นมาซเกาะฎอ

นมาซเกาะฎอหมายถึง นมาซที่ทำหลังจากเวลาผ่านไปแล้ว

ข้อที่ ๓๐๑. นมาซวาญิบประจำวัน ๕ เวลา จำเป็นต้องนมาซตามเวลาที่กำหนด ฉะนั้นถ้าไม่มีอุปสรรคได้ปล่อยเวลานมาซให้ผ่านไปและต้องเกาะฎอภายหลัง เ่ท่ากับได้ทำบาป จ้ำเป็นต้องเตาบะฮฺและเำกาะฎอนมาซ

ข้อที่ ๓๐๒. มีอยู่สองกรณีเป็นวาญิบต้องเกาะฎอนมาซ

๑.      นมาซวาญิบที่ไม่ได้นมาซในเวลา

๒.      หลังจากเวลานมาซผ่านไปแล้วนึกขึ้นได้ว่านมาซที่ำบาฏิล

ข้อทีื่ ๓๐๓. บุคคลที่มีนมาซเกาะฎอติดค้างอยู่ ต้องไม่ปล่อยปละละเลย แต่ไม่เป็นวาญิบต้องรีบเกาะฎอ

ข้อที่ ๓๐๔. เกาะฎอนมาซวาญิบประจำวัน ถ้ารู้ว่านมาซใดต้องเกาะฎอก่อนหลัง อิฮฺติยาฏวาญิบให้เกาะฎอไปตามนั้น เช่น วันหนึ่งไม่ได้นมาซอัซริ และอีกวันหนึ่งไม่ได้นมาซซุบฮฺ เวลาเกาำะฏอให้เกาะฎอนมาซอัซริก่อน หลังจากนั้นให้เกาะฎอนมาซซุบฮฺ หรือบุคคลหนึ่งมีนมาซเกาะฎอ อิฮฺติยาฏวาญิบ  ก่อนที่จะนมาซวาญิบหลังจากนั้นให้นมาซเกาะฎอก่อน ซึ่งกรณีไม่จำเป็นต้องทำตามระเบียบ

ข้อที่ ๓๐๕. บุคคลที่รู้ว่าตนมีนมาซเกาะฎอ แต่ไม่รู้จำนวนว่าเท่าไหร่ เช่น ไม่รู้ว่า ๔ หรือ ๕ นมาซ ถ้าเกาะฎอจำนวนน้อยถือว่าเพียงพอ

ข้อที่ ๓๐๖. ถ้ารู้จำนวนนมาซเกาะฎอว่าเท่าไหร่ แต่ลืมไป อิฮฺติยาฏวาญิบให้เกาะฎอจำนวนมาก

ข้อที่ ๓๐๗. สามารถนมาซเกาะฎอเป็นญะมาอะฮฺได้ไม่ว่าอิมามจะนมาซในเวลาหรือเกาะฎอก็ตาม และไม่จำเป็นว่าต้องนมาซทั้งสองใน ๑ เวลา เช่น ถ้าเกาะฎอนมาซซุบฮฺกับนมาซซุฮรฺ หรือนมาซอัซรฺของอิมาม ไม่เป็นไร

ข้อที่ ๓๐๘. บุคคลที่เดินทางต้องนมาซย่อ ดังนั้น ถ้านมาซซุฮฺริ อัซริ หรืออิชาอฺต้องเกาะฎอให้เกาะฎอเพียง ๒ เราะกะอัต แม้ว่าจะเกาำะฎอนอกเวลาเดินทางก็ตาม (ขาดนมาซในลักษณะใดให้เกาะฎอในลักษณะนั้น)

ข้อที่ ๓๐๙. ขณะเดินทางไม่สามารถถือศีลอดได้ แม้ว่าจะเป็นศีลอดเกาะฎอก็ตาม แต่สามารถนมาซเกาะฎอระหว่างเดินทางได้

ข้อที่ ๓๑๐. ระหว่างเดินทางถ้าต้องการเกาะฎอนมาซที่ขาดในช่วงที่ไม่ได้เดินทาง นมาซที่มี ๔ เราะกะอัตต้องเกาะฎอเต็ม

