นมาซเดินทาง

ข้อที่ ๒๘๕. ขณะเดินทางนมาซ ๔ เราะกะอัตให้ทำเพียง ๒ เราะกะอัต ซึ่งเีรียกว่านมาซเดินทาง มีเงื่อนไขว่าต้องเดินทางทั้งไปและกลับไม่น้อยกว่า ๘ ฟัรซัต หรือประมาณ ๔๕ กิโลเมตร

ข้อที่ ๒๘๖. ถ้าเดินทางออกจากสถานที่ซึ่งต้องนมาซเต็ม เช่น บ้านเกิดอย่างน้อยต้องเดินทางไปประมาณ ๔ ฟัดซัตและเดินทางกลับ  ๔ ฟัรซัต ฉะนั้น ระหว่างเดินทางต้องนมาซย่อ

ข้อที่ ๒๘๗. บุคคลที่เดินทางไกล ช่วงเวลาที่สามารถนมาซย่อได้ต้องห่างจากเมืองอย่างน้อยที่สุด ไม่ได้ยินเสียงอะซาน หรือมองไม่เป็นกำแพงเมือง ดังนั้น ถ้าเดินทางน้อยกว่าระยะทางตามที่กล่าวมาหากต้องการนมาซ ต้องนมาซเต็ม

ข้อที่ ๒๘๘. ถ้าไปยังสถานที่หนึ่งที่มีสองเส้นทาง เส้นทางหนึ่งน้อยกว่า ๘ ฟัรซัค ส่วนอีกเส้นทางหนึ่ง ๘ พัรซัค หรือมากกว่า ฉะนั้น ถ้ามาทางเส้นทางที่มากว่า ๘ ฟัรซัต ต้องนมาซย่อ แต่ถ้ามาอีกเส้นทางหนึ่งต้องนมาซเต็ม เช่น เดินทางจากบ้านเพื่อไปต่างจังหวัดมีสองเส้นทาง ทางหนึ่ง ๔ ฟัรซัค ส่วนอีกเส้นทางหนึ่ง ๓ ฟัรซัค ถ้าไปทางเส้นทางแรก (๔ ฟัรซัค) และกลับทางเส้นทางเดิมระหว่างทางต้องนมาซย่อ แต่ถ้าไปทางเส้นทางแรกและกลับมาทางเส้นทางที่สอง (๓ ฟัรซัค) หรือทั้งไปและกลับทางเส้นทางที่สอง เนื่องจากระยะทางไม่ถึง ๘ ฟัรซัค ดังนั้นต้องนมาซเต็ม

ข้อที่ ๒๘๙. การเดินทางต่อไปนี้ต้องนมาซเต็ม

๑.      ก่อนที่จะถึง ๘ ฟัรซัค ตั้งใจไปจากเมืองนั้น หรือตั้งใจไปพักที่จุดหมายปลายทางเกิน ๑๐ วัน

๒.      ไม่ได้ตั้งใจตั้งแต่แรกว่าจะเดินทางเกิน ๘ ฟัรซัค แต่เหตุบังเอิญได้เดินทางเกิน เช่น ตามหาคนหาย

๓.      ระหว่างทางตัดสินใจว่าจะไม่เดินทางต่อ หมายถึงก่อนที่จะถึง ๔ ฟัรซัคตัดสินใจว่าจะเดินทางกลับ

๔.     บุคคลที่มีอาชีพเดินทางไกล เช่น พนักงานขับรถไฟ รถโดยสารต่างจังหวัด กัปตันเครื่องบิน และเรือเดินทะเลเป็นต้น (เนื่องการเดินทางคืออาชีพของตน)

๕.     บุคคลที่เดินทางไปทำสิ่งฮะรอม เช่น เดินทางไปเพื่อกลั่นแกล้งหรือบีบบังคับบิดามารดา

ข้อที่ ๒๙๐. บุคคลที่มีอาชีพเดินทางไกล เช่น นักศึกษาต้องเดินทางไปศึกษาต่อต่างจังหวัด ซึ่งจะกลับบ้านเมื่อถึงวันหยุด หรือครูบาอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงาน ต้องเดินทางออกไปในตอนเช้าและกลับตอนค่ำ อิฮฺติยาฏต้องนมาซย่อ และศีลอดบาฏิล นอกเสียจากว่าตั้งใจอยู่ที่ ๆ ทำงาน ๑๐ วัน

ข้อที่ ๒๙๑. สถานที่ต่อไปนี้ต้องนมาซเต็ม

-          บ้านเกิด

-          สถานที่ ๆ ตั้งใจว่าจะอยู่ที่นั่น ๑๐ วัน

-          สถานที่ซึ่ง ๓๐ วันแล้วยังสงสัยว่าจะอยู่หรือเดินทาง หมายถึงบุคคลที่ไม่รู้ว่าตนจะอยู่หรือว่าเดินทางจนกระทั่ง ๓๐ วันก็ยังลังเลใจอยู่แต่ก็ไม่ได้เดินทางไปที่ใด กรณีนี้หลังจาก ๓๐ วันแล้วต้องนมาซเต็ม

ถิ่นฐานคือที่ใด

ข้อที่ ๒๙๒. ถิ่นฐานหมายถึงสถานที่ซึ่งได้เลือกที่จะใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น ไม่ว่าจะเกิดที่นั้นและเป็นบ้านของบิดามารดาหรือตนได้เลือกที่จะอยู่ที่นั้น

