อายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา ฮัจญฺ ชัยคฺ มุฮัมมัดฟาฎิล มุวะฮิดียฺ ลันกะรอนียฺ ปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันในนามของนักวิชาการและนักปราชญ์ชั้นสูงของโลกอิสลาม เป็นผู้มีศรัทธามั่นคง มีความเคร่งครัดและเป็นมัรญิอฺตักลีดแห่งโลกอิสลามนิกายชีอะฮฺ เกิดเมื่อปี ๑๓๑๐ ตามปีสุริยคติ ( ค.ศ. ๑๙๓๑) บิดาของท่านเป็นนักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งของเมืองกุม อิหร่าน ท่านเดินทางมาจากเมื่องกัฟกอซเพื่อศึกษาศาสนา ณ เมื่องมัชฮัดเป็นเวลานานหลายปี หลังจากนั้นได้เดินทางไปศึกษาต่อและสอนหนังสือ ณ เมืองซันญอน หลังจากนั้น ๑ ปี เมื่ออายะตุลลอฮฺ ฮัจญีชัยคฺ อับดุลกะรีม ฮาอิรียฺได้ก่อตั้งสถาบันศาสนาขึ้นเป็นคนแรกที่เมืองกุม ท่านก็ได้เดินทางมาเมืองกุมและได้สมรสกับสตรีชาวเมืองกุม หลังจากนั้นได้ให้กำเนิดบุตรซึ่งเป็นอุซตาดที่ยิ่งใหญ่ของพวกเราในปัจจุบันคือท่าน อายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา ฮัจญฺ ชัยคฺ มุฮัมมัดฟาฎิล มุวะฮิดียฺ ลันกะรอนียฺ อุซตาดเป็นบุตรคนที่ ๔ และเป็นนักการศาสนาเพียงคนเดียวของครอบครัวที่มีเกียรติ
อุซตาดได้ศึกษาศาสนาตั้งแต่เด็กในเบื้องต้นท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาการและจริยธรรมจากบิดา อันเป็นสาเหตุทำให้ท่านตัดสินใจเจริญรอยตามแนวทางของบิดา และศึกษาศาสนาอย่างจริงจัง
เมื่อจบชั้น ป. ๖ เนื่องจากท่านเป็นสุดยอดอัจฉริยะคนหนึ่งท่านจึงได้เข้าศึกษาศาสนา ณ สถาบันศาสนาอย่างจริงจัง วัยเพียง ๑๓ ปี แม้ว่าจะดูเป็นเด็กที่เดียงสาอยู่ แต่ด้วยความสามารถที่สูงส่งท่านมุ่งมั่นเจริญรอยตามแนวทางของบิดาอย่างจริงจังด้วยความรัก ซึ่งเป็นประกายไฟที่จุดสว่างภายในจิตใจมาโดยตลอด ความสวยงามและแสงสีของโลกดูเหมือนว่าจะไม่มีแรงบันดาลสำหรับท่านเท่าใดนัก ท่านได้มุมานะต่อการศึกษาและการขัดเกลาจิตวิญญาณอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องเรื่อยมายิ่งนานวันยิ่งมีความลุ่มลึก แรงดึงดูดใจอีกตัวหนึ่งที่เป็นสาเหตุทำให้ท่านมุ่งมั่นต่อการศึกษาศาสนาด้วยใจรักคือ เพื่อนรักที่สนิทกับท่านมากที่สุดชื่อว่า มุซเฏาะฟา โคมัยนี บุตรชายคนโตของท่านอิมามโคมัยนี (ร.ฎ.) ท่านทั้งสองเป็นเพื่อนกันตั้งแต่ครั้งเมื่อเรียนชั้นประถมด้วยกัน และเมื่อทั้งสองเข้าศึกษาศาสนาก็เป็นเพือนรักที่คอยช่วยเหลือกันทั้งด้านการศึกษาและด้านอื่นมาโดยตลอด ทั้งสองกลายเป็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์และความคิด แนวทางนี้แม้ว่าจะยากเย็นแสนเข็ญและยาวไกลชนิดไม่มีที่สิ้นสุด ขณะเดียวกันก็มีความชื่นและมีเสน่ห์อยู่ในตัว ดังที่อุซตาดกล่าวเสมอว่า เพื่อนรักของฉันคนนี้เขาเป็นเสมือนแรงบันดาลใจให้ฉันมุมานะต่อการศึกษาอย่างจริงจัง เราทั้งสองเป็นเพื่อนร่วมคิด ร่วมศึกษาและให้การช่วยเหลือเกื้อกูลกันมาโดยตลอด เราทั้งสองกลายเป็นเงาของกันและกัน
เนื่องจากอุซตาดมีอาจารย์แนะนำที่ดีคอยให้ความรักและความห่วงใย อีกทั้งให้การช่วยเหลือด้านการศึกษา ชี้แนะสิ่งดีทุกอย่างแก่ท่านอันเป็นสาเหตุให้ศึกษาของท่านมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ซึ่งโดยปรกติแล้วการศึกษาศาสนาขั้นพื้นฐานทั่ว ๆ ไปจะใช้เวลาเรียนประมาณ ๘-๙ ปี แต่ท่านศึกษาสำเร็จภายใน ๖ ปี เมื่ออย่างเข้าสู่ ๑๙ ปี ท่านจึงได้มีโอกาสเข้าศึกษาศาสนาระดับสูง หรือระดับสุดท้ายที่เรียกว่า บะฮัซคอริจญฺ (ดารซฺคอริจญฺ)