ข้อที่ ๓๑๑. สามารถเกาะฎอนมาซได้ทุกเวลา กล่าวคือ สามารถนมาซเกาะฎอนมาซซุบฮฺตอนกลางวัน หรือกลางคืนก็ได้

นมาซเกาะฎอของบิดาหรือมารดา

ข้อที่ ๓๑๒. ตราบที่มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่แต่ไม่สามารถนมาซได้ บุคคลอื่นไม่สามารถเกาะฎอนมาซแทนได้

ข้อที่ ๓๑๓. หลังจากบิดาได้เสียชีวิตนมาซและศีลอดที่ไม่ได้ถือ เป็นวาญิบสำหรับบุตรชายคนโตที่ต้องเกาะฎอแทน

ข้อที่ ๓๑๔. อิฮฺติยาฎวาญิบสำหรับบุตรชายคนโต ต้องเกาำะฎอนมาซและศีลอดของมารดาที่ขาดไป

นมาซญะมาอะฮฺ

ความเป็นเอกภาพในหมู่มุสลิมเป็นประเด็นหนึ่งที่อิสลามให้ความสำคัญอย่างยิ่ง และเพื่อรักษาให้ความเป็นเอกภาพดำรงอยู่ต่อไป ได้มีการวางแผนการไว้มากมาย ซึ่งหนึ่งในแผนการนั้นคือ นมาซญะมาอะฮฺ

สิ่งที่สำคัญสำหรับนมาซญะมาอะฮฺคือ อิมามญะมาอะฮฺซึ่งต้องมีคุณสมบัติที่ต่างไปจากคนอื่น ส่วนผู้ตามให้ยืนเรียงแถวหลังอิมามญะมาอะฮฺ และให้นมาซโดยพร้อมเพียงกัน บุคคลที่ยืนข้างหน้าเรียกว่า อิมามญะมาอะฮฺ ส่วนผู้ตามเรียกว่า มะอฺมูม

ความสำคัญของนมาซญะมาอะฮฺ

ริวายะฮฺจำนวนมากมายได้กล่าวถึงผลบุญของนมาซญะมาอะฮฺไว้ ซึ่งจะไม่ขอกล่าว ณ ที่นี้ สิ่งที่จำเป็นต้องกล่าวาตรงนี้คือ เงื่อนไขของญะมาอะฮฺและความสำคัญ

ข้อที่ ๓๑๕. การเข้าร่วมนมาซญะมาอะฮฺเป็นมุซตะฮับสำหรับทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลที่อยู่ใกล้กับมัสญิด หรือเป็นเพื่อนบ้านกับมัสญิด

­ข้อที่ ๓๑๖. มุซตะฮับให้คอยเวลาเพื่อนมาซญะมาอะฮฺ

ข้อที่ ๓๑๗. นมาซญะมาอะฮฺแม้ว่าจะไม่ได้นมาซตรงเวลา แต่ดีกว่านมาซตรงเวลาที่ทำคนเดียว

ข้อที่ ๓๑๘. นมาซญะมาอะฮฺที่ทำแบบรวบรัดดีกว่านมาซคนเดียวที่ทำเนิ่นนาน

ข้อที่ ๓๑๙. ไม่เป็นการดีถ้าละทิ้งนมาซญะมาอะฮฺโดยไม่มีข้ออ้่างหรืออุปสรรค

ข้อที่ ๓๒๐. ไม่เข้าร่วมนมาซญะมาอะฮฺ เนื่องจากไม่ใส่ใจต่อญะมาอะฮฺ ถือว่าไม่อนุญาต

เงื่อนไขของนมาซญะมาอะฮฺ

ข้อที่ ๓๒๑. เมื่อต้องการนมาซญะมาอะฮฺ จำเป็นต้องรักษาเงื่อนไขดังต่อไปนี้

๑.      ผู้ตามต้องไม่นมาซก่อนอิมามญะมาอะฮฺ และอิฮฺติยาฏวาญิบให้ทำตามหลังเล็กน้อย

๒.      บริเวณที่อิมามญะมาอะฮฺยืนต้องไม่สูงกว่าผู้ตาม

๓.      ระยะห่างระหว่างอิมามกับผู้ตาม หรือระหว่างแถวนมาซด้วยกันต้องไม่มากจนเกินไป และอิฮฺติยาฏต้องไม่ให้ห่างเกิน ๑ ก้าวเดิน

