีเลือดไหลออกมาจากเหงือก แต่น้ำลายได้ขจัดเลือดหมดไป ถือว่าภายในปากสะอาด ไม่จำเป็นต้องล้างน้ำอีก แต่ถ้าแปรงสีฟันโดนเลือด อิฮฺติยาฏวาญิบนะญิซ แม้ว่าจะอยู่ในปากก็ตาม

  Index