ข้อที่ ๒๙๓. บุตรที่ยังไม่ได้แยกออกไปอยู่ต่างหาก ตราบที่ยังอยู่กับบิดามารดาถิ่นฐานของบิดามารดา ถือว่าเป็นถิ่นฐานของตนด้วย แม้ว่าตนจะไม่ได้เกิดที่นั่นก็ตาม แต่หลังจากที่ได้แยกออกต่างหากแล้วและได้เลือกที่อื่นเป็นสถานที่อยู่ของตน ถือว่าสถานที่นั้นเป็นถิ่นฐานของตน ด้วยเหตุนี้ ถ้านนทบุรีเป็นถิ่นฐานของบิดามารดาและบุตรได้อยู่กับบิดามารดา ถือว่านนทบุรีเป็นถิ่นฐานของบุตรด้วย ดังนั้นเมื่อใดที่บุตรคนหนึ่งคนใดกลับไปนนทบุรีต้องนมาซเต็ม แต่ถ้าบุตรไม่ได้อยู่กับบิดามารดาอาศัยอยู่ที่จังหวัดอื่นไม่ถือว่านนทบุรีเป็นถิ่นฐานของตน

ข้อที่ ๒๙๔. ตราบที่ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะอยู่ที่อื่นที่ไม่ใช่ถิ่นฐานเดิมของตน ไม่ถือว่าที่นั่นเป็นถิ่นฐานของตน

ข้อที่ ๒๙๕. ถ้าตั้งใจว่าจะอยู่ที่หนึ่งชั่วคราวที่ไม่ใช่ถิ่นฐานเดิมของตน หลังจากนั้นจะย้ายไปอยู่ที่อื่น ไม่ถือว่าสถานที่นั้นเป็นถิ่นฐานของตน เช่น นักศึกษาได้อาศัยอยู่ที่หนึ่งชั่วคราวเพื่อทำการศึกษา

ข้อที่ ๒๙๖. ถ้าบุคคลหนึ่งไม่ได้ตั้งใจที่จะอยู่ตลอดไปและไม่ได้ตั้งใจว่าจะไปอื่น แต่ได้อยู่นานจนกระทั่งประชาชนคิดว่าเขาเป็นคนที่นั่น ดังนั้น ถือว่าเมืองนั้นเป็นถิ่นฐานของตน

ข้อที่ ๒๙๗. ถ้าไปยังสถานที่หนึ่งซึ่งเป็นถิ่นฐานเดิมของตน แต่ปัจจุบันได้ย้ายไปอยู่ที่อื่นแล้ว และไม่คิดว่าจะกลับมาอยู่ที่เดิมอีก ดังนั้นต้องไม่นมาซเต็ม แม้ว่ายังไม่ได้เลือกที่ใดเป็นถิ่นฐานต่อไปก็ตาม

ข้อที่ ๒๙๘. ผู้เดินทางไกลถ้ากลับมายังถิ่นฐานเดิมของตน ถ้าเห็นกำแพงเมืองหรือได้ยินเสียงอะซานต้องนมาซเต็ม

การตั้งใจอยู่ ๑๐ วัน

ข้อที่ ๒๙๙. ผู้เดินทางถ้าตั้งใจอยู่ที่ใด ๑๐ วัน และได้อยู่เกิน ๑๐ วัน ตราบที่ยังไม่ได้เดินทางไปที่อื่น ต้องนมาซเต็ม และไม่จำเป็นต้องเนียตใหม่อีกครั้ง ว่าจะอยู่ที่นั่น ๑๐ วัน

ข้อที่ ๓๐๐. ถ้าผู้เดินทางเปลี่ยนใจไม่อยู่ ๑๐ วัน

-          ก่อนที่จะทำนมาซ ๔ เราะกะอัต ต้องนมาซย่อ

-          หลังจากนมาซ ๔ เราะกะอัตไปแล้วหนึ่งนมาซ ได้เปลี่ยนใจตราบที่ยังอยู่ที่นั้นต้องนมาซเต็ม

นมาซเกาะฎอ

นมาซเกาะฎอหมายถึง นมาซที่ทำหลังจากเวลาผ่านไปแล้ว

ข้อที่ ๓๐๑. นมาซวาญิบประจำวัน ๕ เวลา จำเป็นต้องนมาซตามเวลาที่กำหนด ฉะนั้นถ้าไม่มีอุปสรรคได้ปล่อยเวลานมาซให้ผ่านไปและต้องเกาะฎอภายหลัง เ่ท่ากับได้ทำบาป จ้ำเป็นต้องเตาบะฮฺและเำกาะฎอนมาซ

ข้อที่ ๓๐๒. มีอยู่สองกรณีเป็นวาญิบต้องเกาะฎอนมาซ

๑.      นมาซวาญิบที่ไม่ได้นมาซในเวลา

๒.      หลังจากเวลานมาซผ่านไปแล้วนึกขึ้นได้ว่านมาซที่ำบาฏิล

ข้อทีื่ ๓๐๓. บุคคลที่มีนมาซเกาะฎอติดค้างอยู่ ต้องไม่ปล่อยปละละเลย แต่ไม่เป็นวาญิบต้องรีบเกาะฎอ