ด้วยวัยเพียง ๑๙ ปีนั้นเอง ท่านได้เขาศึกษาศาสนาระดับสูงกับท่านอายะตุลลอฮฺ บุรูญิดดียฺ ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ระดับสูงสุดในยุคนั้น บทเรียนของท่านยากต่อความเข้าใจอุซตาดจึงเป็นนักศึกษาที่อ่อนวัยวุฒิที่สุด และเป็นที่สนใจของนักศึกร่วมรุ่น ซึ่งต่างพากันคิดว่าอุซตาดคงจะไม่เข้าใจบทเรียนที่สุดแสนจะยากต่อการทำความเข้าใจแน่นอน แต่ทว่าความคิดของพวกเขาตรงกันข้ามกับความเป็นจริง เพราะขณะที่เรียนรวมกันนั้นอุซตาดได้แสดงให้เห็นว่าวัยวุฒิไม่ใช่อุปสรรคที่จะมาขวางกั้นความเข้าใจ นอกจากนั้นอุซตาดยังได้จดบันทึกคำบรรยายของอายะตุลลอฮฺ บุรูญิดดีย์ จากภาษาฟารซีย์เป็นภาษาอาหรับ ซึ่งสิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าอุซตาดไม่เพียงแต่รับรู้ แต่ทว่ายังมีความเข้าใจในบทเรียนนั้นอย่างถ่องแท้ หลายต่อหลายครั้งที่อายะตุลลอฮฺ บุรูญิดดีย์มาที่บ้านของอุซตาดเพื่อเยี่ยมเยือนบิดาของอุซตาดได้เห็นบทเรียนที่อุซตาดได้บันทึกไว้ ท่านอายะตุลลอฮฺได้กล่าวกับบิดาของอุซตาดว่า ฉันไม่คิดว่าเด็กในวัยเขาจะสามารถเข้าใจบทเรียนที่ฉันสอนได้เป็นอย่างดี มิหนำซ้ำเขายังได้บันทึกบทเรียนเหล่านั้นเป็นภาษาอาหรับอีกต่างหาก ซึ่งสิ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นอัจฉริยะของเขา
ในปีนั้นเองที่ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ผู้นำการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่านได้เปิดสอนพิเศษวิชาอุซูล ซึ่งท่านอุซตาดก็ได้มีโอกาสเรียนกับท่านอิมามด้วยเช่นกัน และท่านยังเป็นหนึ่งในลูกศิษย์ที่มีความอัจฉริยที่เยี่ยมยอด อุซตาดได้ศึกษาวิชาอุซูลอย่างสมบูรณ์กับท่านอิมามนานถึง ๗ ปี
ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ได้สอนวิชาฟิกฮฺอิสลามเคียงคู่กับวิชาอุซูล โดยเริ่มต้นจากหมวดความสะอาด (เฎาะฮาเราะฮฺ) ซึ่งท่านอุซตาดได้เริ่มเรียนกับท่านอิมามตั้งแต่วันแรกเป็นต้นมา เช่นเดียวกันอุซตาดได้ฉายความเป็นอัจฉริยด้านฟิกฮฺ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ศึกษากับท่านอิมาม อุซตาดได้จดบันทึกไว้โดยระเอียด และจัดพิมพ์ในเวลาต่อมา
สามารถกล่าวได้ว่าตลอดอายุขัยของอุซตาดได้ทุ่มเทเวลาทั้งหมดให้กับการศึกษา ดังจะเห็นได้ว่าในวัยหนุ่มนั้นอุซตาดได้ศึกษากับท่านอายะตุลลอฮฺ บุรูญิดดีย์นานถึง ๑๑ ปี และศึกษาวิชาฟิกฮฺกับอุซูลกับท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) นานถึง ๙ ปี ด้วยความอัจฉริยและความเพียรพยายามอุซตาดจึงประสบความสำเร็จอย่างสูง
นอกจากฟิกฮฺและอุซูลแล้วอุซตาดยังได้อุทิศเวลาหลายปีศึกษาปรัชญาอิสลาม กับอัลลามะฮฺเฏาะบาเฏาะบาอีย์ผู้เชี่ยวชาญวิชาปรัชญาอิสลามและตัฟซีรอัล-กุรอาน ท่านได้ศึกษาตำรา มันซูมะฮฺ ของอัล มัรฮูมซับซะวารีย์ อัซฟาร ของอัล มัรฮูมมุลลา ซ็อดรอ และนอกจากวิชาดังกล่าวแล้วอุซตาดยังได้อุทิศเวลาเพื่อศึกษาวิชาศาสนศาสตร์ จริยศาสตร์ และวิชาอื่นจากอาจารย์ท่านอื่นอีกตามแต่โอกาสจะเอื้ออำนวย
เนื่องจากอุซตาดเป็นคนฉลาดและเอาใจใส่บทเรียน ทำให้อุซตาดกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านฟิกฮฺอย่างรวดเร็ว ภายหลังจากการศึกษาวิชาการอิสลาม ๑๑ ปีกับท่านอายะตุลลอฮฺ บุรูญิดดีย์ และ ๙ ปีกับท่านอิมามโคมัยนี ด้วยวัยเพียง ๓๐ ปี เท่านั้นเองอุซตาดไม่ต้องตักลีด (ปฏิบัติตาม) กับมุจตะฮิดท่านใดอีกต่อไป เพราะอุซตาดได้ถึงขั้นมุจตะอิดสามารถวินิจฉัยปัญหาศาสนาได้ด้วยตัวเอง แม้ว่าช่วงที่ท่านอายะตุลลอฮฺ บุรูญิดดีย์ยังมีชีวิตอยู่อุซตาดได้ตักลีดตามท่านก็ตาม แต่หลังจากที่ท่านถึงอสัญกรรมไปแล้ว นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาอุซตาดไม่ได้ตักลีดตามมุจตะฮิดท่านใดอีก
สิ่งที่หน้าสนใจอีกประการหนึ่งในชีวิตวัยหนุ่มของอุซตาดคือ ขณะที่อุซตาดมีอายุเพียง ๑๕ / ๑๖ ปี ท่านได้เข้าศึกษาวิชาการชั้นสูงจากคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงของเมืองกุม และท่านได้เป็นอาจารย์สอนวิชาการต่าง ๆ เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการและความชำนาญจากสาขาวิชาเหล่านั้นอีกด้วย ซึ่งมีนักศึกษาจำนวนมากได้เข้าชั้นเรียนของอุซตาด และมีนักศึกษาหลายท่านที่มีอายุมากกว่าอุซตาด แต่นักศึกษาเหล่านั้นก็ยินดีที่จะรับความรู้จากอุซตาดที่อ่อนวัยวุฒิกว่าด้วยความเต็มใจ ซึ่งอุซตาดดูเหมือนว่าจะเป็นเด็กแต่ความรู้และวิชาการที่อุซตาดถ่ายทอดออกมามันเกินอายุของเด็กในวัยนั้น ชั้นเรียนของอุซตาดแต่ละวันจะมีนักศึกษาไม่ต่ำกว่า ๗๐-๘๐ คน เมื่ออุซตาดอายุ ๑๙ ปี ประสบการณ์และบทเรียนที่ถูกอธิบายออกไปอย่างพรั่งพรูทำให้มีจำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยคน และเมื่ออุซตาดได้สอนวิชา อัล กิฟายะตุลอุซูล ซึ่งเป็นวิชาอุซูลชั้นสูงและที่ยากสุดมีนักศึกษาเข้าเรียนถึง ๗๐๐ คน เนื่องจากเป็นวิชาที่ยากขณะที่สอนจึงได้มีการอัดเทปไว้ทบทวนสำหรับผู้ที่มีความเข้าใจไม่ดีพอ หรือผู้ที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติม ซึ่งปัจจุบันเทปเหล่านั้นยังคงเหลืออยู่เพื่อให้นักศึกษารุ่นต่อไปได้ศึกษา