๔.     ต้องไม่มีอุปสรรคขวางระหว่างอิมามกับผู้ตาม หรือระหว่างแถวของผู้ตาม เช่น ต้องไม่มีผ้าม่านกั้นหรือมีผนังขวางอยู่ แต่การปิดม่านเพื่อกั้นระหว่างแถวผู้หญิงกับผู้ชายไม่เป็นไร

ข้อที่ ๓๒๒. อิมามญะมาอะฮฺต้องบาลิฆ มีความยุติธรรม และสามารถนมาซได้อย่างถูกต้อง

การเข้าร่ีวมญะมาอะฮฺ

ข้อที่ ๓๒๓. สามารถเข้าร่วมญะมาอะฮฺได้ทุกเราะกะอัต แต่ช่วงที่สามารถเนียตตามอิมามได้เฉพาะช่วงรุกูอฺหรือกะรออะฮฺเท่านั้น ดังนั้น ถ้าผู้ตามเข้าญะมาอะฮฺไม่ทันรุกูอฺของอิมาม ต้องรอตามเราะกะอัตต่อไป แต่ถ้าสามารถทันรุกูอฺของอิมามถือว่าเป็นหนึ่งเราะกะฮัต

ข้อที่ ๓๒๔. สภาพต่าง ๆ ของการเข้าร่วมญะมาอะฮฺ

เราะกะอัตที่ ๑

-          เข้าร่วมตั้งแต่เริ่มนมาซ หรือระหว่างที่อิมามกำลังกล่าวซูเราะฮฺ ผู้ตามไม่ต้องกล่าวทั้งฟาติฮะฮฺและซูเราะฮฺ ส่วนการกล่าวซิกรฺอื่น ๆ ให้กล่าวไปพร้อมกับอิมาม

-          เข้าร่วมญะมอะฮฺขณะรุกูอฺ ให้กล่าวซิกรฺรุกูอฺ และอมัลอื่น ๆ ไปพร้อมกับอิมาม

เราะกะอัตที่ ๒.

-          เข้าร่วมญะมาอัตตั้งแต่เริ่มเราะกะอัตที่สอง หรือระหว่างที่อิมามกำลังกล่าวซูเราะฮฺ ผู้ตามไม่ต้องกล่าวทั้งฟาติฮะฮฺและซูเราะฮฺ และให้กล่าวกุนูต รุกูอฺ และซัจญฺดะฮฺไปพร้อมกับอิมาม ขณะที่อิมามกล่าวตะชะฮุด อิฮฺติยาฏวาญิบให้อยู่ในท่านระหว่างนั่งกับยืน ถ้าเป็นนมาซที่มี ๒ เราะกะอัตให้นมาซคนเดียวอีก ๑ เราะกะอัตและนมาซต่อให้เสร็จ ถ้านมาซ ๓ หรือ ๔ เราะกะอัต เราะกะอัตที่สองของผู้ตาม ซึ่งตรงเราะกะอัตที่สามของอิมาม ผู้ตามต้องกล่าวฟาติฮะฮฺและซูเราะฮฺด้วย เมื่ออิมามนมาซเราะกะอัตที่สามจบและได้ยืนขึ้นเพื่อนมาซเราะำกะอัตที่ ๔ ผู้ตามเมื่อซัจญฺดะฮฺเสร็จแล้วให้นั่งกล่าวตะชะฮุด เมื่อจบแล้วให้ยืนขึ้นเพื่อนมาซเราะกะอัตที่ ๓ ตรงกับนมาซเราะกะอัตสุดท้ายของอิมาม เมื่ออิมามกล่าวสลามจบให้ยืนขึ้นเพื่อนมาซเราะกะอัตที่ ๔

-          เข้าร่วมญะมอะฮฺขณะรุกูอฺ ให้กล่าวรุกูอฺไปพร้อมกับอิมาม ส่วนอมัลที่เหลือให้ทำตามที่กล่าวมาแล้ว

เราะกะอัตที่ ๓.