ปัจจุบันนับเป็นเวลาเกือบ ๒๕ ปี ที่อุซตาดได้เปิดสอนวิชาการชั้นสูงแก่นักศึกษาระดับมุจตะฮิด และนักศึกษาที่กำลังฝึกฝนตนเองเพื่อเป็นมุจตะฮิด ซึ่งนักศึกษาเหล่านี้มีทั้งผู้ที่เป็นนักค้นคว้าและวิจัย นักเขียน และเป็นอาจารย์สอนทั้งสถาบันศาสนาและมหาวิทยาลัย
สิ่งที่สำคัญทีสุดในชีวิตของอุซตาดคือ การต่อสู้และการเคลื่อนไหวทางการเมือง ซึ่งอุซตาดได้เข้าร่วมขบวนการกับท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ตั้งแต่สมัยที่ท่านอิมามเริ่มทำการต่อสู้กับกษัตริย์ชาห์ที่ปกครองอิหร่านด้วยการกดขี่ข่มเหง และคิดที่จะเปลี่ยนแปลงคำสอนของอิสลาม อุซตาดได้ร่วมต่อสู้พร้อมกับท่านอิมามชนิดเคียงบ่าเคียงไหล่ทั้งส่วนตัว และการเข้าร่วมองค์กรญามิอฺมุดัรริซีนซึ่งในสมัยนั้นถือว่ามีบทบาทอย่างมากและเป็นที่เคารพยกย่องของคนส่วนใหญ่ จากจุดนี้ได้สร้างให้เกิดความเป็นเอกภาพและการรวมตัวกันเป็นปลึกแผ่น อันเป็นรหัสสำคัญที่โน้มนำไปสู่ชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่แห่งการปฏิวัติอิสลาม ซึ่งนับว่าอุซตาดมีบทบาทสำคัญไม่น้อยหรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นตัวจักรสำคัญในการต่อสู้ครั้งนั้นจนประสบชัยชนะ อุซตาดได้เคลื่อนไหวด้านกิจกรรมจนเป็นสาเหตุทำให้ถูกจับกุมหลายครั้งโดยรัฐบาลผู้กดขี่ และทุกครั้งจะได้รับการทรมารจากตำรวจสายลับของชาห์ (ซาวัก) จนในที่สุดได้ถูกเนรเทศไปอยู่ในที่กันดารที่สุด ครั้งแรกอุซตาดถูกเนรเทศไปอยู่ในบริเวณพื้นที่ ๆ ร้อนที่สุดของประเทศชื่อว่า ลังเกะฮฺ ท่านต้องทนทุกข์ทรมารท่ามกลางความร้อนอยู่ที่นั่นนานถึง ๔ เดือน ตามคำพูดของอุซตาดกล่าวว่าระยะเวลา ๔ เดือนมันนามเหมือน ๔๐ ปี หลังจากนั้นท่านถูกเนรเทศไปอยู่แถบภูเขาเมืองยัซนานถึง ๒ ปีครึ่ง และตลอดระยะเวลาดังกล่าวท่านได้รับการทรมานแสนสาหัสจนยากที่จะบรรยายออกมาได้
ในช่วงที่อุซตาดถูกเนรเทศนั้นท่านได้ใช้เวลาเป็นประโยชน์ที่สุดในการเขียนตำราต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นต่อสังคมและศาสนา ท่านได้ออกสารปลุกระดมประชาชนชาวเมืองยัซให้ยึดมั่นอุดมการณ์ของท่านอิมาม แและตลอดระยะเวลาที่ขบวนการปฏิวัติได้เคลื่อนไหว ประชาชนที่เมืองนี้ได้ให้การสนับสนุนการปฏิวัติอย่างเข็มแข็งและต่อสู้กับรัฐบาลผู้กดขี่ด้วยมือเปล่า โดยไม่เกรงกลัวรถถังและลูกกระสุนที่ถูกยิงสาดซัดเข้าหาฝูงชนอย่างบ้าคลั่ง จนเห็นได้ว่าประชาชนที่เมืองนี้ชะฮีดมากที่สุด การเนรเทศอุซตาดสิ้นสุดลงพร้อมกับการสิ้นเสียงปืน และการล่มสลายของรัฐบาลกดขี่ อิสลามได้ทอแสงอันเจิดจรัสอีกครั้งหนึ่ง หลังจากได้ถูกเมฆหนาทึบปกคลุมมาอย่างช้านาน แต่สิ่งสำคัญที่ไม่ควรลืมคือการต่อสู้อย่างเด็ดเดี่ยวของอุละมาอฺและนักปราชญ์ ทั้งบุคคลที่ได้เสียชีวิตขณะต่อสู้และยังมีชีวิตอยู่จนถึงปัจจุบัน ซึ่งหนึ่งในนั้นคืออุซตาดฟาฎิลมัรญิอฺตักลีดคนปัจจุบัน
หลักฐานที่ยืนยันการเป็นมัรญิอฺของท่านอิมามผู้นำขบวนการปฏิวัติอิสลาม ยังไม่เป็นที่ประจักษ์เท่าใดนักในหมู่ประชาชนสมัยนั้น และไม่อาจมั่นใจได้ว่าขบวนการปฏิวัติของท่านจะเดินทางไปจบ ณ จุดใด จะประสบความสำเร็จหรือไม่ไม่มีผู้ใดสามารถรับรุ้ได้ แต่ที่แน่นอนขบวนการของท่านต้องการผู้ที่มีความกล้าหาญและพร้อมที่จะต่อสู้ในทุกรูปแบบ มีความเสียสละและต้องมีความอดทนอย่างสูง แม้ว่าขบวนการปฏิวัติของท่านอิมามจะเป็นผลสืบเนื่องมาจากความเชื่อบริสุทธิ์ในอำนาจของพระผู้เป็นเจ้าก็ตาม กระความสงสัยและความคลางใจของผู้ที่ร่วมขบวนการก็มีไม่น้อยเนื่องจากว่าอำนาจที่ท่านอิมามกำลังเผชิญอยู่นั้น เป็นอำนาจของความป่าเถื่อนโหดร้าย กดขี่ และทารุณกรรมที่สุด ท่านอิมามและกษัตริย์ชาห์ได้เผชิญหน้ากันอย่างรุนแรง เนื่องจากว่าถ้าหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพลี้ยงพล้ำนั่นหมายถึงการสูญเสียอำนาจและชีวิต กษัตริย์ชาห์จึงได้สั่งการทุกอย่างเพื่อยุติขบวนการปฏิวัติให้ได้ไม่ว่าจะเป็นการจับท่านอิมามไปทรมาน หรือสั่งเนรเทศเขาได้ทำทั้งหมดเพื่อขุดรากถอนโคนขบวนการปฏิวัติ ทว่าพระผู้เป็นเจ้าไม่เข้าข้างคนผิด
ขณะที่ชาห์ได้ออกคำสั่งให้จับท่านอิมามไปโดยมีเป้าหมายต้องการประหารชีวิต ได้สร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนทุกระดับชั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันอุละมาอฺได้เรียกร้องเชิญชวนประชาชนให้ลุกต่อต้าน ออกแถลงการณ์ และออกฟัตวาหลายประการเพื่อต่อต้านอำนาจ่ฝ่ายบริหารและสร้างความกดดันไม่ให้ประหารชีวิตท่านอิมาม
ขบวนการต่อต้านชาห์นามว่า ๑๕ โครดอดได้เกิดขึ้นในช่วงนั้นพอดี เป้าหมายของขบวนการคือเรียกร้องและปกป้องสถาบันอุละมาอฺโดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันมัรญิอฺ ขบวนการ ๑๕ โครดอดได้ออกแถลงการณ์ว่าการแตะต้องหรือลบลู่สถาบันอุละมาอฺโดยเฉพาะอย่างยิ่งมัรญิอฺ เป็นสาเหตุนำไปสู่การลุกต่อต้านอย่างรุนแรง มัรญิอฺอยู่ในฐานะของผู้นำศาสนาสูงสุดและมีความบริสุทธิ์ไม่มีใครมีสิทธิ์ทำร้ายมัริญิอฺได้เด็ดขาด ขณะที่รัฐบาลคิดว่าเพียงระยะเวลาสั้น ๆ หลังจากท่านอายุตุลลอฮฺบุรูญิดดีได้อสัญกรรมไปได้ไม่นาน คงจะไม่ทันมีมัรญิอฺคนใหม่เกิดขึ้นแน่นอน ในช่วงเวลานั้นเองบรรดาอุละมาอฺได้ร่วมมือกันเพื่อออกแถลงการณ์ถึง การเป็นมัรญิอฺของท่านอิมามโคมัยนี ซึ่งต้องไม่ลืมว่าใครก็ตามที่ออกมาสนับสนุนท่านอิมามต้องถูกขึ้นบัญชีดำในฐานะผู้ต่อต้านรัฐบาลและกษัตริย์ และจะนัปสาอะไรกับการออกมารับรองหรือประกาศการเป็นมัรญิอฺของท่านอิมาม ในสถานการณ์เช่นนั้นท่านอุซตาดอายะตุลลอฮฺ ฟาฎิลเป็นบุคคลในแถวแรกที่ร่วมแถลงการณ์และรับรองการเป็นมัรญิอฺของท่านอิมาม อุซตาดได้ออกแถลงการณ์ว่า ความเหมาะสมทั้งความรู้ อีมาน และความยำเกรงของท่านอายะตุลลอฮฺ โคมัยนีต่อการเป็นมัรญิอฺ ปกป้องสถาบันศาสนา และชีวิตของมุสลิมีนไม่มีข้อคลางแคลงใจใด ๆ ทั้งสิ้น ซึ่งคำแถลงการณ์ของอุซตาดทำให้รัฐบาลไม่กล้าตัดสินใจประหารชีวิตท่านอิมาม แต่ได้สั่งเนรเทศออกนอกประเทศแทน
มัรญิอฺที่พึ่งของประชาชน
นับตั้งแต่เหตุการณ์ที่ซะกีฟะฮฺ บนีซาอิดะฮฺได้ปฏิเสธการปกครอง และตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺที่ถูกต้องของท่านอิมามอะลี (อ.) และบรรดาผู้ร่วมสมัยได้ทำการช่วงชิงสัจธรรมไปจากท่าน ด้วยเหตุนี้รูปแบบการปกครองได้ถูกเปลี่ยนแปลงไป ถ้าหากว่าได้วางรากฐานการปกครองตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺบนพื้นฐานของอิสลาม ที่ท่านศาสดา มุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ได้วางเอาไว้ การเปลี่ยนแปลงก็จะไม่เกิดขึ้น แต่เนื่องจากว่าการช่วงชิงอำนาจ สัจธรรม และการเปลี่นแปลงแบบฉบับของท่านได้เกิดขึ้นที่ซะกีฟะฮฺ ทำให้รูปแบบการปกครอง และตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺได้เปลี่ยนแปลงไปอยู่ในแนวทางอื่น และเนื่องจากแนวทางนี้ผู้รู้และเข้าใจศาสนา และมัซฮับต่างที่มีอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่งในโลกรับรู้และเข้าใจดีว่า นับตั้งแต่สมัยนั้นเป็นต้นมา การปกครองได้ตกไปอยู่ในอำนาจของผู้ที่ไม่เหมาะสม ส่วนบรรดาผู้ที่เหมะสมตำแหน่งนี้นั้นได้ถูกปิดกั้นเวทีทางการเมือง
เป็นเรื่องธรรมดา เมื่อบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปกครอง บรรดาผู้ปฏิบัติตามก็ไม่อาจแสวงหาแนวทางที่ดีไปกว่านี้ได้ ด้วยเหตุนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่าผลลัพธ์ของปกครองนี้ คือ การกดขี่ การทารุณบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ทั้งหลาย และบรรดาผู้ปฏิบัติตามแนวทางของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) อิมามอะลี (อ.) และอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ไม่มีทางเลือกนอกจากการอยู่นิ่งหรือถูกโดดเดี่ยว