-          เข้าร่วมขณะกล่าวซิกรฺ ถ้ารู้ว่าเข้าร่วมตอนนั้นสามารถกล่าวฟาติฮะฮฺกับซูเราะฮฺจบทัน หรือกล่าวฟาติฮะฮฺเพียงอย่างเดียว สามารถเข้าร่วมได้และสามารถกล่าวฟาติฮะฮฺกับซูเราะฮฺ หรือซูเราะอย่างเดียวก็ได้ แต่ถ้ารู้ว่ากล่าวไม่ทันแน่่นอน อิฮฺติยาฏวาญิบให้รอเวลาจนกว่าอิมามจะรุกูอฺ หลังจากนั้นค่อยเนียตตาม

-          เข้าร่วมขณะอิมามรุกูอฺ ให้กล่าวรุกูอฺและซิกรฺอื่น ๆ ไปพร้อมกับอิมาม ส่วนอมัลที่เหลือให้ทำตามที่กล่าวมาแล้ว

เราะกะอัตที่ ๔.

-          เข้าร่วมขณะที่กล่าวซิกรฺ ให้ถือปฏิบัติเหมือนเข้าร่วมในเราะกะอัตที่ ๓ และเมื่ออิมามกล่าวตะชะฮุดและสลาม ผู้ตามสามารถลุกขึ้นยืนหรือนั่งแบบกึ่งยืนรอจนกว่าอิมามจะกล่าวสลามจบ และนมาซคนเดียวต่อให้จบ

-          เข้าร่วมขณะรุกูอฺ รุกูอฺและซัจญฺดะฮฺให้กล่าวไปพร้อมกับอิมาม (อิมามเระกะอัตที่ ๔ ผู้ตามเราะกะอัตที่ ๑) ส่วนอมัลที่เหลือให้ทำตามที่กล่าวมาแล้ว

เงื่อนไขนมาซญะมาอะฮฺ

ข้อที่ ๓๒๕. ถ้าอิมามกำลังนมาซวาญิบประจำวันวาญิบหนึ่ง ผู้ตามสามารถเนียตนมาซวาญิบประจำวันนมาซใดก็ได้ตามอิมาม ด้วยเหตุนี้ ถ้าอิมามกำลังนมาซอัซรฺ ผู้ตามสามารถนมาซซุฮฺริตามอิมามได้ หรือถ้าผู้ตามนมาซซุฮริแล้ว สามารถนมาซอัซริตามอิมามได้

ข้อที่ ๓๒๖. ผู้ตามสามารถนมาซเกาะฎอตามอิมามที่นมาซในเวลาได้ ถึงแม้ว่าจะเป็นนมาซต่างเวลาก็ตาม เช่น อิมามกำลังนมาซซุฮฺริแต่ผู้ได้เำกาะฎอนมาซซุบฮฺ

ข้อที่ ๓๒๗. นมาซญะมาอะฮฺอย่างน้อยต้องมี ๒ คน กล่าวคือคนหนึ่งเป็นอิมามและอีกคนหนึ่งเป็นผู้ตาม ยกเว้นนมาซญุมุอะฺฮฺ หรือนมาซอีดทั้งสอง

ข้อที่ ๓๒๘. นมาซมุซตะฮับไม่สามารถนมาซเป็นญะมาอะฮฺได้ ยกเว้นนมาซขอฝน

ข้อที่ ๓๒๙. ผู้ตามต้องไม่กล่าวตักบีเราะตุลอิฮฺรอมก่อนอิมาม ทว่าต้องไม่กล่าวตักบีรก่อนที่อิมามจะตักบีรเสร็จ

ข้อที่ ๓๓๐. ผู้ตามต้องกล่าวซิกรฺทุกอย่างในนมาซ ยกเว้นซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺกับซูเราะฮฺ แต่ถ้าเป็นนมาซเราะกะอัตที่ ๑ หรือ ๒ ซึ่งตรงกับเราะกะอัตที่ ๓ หรือ ๔ ของอิมามต้องกล่าวซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺกับซูเราะฮฺด้วย

นมาซญุมุอะฮฺ

หนึ่งในการชุมนุมประจำสัปดาห์ของมวลมุสลิมคือ นมาซญุมุอะฮฺ ดังนั้น ผู้ปฏิบัตินมาซสามารถนมาซญุมุอะฮฺแทนนมาซซุฮฺริได้ ซึ่งดีกว่านมาซซุฮฺร

ความประเสริฐของนมาซญุมุอะฮฺ จะเห็นว่าอัล-กุรอานซูเราะฮฺหนึ่งพระองค์ทรงตั้งชื่อว่า ญุมุอะฮฺ และในซูเราะฮฺดังกล่าวอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้เชิญชวนบรรดาผู้ศรัทธารีบเร่งไปสู่นมาซญุมุอะฮฺ

นมาซญุมุอะฮฺทำอย่างไร

ข้อที่ ๓๓๑. นมาซญุมุอะฮฺมี ๒ เราะกะอัต เหมือนนมาซซุบฮฺ และมี ๒ คุฎบะฮฺซึ่งอิมามจะเป็นผู้กล่าวคุฎบะฮฺทั้งสอง

ข้อที่ ๓๓๒. มุซตะฮับอิมามญุมุอะฮฺต้องกล่าวฟาติฮะฮฺและซูเราะฮฺเสียงดัง

ข้อที่ ๓๓๓. นมาซญุมุอะฮฺเราะกะอัตแรกหลังจากฟาติฮะฮฺให้กล่าวซูเราะฮฺ ญุมุอะฮฺ ส่วนเราะกะอัตที่ ๒ หลังจากฟาติฮะฮฺให้กล่าวซูเราะฮฺ มุนาฟิกูน

ข้อที่ ๓๓๔. นมาซญุมุอะฮฺ มุซตะฮับให้กล่าวกุนูตก่อนรุกูอฺในเราะกะอัตที่แรก และกล่าวหลังรุกูอฺในเราะกะอัตที่สอง

เงื่อนไขนมาซญุมุอะฮฺ

ข้อที่ ๓๓๕. นมาซญุมุอะฺฮฺจำเป็นต้องใส่ใจต่อกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ต่อไปนี้

-          ต้องใส่ใจต่อกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ในนมาซญะมาอะฮฺ

-          ต้องปฏิบัติเป็นญะมาอะฮฺนมาซคนเดียวถือว่าไม่ถูกต้อง

-          ญะมาอะฮฺอย่างน้อยสุด ๕ คน ซึ่งคนหนึ่งเป็นอิมามและอีก ๔ คนเป็นผู้ตาม

-          ระหว่างนมาซญุมุอะฮฺ ๒ แห่งต้องมีระยะห่างกันอย่างน้อย ๑ ฟัรซัค

หน้าที่ของผู้นมาซญุมุอะฮฺ

ข้อที่ ๓๓๖.อิฮฺติยาฏวาญิบสำหรับผู้ตามต้องฟังคุฎบะฮฺ (คำเทศนา) ของอิมาม

ข้อที่ ๓๓๗. อิฮฺติยาฏวาญิบสำหรับผู้ตาม ขณะที่อิมามกำลังกล่าวคุฎบะฮฺต้องเงียบ และหลีกเลี่ยงการพูดคุย

ข้อที่ ๓๓๘. อิฮฺติยาฎมุซตะฮับ ให้ผู้ตามนั่งฟังคุฎบะฮฺและไม่ให้ซ้ายหันขวา

ข้อที่ ๓๓๙. ถ้าผู้นมาซมาไม่ทันนมาซญุมุอะฮฺเราะกะอัตแรก ซึ่งมาทันเราะกะอัตที่สองตอนรุกูอฺพอดี นมาซถูกต้อง ส่วนเราะกะอัตที่สองต้องทำเอง (แต่มีเงื่อนไขว่าต้องมีเวลาพอที่จะนมาซเราะกะอัตที่สอง)

นมาซอายาต

ข้อที่ ๓๔๐. หนึ่งในนมาซวาญิบได้แก่ นมาซอายาต สาเหตุที่นมาซอายาตเป็นวาญิบเนื่องจากได้เกิดเหตุการณ์ที่น่ากลัว เช่น แผ่นดินไหว จันทรุปราคา หรือสุริยุปราคา ฟ้าร้อง  ฟ้าผ่า หรือพายุพัดอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ประชาชนหวาดกลัว