แต่ทว่าการลเวลาได้เปลี่ยนไป สถานการณ์ต่างได้ถูกจัดตั้งขึ้น หมายความว่าการปกครองที่เป็นอยู่ (หมายถึงการปกครองที่เปิดเผย) นักการเมือง และผู้วางรากฐานทางการเมืองอยู่ในอำนาจของผู้ปกครองที่กดขี่ ต่างไปจากเป้าหมายของการปกครองตามคำสอนของศาสนา ซึ่งอำนาจนั้นอยู่ในมือของมัรญิอฺ ซึ่งในทุก ๆ สังคมมีประชาชนอยู่มากมายที่เป็นผู้ปฏิบัติตามบรรดามัรญิอฺ หรืออาจกล่าวได้อีกว่าในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา บรรดากษัตริย์มีอำนาจการปกครองเหนือบรรดากองทหาร และผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเพียงเล็กน้อยของเขา แต่ในทางกลับกันบรรดามัรญิอฺ และผู้นำทางศาสนามีอิทธิพล และอำนาจการปกครองเหนือจิตใจของประชาชน ซึ่งมีจำนวนนับเป็นล้าน ๆ คน
ในประวัติศาสตร์สถานการณ์ค่อย ๆ เปลี่ยแปลงไปกล่าวคือ อำนาจของบรรดากษัตริย์ในประเทศต่าง ๆ ได้ลดน้อยลง ขณะที่อำนาจการปกครองของบรรดาอุละมาอฺ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มัรญิอฺตามแนวทางของชีอะฮฺได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งการปกครองในรูปแบบนี้ได้ฝากไว้กับประชาชน
ด้วยเหตุนี้ ในประเทศที่มีการปกครองในรูปแบบอิสลาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศสาธรณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน มีการปกครอง ๒ รูปแบบที่กลับไปหาประชาชนโดยตรงกล่าวคือ
๑.การปกครองที่มีอำนาจการกระทำในขอบเขตที่จำกัดอย่างเช่น การปกครองของกษัตริย์
๒.การปกครองที่มีอำนาจแพร่ขยายไปถึงจิตวิญญาณของประชาชน อย่างเช่น การปกครองของผู้นำทางศาสนา โดยเฉพาะการปกครองของบรรดามัรญิอฺ
จากการศึกษาและตรวจสอบอย่างละเอียดประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่า ผู้ปกครองมีอำนาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาของประเทศ และกองทหารเท่านั้น การปกครองที่ประสบความสำเร็จของพวกเขาคือ การนำพาประชาชนให้อยู่ภายใต้ธงชาติของประเทศ หรือนำพาประชาชนไปสู่สงคราม และร่วมต่อสู้กับผู้ปกครองประเทศอื่น อาจกล่าวได้ว่า การประสบความสำเร็จทางการปกครองในทัศนะของอุละมาอฺหรือมัรญิอฺของชีอะฮฺ คือการที่ประชาชนอยู่ในกฎ หรือคำฟัตวา หรือการนำพาประชาชนให้อยู่ภายใต้ธงชาติ และในทางกลับกันถ้าหากมีสงคราม หรือกองทหารที่บรรดาอุละมาิอฺหรือมัรญิอฺไม่ทำการสนับสนุนแล้ว เป็นไปไม่ได้ที่ผู้ปกครองจะมีความพร้อมทางกองทหาร หรือความพร้อมในการต่อสู้และประเด็นสำคัญประการหนึ่งที่น่าจดจำคือ ในหน้าประวัติศาสตร์ได้เป็นพยานไว้ว่า เมื่อประเทศอิสลามได้รับอันตราย เฉพาะมัรญิอฺและอุละมาอฺเท่านั้นที่อนุญาตให้กองทหารออกรบ
เมื่อพิจารณาประวัติศาสตร์จะเข้าใจทันทีว่า บรรดาอุละมาอฺในสมัยก่อนโดยเฉพาะมัรญิอฺตักลีด พลังอำนาจหรือจิตวิญญาณของประชาชนอยู่ในมือของพวกท่าน และท่านสามารถนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสมในทุกเงื่อนไขและทุกสถานการณ์
ด้วยเหตุนี้ ในสมัยก่อนบรรดาอุละมาอฺและมัรญิอฺต้องปกป้องอิสลามจากความเลวร้าย เผยแพร่ศาสนา สอนหลักการปฏิบัติ ตอบคำถามทางด้านศาสนา อธิบายกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ของศาสนาและออกคำวินิจฉัย ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ไม่มีผู้ปกครองคนใดมีส่วนร่วมทั้งสิ้น
อำนาจหรืออิทธิพลของบรรดาอุละมาอฺ หรือมัรญิอฺอาจสรุปได้ว่า พวกท่านนั้นมีหน้าที่รับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ที่ครอบคลุมไปทั่วไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านวัตถุ หรือทางด้านจิตวิญญาณของประชาชน
มุสลิมโดยเฉพาะอย่างยิ่งนิกายชีอะฮฺฺได้ให้ความเคารพต่อบรรดาอุละมาอฺและมัรญิอฺเป็นพิเศษ ทุกครั้งเมื่อกิดปัญหาการกดขี่ หรือปัญหาทางด้านศาสนา หรือผู้ที่ถูกรุกรานสิทธิของตนเอง เมื่อต้องการให้ปัญหานี้หมดไปพวกเขาจะมุ่งตรงไปหามัรญิอฺทันที และประมาณว่าคำพูดเพียงหนึ่งประโยค หรือแม้แต่คำเดียวที่บรรดามัรญิอฺได้กล่าวออกมาปัญหาที่มีอยู่ก็จะถูกแก้ไขโดยปริยาย และผู้ที่ประพฤติไม่ดีก็จะสำนึกตัวและปฏิบัติตามคำตัดสินของมัรญิอฺโดยไม่มีข้อคัดค้านแต่ประการใด และมิหนำซ้ำยังมีความพึงพอใจต่อคำตัดสินของท่าน นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว ทุกครั้งที่มุสลิมคนหนึ่งประสบปัญหาทางด้านทรัพย์สิน หรือวัตถุปัจจัยสถานที่แรกที่เขารู้จักคือ บ้านของอุละมาอฺ หรือผู้นำศาสนาในเมืองนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมัรญิอฺตักลีด ซึ่งประชาชนจะมุ่งตรงไปที่นั้นด้วยความน้อยเนื้อต่ำใจ และหลังจากนั้นไม่นานก็จะออกมาพร้อมกับรอยยิ้ม และความปิติยินดีเพราะว่าการชี้นำของอุละมาอฺ หรือมัรญิอฺปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้นจะถูกคลีีคลายไปในทางที่ดี
ปัจจุบันแบบฉบับซุนนะฮฺที่ดียังคงมีอยู่นั่นคือ บ้านของท่านอายะตุลลอฮฺฟาฎิล ซึ่งพร้อมเสมอที่จะต้อนรับประชาชนตลอดเวลา และทุกวันนี้มีประชาชนที่มีความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก ได้เลือกที่จะมาหาท่านที่บ้าน และไม่มีใครสักคนเดียวที่จะกลับออกมาพร้อมกับมือเปล่า เพราะว่าท่านอายะตุลลอฮฺฟาฎิลสามารถแยกแยะได้ว่าใครพูดจริง หรือใครไม่มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือ ซึ่งการแยกแยะนี้ส่วนมากจะถูกต้อง และบรรดาผู้ที่ไม่มีปัญหาก็จะถูกแยกออกไป และท่านก็จะทำการช่วยเหลือผู้ที่ประสบปัญหาโดยทันที ในขอบเขตเท่าที่ท่านสามารถจะช่วยได้ เพื่อให้เขาผู้นั้นกลับออกมาพร้อมกับความสุข แน่นอน บ้านของผู้นำทางศาสนาเปรียบเสมือนบ้านของท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) และบ้านของอิมาม (อ.) ที่บรรดาผู้ขัดสนต่างมีความหวังต่อพวกท่านเหล่านั้น
ปกป้องบรรดาอิมามจากข้อกล่าวหา
ถ้าหากการมีอยู่ของอิมาม (อ.) คือ ความโปรดปรานที่พระองค์ทรงประทานให้กับบ่าวของพระองค์ ซึ่งหน้าที่ของพวกท่านคือ การนำพาบ่าวของพระองค์ให้ออกจากสิ่งที่ไม่ดีที่เป็นข้อห้ามตามหลักการศาสนา และถ้าหากเงื่อนไขการมีอยู่ของอิมามคือ การรักษาตำแหน่งการเป็นนบีแล้ว แน่นอน นี้เป็นคำสั่งให้บรรดามุสลิมทั้งหลายให้เกียรติและปกป้องพวกท่านให้ออกจากข้อกล่าวร้าย ด้วยเหตุนี้ในปี ฮ.ศ. ที่ ๑๔๑๘ เดือนเชาวาล รัฐบาลของซาอุดิอารเบียได้มีคำสั่งให้ทำลายสถานฝังศพของบรรดาอิมามที่สุสานญันนะตุลบะกีอฺ อันเป็นสาเหตุให้เกิดความวุ่นวายเร่าร้อนของโลกชีอะฮฺอย่างยิ่ง
จำเป็นที่จะต้องย้อนไปยังคำกล่าวที่ว่า (อาหรับ) ซึ่งเป็นบริเวณที่ทั้งหมดรู้จักกันดี และเก่าแก่ที่สุดของหลุมฝังศพของอิสลามได้ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่สมัยที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ยังมีชีวิตอยู่จวบจนถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งจุดสิ้นสุดของสุสานนี้อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองมะดีนะฮฺ มีระยะห่างไม่มากจากมัสญิดุนนบี และในอดีตหลุมศพของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ถูกตั้งไว้ที่นอกกำแพงเมือง แต่ในปัจจุบันนี้กลับเป็นจุดศูนย์กลางของเมืองมะดีนะฮฺ บุคคลแรกที่ถูกฝัง ณ สุสานแห่งนี้เป็นชาวอันซอรมีนามว่า ซะอฺอิบนิ ซุรอเราะฮฺ คิซรอญี หลังจากที่ได้ทำการฝังเขาเรียบร้อยแล้ว ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้มีคำสั่งเป็นการเฉพาะให้ชาวมุสลิมที่อยู่อาศัยที่มะดีนะฮฺทำความสะอาดพื้นที่แห่งนี้ และอุซมาน อิบนิ มัซอูน ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมดื่มน้ำนมของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เป็นชาวมุฮาญิรีน และเป็นบุคคลแรกที่ถูกฝังในสุสานแห่งนี้