นมาซอายาตปฏิบัติอย่างไร

ข้อที่ ๓๔๑. นมาซอายาตมี ๒ เราะกะอัต ทุกเราะกะอัตมี ๕ รุกูอฺ ก่อนรุกูอฺให้กล่าวซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺกับซูเราะฮฺ หมายถึงเมื่อรวมทั้งสองเราะกะอัตแล้วเท่ากับกล่าว ซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺ ๑๐ ครั้งและซูเราะฮฺอีก ๑๐ ครั้ง หรือแบ่งซูเราะฮฺออกเป็น ๕ ส่วนและก่อนรุกูอฺใหกล่าว ๑ ส่วน ดังนั้น นมาซ ๒ เราะกะอัตเท่ากับได้กล่าว ฟาติฮะฮฺและซูเราะฮฺอย่างละ ๒ ครั้งิ

สมมุติว่าแบ่งซูเราะฮฺเตาฮีดเป็น ๕ ส่วน ฉะนั้น นมาซอายาตจึงเป็นดังนี้

เราะกะอัตที่ ๑

หลังตักบีเราะตุลอิฮฺรอม ให้กล่าว...

-          ซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺ และบิซมิลลาฮิรเราะมานิรเราะฮีม หลังจากนั้นลงรุกูอฺครั้งที่ ๑

-          เงยขึ้นจากรุกูอฺให้กล่าว กุลฮุวัลลอฮุอะฮัด หลังจากนั้นลงรุกูอฺครั้งที่ ๒

-          เงยขึ้นจากรุกูอฺให้กล่าว อัลลอฮุซเซาะมัด หลังจากนั้นลงรุกูอฺครั้งที่ ๓

-          เงยขึ้นจากรุกูอฺให้กล่าว ลัมยะลิดวะลัมยุลัด หลังจากนั้นลงรุกูอฺครั้งที่ ๔

-          เงยขึ้นจากรุกูอฺให้กล่าว วะลัมยะกุลละฮูกุฟุวันอะฮัด หลังจากนั้นลงรุกูอฺครั้งที่ ๕

เมื่อเงยจากรุกูอฺครั้งสุดท้ายแล้วให้ซัจญฺดะฮฺ และเมื่อซัจญฺดะฮฺให้ลุกขึ้นยืนเพื่อนมาซเราะกะอัตที่ ๒ ต่อไป

เระกะอัตที่ ๒ เราะกะอัตที่สองให้นมาซเหมือนเราะกะอัตที่หนึ่ง หลังจากนั้นให้กล่าวตะชะฮุดและสลามเป็นอันว่าเสร็จสิ้น

เงื่อนไขของนมาซอายาต

ข้อที่ ๓๔๒. ถ้าหนึ่งในสาเหตุของนมาซอายาตได้เกิดขึ้นในเมืองที่อยู่อาศัย เฉพาะประชาชนในเมืองนั้นอย่างเดียวที่ต้องนมาซอายาต ส่วนประชาชนในเมืองอื่นไม่วาญิบต้องนมาซ

ข้อที่ ๓๔๓. ถ้าหากเราะกะอัตแรกได้กล่าวซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺกับซูเราะฮฺอย่างละ ๕ ครั้ง ส่วนเราะกะอัตที่สองได้กล่าวฟาติฮะฮฺเพียง ๑ ครั้งและแบ่งซูเราะฮฺออกเป็น ๕ ส่วน นมาซถูกต้อง

ข้อที่ ๓๔๔.มุซตะฮับก่อนรุกูอฺครั้งที่ ๒,๔,๖,๘,๑๐ ให้กล่าวกุนูตก่อน หรือกล่าวเพียงครั้งเดียวก่อนรุกูอที่สิบ ถือว่าเพียงพอ

ข้อที่ ๓๔๕. รุกูอฺทุกครั้งในนมาซอายาตเป็นรุกนฺของนมาซ ฉะนั้น ถ้าตั้งใจหรือลืมรุกูอฺให้มากหรือน้อยเกินไป นมาซบาฏิล