นอกเหนือจากนี้แล้วยังมีอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) อีก ๔ ท่านของฝ่ายชีอะฮฺถูกฝังไว้ ณ สุสานแห่งนี้อีกต่างหากคือ ท่านอิมามฮะซัน (อ.) อิมามซัยนุลอาบิดีน (อ.) อิมามมุฮัมมัดบากิร (อ.) และอิมามญะอฺฟัร อัซ-ซอดิก (อ.) นอกจากนี้ยังมีท่านอับบาซ ลุงของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ท่านอิบรอฮีมบุตรชายสุดที่รักยิ่งของท่านศาสดา ท่านหญิงอุมมุบะนีนภรรยาของท่านอิมามอะลี (อ.) มารดาของท่านอับบาซ และเหล่าภรรยาทั้งหมดของของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ได้ถูกฝังไว้ ณ สุสรานแห่งนี้เช่นกัน ยกเว้นท่านหญิงเคาะดียะฮฺที่ไม่ได้ถูกฝั่งไว้ ณ ที่นี้ และยังมีสาวกของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) มากกว่าหนึ่งหมื่นคนถูกฝังในที่นี้ และหลายต่อหลายครั้งที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และบรรดาสาวกของท่านได้ไปนมาซมัยยิต และทำการฝังศพด้วยตัวของท่านเอง ด้วยเหตุนี้ สุสานแห่งนี้ (ญันนะตุลบะกิอฺ) จึงเป็นบริเวณที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับบรรดามุสลิมโดยเฉพาะชีอะฮฺ
จากเหตุการณ์ที่พวกเขาได้ทำลายสุสานญันนะตุลบะกิอฺแห่งนี้ ได้กลายเป็นสาเหตุให้บรรดาชีอะฮฺรู้สึกไม่พอใจ และได้เรียกร้องความเป็นธรรมในเรื่องนี้ ท่านอายาตุลลอฮฺฟาฎิลได้ทำการโต้ตอบทันที โดยท่านได้ประกาศให้ประชาชนทราบถึงเหตุการณ์ที่น่าสลดใจนั้น จนกระทั่งหนึ่งปีหลังจากการทำลายหลุมศพที่บะกิอฺได้ผ่านได้ ท่านได้สั่งปิดการสอนบทเรียนของท่าน และเหตุผลนี้เองทำให้ประชาชนหันมาสนใจกับเรื่องราวที่น่าหดหู่ ข่าวการปิดการสอนของท่านได้ถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ที่มีชื่อว่า ญุมฮูรีอิสลามี เมื่อวันที่ ๕ เดือน บะฮฺมัน ปี ๑๓๗๗ (สุริยคติ) ซึ่งมีข้อความดังต่อไปนี้
“วันที่ ๘ เดือน เชาวาล ได้เกิดเหตุการณ์ทำลายสถานฝังศพที่บะกิอฺ ซึ่งผู้ที่เดินทางไปบำเพ็ญฮัจญฺหรืออุมเราะฮฺ จะทราบดีว่า บรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ทั้งหลาย ไม่ได้ถูกกลั่นแกล้งเฉพาะช่วงที่ท่านมีชีวิตอยู่เท่านั้น แต่ทว่าหลุมศพของพวกท่านยังถูกประณามทั้งที่ผ่านมาถึง ๑๔ ศตวรรษแล้ว และไม่ใช่เฉพาะผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมเท่านั้นที่ทำลาย ทว่ามีมุสลิมบางกลุ่มได้ร่วมขบวนการครังนี้ด้วย น่าเสียใจที่พวกเขาไม่เข้าใจถึงหลักการอิสลาม พวกเขาอยู่ในสภาพที่ไม่รู้และไม่เข้าใจอิสลาม ซึ่งบางกลุ่มของพวกเขามีความคิดคล้ายกับพวกเคาะวาริจญฺ มีความคิดออกห่างจากหลักการศรัทธาในศาสนาอิสลาม และทุกวันนี้สามารถสังเกตุเห็นได้ในประเทศอัฟกานิสถาน ซึ่งมีหลายเหตุการณ์ที่เลวร้ายเกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝัน โดยใช้ชื่อ ขบวนการอิสลามนำหน้า ด้วยเหตุนี้ ฉันรู้สึกเสียใจเป็นอย่างมากที่หลังจากผ่านมา ๑๔ ศตวรรษจนกระทั่งปัจจุบัน สัจธรรมแห่งอิสลามก็ยังไม่เป็นที่ประจักษ์แก่พวกเขา พวกเขาเข้าใจอิสลามผิด โดยเฉพาะอย่างยิงมัซฮับชีอะฮฺที่มีความสัมพันธ์กับบรรดาอิมาม (อ.) พวกเขาไม่มีความเข้าใจอันใดเลยนอกจากการใส่ร้าย ในโลกนี้วิชาการได้มีการเจริญก้าวหน้าไปอย่างมาก แต่ไฉนพวกเขากับไม่มีความสามารถเข้าใจมัซฮับชีอะฮฺได้ ทั้งที่พวกเขามีความรู้ที่กระจ่าง ซึ่งพื้นฐานหลักการปฏิบัติของพวกเขา ตั้งอยู่บนหลักตรรกวิทยาและเหตุผลที่ถูกต้อง
ฉันขอนำเอาคำพูดของผู้เชี่ยวชาญในสายซุนนะฮฺท่านหนึ่ง ซึ่งท่านได้กล่าวไว้ว่า เงื่อนไขต่าง ๆ ที่มีอยู่ทุกวันนี้ได้สร้างความพร้อมให้มุสลิมรวมกันเป็นหนึ่งเดียว และเป็นที่น่ายินดีที่ความเป็นหนึ่งเดียวกันของอิสลามได้เข้มแข็งขึ้นในทุก ๆ วัน ถ้าเราไม่ใส่ใจในมัซฮับ และไม่ทำตัวให้ออกห่างจากวิชาการที่ไม่มีสิ้นสุดของอะฮฺลุลบัยตฺ ทำไมอุลามท่านหนึ่งจึงอนุญาตให้ตัวเองทำการประณาม หรือทำการใส่ร้ายต่าง ๆ ให้กับครอบคัรวและลูกหลานท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ในมัสญิดุนนบี ทั้งที่อยู่ติดกับหลุมฝังศพของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และลูกหลานของท่าน ไม่ใช่อื่นใดนอกจากความรู้สึกเกลียดชัง หรือทัศนะคติที่ไม่เป็นมิตร ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ขวางกั้นการค้นหา หรือการไม่ยอมรับสัจธรรม
ทำไมคนกลุ่มหนึ่งจึงอนุญาตให้ทำลายหลุมศพของบรรดาอิมาม (อ.) อย่างเปิดเผยโดยกล่าวว่า สาเหตุมาจากสิ่งเหล่านี้เป็นภาคีกับความเป็นเอกะของอัลลอฮฺ (ซบ.)