ข้อที่ ๓๔๖. นมาซอายาตสามารถนมาซเป็นญะมาอะฮฺได้ ดังนั้น เฉพาะอิมามเท่านั้นที่ต้องกล่าวฟาติฮะฮฺกับซูเราะฮฺ

นมาซมุซตะฮับ

ข้อที่ ๓๔๗. นมาซมุซตะฮับต่าง ๆ มีมากมายซึ่ง ณ ตรงนี้จะเลือกกล่าวบางนมาซที่มีความสำคัญกว่านมาซเือื่น เช่น

นมาซอีด

ข้อที่ ๓๔๘. สำหรับอีดฟิฎรฺกับอีดกุรบานเท่านั้น ที่มุซตะฮับให้นมาซอีด

ช่วงเวลาของนมาซอีด

ข้อที่ ๓๔๙. เวลานมาซอีดเริ่มตั้งแต่ตะวันขึ้นจนถึงซุฮฺร

ข้อที่ ๓๕๐.มุซตะฮับ สำหรับอีดฟิฎรฺ หลังจากตะวันขึ้นแล้วให้ละศีลอด จ่ายซะกาตฟิฏรฺ หลังจากนั้นจึงนมาซอีด

นมาซอีดทำอย่างไร

ข้อที่ ๓๕๑. นมาซอีดมี ๒ เราะกะอัตกับ ๙ กุนูต ทำดังต่อไปนี้

-          เราะกะอัตแรก หลังจากกล่าวฟาติฮะฮฺและซูเราะฮฺแล้ว ต้องตักบีร ๕ ครั้ง และหลังจากตักบีรทุกครั้งให้กล่าวกุนูต หลังจากรุนูตทุกครั้งให้ตักบีร เมื่อกุนูตครบ ๕ ครั้งแล้วในรุกูอฺและซัจญฺดะฮฺตามลำดับ

-          เราะกะอัตที่สอง หลังจากกล่าวฟาติฮะฮฺและซูเราะฮฺแล้ว ต้องตักบีร ๔ ครั้ง และหลังจากตักบีรทุกครั้งให้กล่าวกุนูต หลังจากรุนูตทุกครั้งให้ตักบีร เมื่อกุนูตครบ ๔ ครั้งแล้วในรุกูอฺและซัจญฺดะฮฺ กล่าวตะชะฮุดและสลามตามลำดับ

กุนูตนั้นสามารถกล่าวดุอาอฺใดก็ได้ แต่ดีกว่าให้กล่าวดุอาอฺดังต่อไปนี้

اَلّلهُمَّ اَهْلَ الْكِبْرياءِ وَالْعَظَمَةِ وَ اَهْلَ الْجُودِ وَ الْجَبَرُوتِ وَ اَهْلَ الْعَفوِ وَ الرَّحْمَةِ وَ اَهْلَ التَّقْوى وَ الْمَغْفِرَةِ اَسْألُكَ بِحَقِّ هذاَ الْيَومِ الَّذى جَعَلْتَهُ لِلْمُسْلِمينَ عيداً وَ لِمُحَمَّد صَلَّى اللّهُ عَلَيْهِ وَ آلِهِ ذُخْراً وَ شَرَفاً وَ كَرامَةً وَ مَزيداً اَنْ تُصَلِّىَ عَلَى مُحَمَّد وَ آلِ مُحَمَّدِ وَ اَنْ تُدْخِلَنى فى كُلِّ خَيْر اَدْخَلْتَ فيهِ مُحَمَّداً وَ آلَ محمّد و اَنْ تُخْرِجَنى مِنْ كُلِّ سُوء اَخْرَجْتَ مِنْهُ مُحَمّداً و آلَ مُحَمَّد صَلَواتُكَ عَلَيْهِ وَ عَلَيْهِمْ اَلّلهُمَّ اِنّى اَسْألُكَ خَيْرَ ما سَألَكَ بِهِ عِبادُكَ الصَّالِحوُنَ وَ اَعُوذُ بِكَ مِمَّا اسْتَعاذَ مِنْهُ عِبادُكَ الْمُخْلَصُونَ

นมาซนาฟิละฮฺประจำวัน

นมาซนาฟิละฮฺประจำวันนอกเหนือจากวันศุกร์มีทั้งสิ้น ๓๔ เราะกะอัต ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้

-          นมาซนาฟิละฮฺกลางคืน ๑๑ เราะกะอัต (เซาะลาตุลลัยนฺ)

-          นมาซนาฟิละฮฺซุบฮฺ ๒ เราะกะอัต

-          นมาซนาฟิละฮฺซุฮฺริ ๘ เราะกะอัต

-          นมาซนาฟิละฮฺอัซริ ๘ เราะกะอัต

-          นมาซนาฟิละฮฺมัฆริบ ๔ เราะกะอัต

-          นมาซนาฟิละฮฺอิชาอฺ ๒ เราะกะอัต (ให้นั่งทำซึ่งนับแค่ ๑ เราะกะอัต)

เซาะลาตุลลัยนฺ

ข้อที่ ๓๕๓. ช่วงเวลานมาซเซาะลาตุลลัยนฺหลังจากเที่ยงคืนไปแล้วจนถึงอะซานซุบฮฺ แต่ดีกว่าให้นมาซใกล้เวลาอะซานซุบฮฺ

ข้อที่ ๓๕๔. ผู้ที่เดินทางไกลซึ่งมีความลำบาก สามารถนมาซเซาะลาตุลลัยนฺหลังเที่ยงคืนไปแล้วได้ หรือนมาซตั้งแต่หัวค่ำก็ได้

นมาซฆุฟัยละฮฺ

ข้อที่ ๓๕๕.หนึ่งในนมาซมุซตะฮับที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ นมาซฆุฟัยละฮฺ ระหว่างนมาซมัฆริบและอีชาอฺ

วิธีนมาซฆุฟัยละฮฺ

ข้อที่ ๓๕๖. นมาซฆุฟัยละฮฺมี ๒ เราะกะอัต

เราะกะอัตแรก หลังจากฟาติฮะฮฺแล้วให้กล่าวว่า

وَذَاالنُّونِ اِذْ ذَهَبَ مُغاضِباً فَظَنَّ اَنْ لَنْ نَقْدِرَ عَلَيْهِ فَنَادَى فِى الظُّلُماتِ اَنْ لا اِلهَ اِلاّ اَنْتَ سُبْحانَكَ اِنّى كُنتُ مِنَ الظّالِمينَ فَاسْتَجَبْنا لَهُ وَنَجَّيْناهُ مِنَ الغَمِّوَكَذلِكَ نُنْجِى الْمُؤمِنينَ(อัมบิยาอฺ/๘๗)  

เราะกะอัตที่ ๒ หลังจากฟาติฮะฮฺแล้วให้กล่าวว่า

وَعِنْدَهُ مَفاتِحُ الْغَيْبِ لا يَعلَمُها اِلاّ هُوَ وَيَعْلَمُ ما فِى البَرِّ وَالْبَحْرِ وَما تَسْقُطُ مِنْ وَرَقة اِلاّ يَعْلَمُها وَلا حَبَّة فىِ ظُلُماتِ الاَرْضِ وَلا رَطْب وَلا يابس اِلاّ فِي كتاب مُبين(อันอาม/๕๙)

กุนูตให้กล่าวว่า

اَللّهُمَّ اِنّى اَسأَلُكَ بِمَفاتِحِ الغَيْبِ الَّتى لا يَعْلَمُها اِلاّ اَنْتَ اَنْ تُصَلِىّ عَلى مُحَمَّد وَآلِ مُحَمَّد وَاَنْ تَفْعَلَ بى كذا وكذا

หรือกล่าวว่า

اَللّهُمَّ اِنّى اَسأَلُكَ بِمَفاتِحِ الغَيْبِ الَّتى لا يَعْلَمُها اِلاّ اَنْتَ اَنْ تُصَلِىّ عَلى مُحَمَّد وَآلِ مُحَمَّد وَاَنْ تَفْعَلَ بى كذا وكذا

แทนที่คำว่ากะซา วะ กะซา ให้ดุอาิอฺตามที่ปรารถนา