ริวายะฮฺหลายริวายะฮฺที่บันทึกอยู่ในหนังสือของอะฮฺลิซซุนนะฮฺยืนยันให้เห็นถึงความสำคัญของบรรดาอิมาม หรือว่าท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ไม่เคยเดินทางไปเยี่ยมเยี่ยนหลุมศพที่บะกิอฺแห่งนี้เลย
เพราะเหตุใดทุกวันนี้พวกเขายังไม่สามารถเข้าใจความเป็นเอกะของอัลลอฮฺ (ซบ.) และไม่มีเหตุผลประการใดที่ทำให้พวกเขาออกห่างจากชนอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งด้วยกับบะเราะกัตของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ทำให้กลุ่มนี้มีศรัทธามั่นต่อพระเจ้าองค์เดียว ด้วยเงื่อนไขที่มีอยู่นี้ ข้าพเจ้ามีความต้องการให้เจ้าหน้าที่ของประเทศอิหร่านที่มีความสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ของประเทศซาอุดิอารเบีย ในเรื่องการจัดตั้งความเป็นเอกภาพของอิสลาม แก้ไขความเสียหายที่ยิ่งใหญ่ที่เกิดขึ้นในหน้าประวัติศาสตร์ที่มิอาจลืมเลือนได้ จงรับรู้ไว้ว่าแนวทางในการจัดตั้งเอกภาพนั้น เริ่มต้นที่หลุมฝังศพอันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ และคำสั่งของพวกเขาที่สั่งให้ทำลายหลุมฝังศพอันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ ได้สร้างความเข้าใจผิดให้กับประชาชน ซึ่งส่วนใหญ่เข้าใจว่านี้เป็นคำสั่งของอัลลอฮฺ (ซบ.) และเราะซูลของพระองค์
จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น อันเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการประท้วงในวันพรุ่งนี้คือ วันที่ ๘ เดือนเชาวาล ข้าพเจ้าขอปิดบทเรียนของข้าพเจ้า จนกว่าจะมีท่าที่หรือปฏิกิริยาบางอย่างที่แสดงให้เห็นว่ามีการแก้ไข หรือทดแทนความเสียหายที่ยิ่งใหญ่นี้”
แสดงทัศนะและสนับสนุนปัญหาวิลายะตุลฟะกีฮฺ
หลังจากการปฏิวัติอิสลามการปกครองในระบบวิลายตุลฟะกีฮฺ ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ และไม่มีปัญหาใดที่ถูกวิพากษ์จิจารณ์อย่างต่อเนื่องและให้ความสำคัญเท่ากับเรื่องของวิยะตุลฟะกีฮฺ ซึ่งนับตั้งแต่การปกครองนี้ (วิลายะตุลฟะกีฮฺ) ถูกจัดให้เป็นศูนย์รวมของการปกครองทางศาสนา แน่นอนแนวคิดต่าง ๆ ได้ให้ความสนใจกับการปกครองระบบนี้มากยิ่งขึ้น แต่ทว่าขณะที่ทุกคนให้ความสนใจนั้น ถ้าเรามองกลับไปที่หลักการปฏิบัติสมัยก่อน เราจะเห็นได้ว่ามีหลายทัศนะที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย แต่ทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุให้ระบบนี้เข้มแข็งขึ้น และสามารถกล่าวได้ว่าหลักการศรัทธาที่มีอยู่ ได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้กล่าวคือ ตำแหน่งวิลายะฮฺกับการปกครองทีความสัมพันธ์ชนิดที่ว่าไม่สามารถแยกออกจากกันได้อย่างแน่นอน
อีกมุมมองหนึ่งของบรรดาผู้ที่ปฏิเสธ ซึ่งไม่ว่าจะเหตุผลใดก็ตาม หรือแม้แต่เหตุผลทางด้านศาสนา พวกเขาก็ไม่ต้องการให้มีการปกครองระบบนี้เกิดขึ้น แต่พวกเขาก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ไม่มีการปกครองระบบนี้ในอิสลาม ทว่าด้วยข้อสงสัยที่มีอยู่ พวกเขามีความต้องการที่จะทำลายการปกครองระบบนี้ให้หมดไป
ทัศนะต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหานี้ถ้าหากพิจารณาอย่างละเอียดจะพบว่าไม่ได้ลดน้อยลงไปแต่อย่างใด ในทางกลับกันกับเพิ่มมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ท่านอายาตุลลอฮฺฟาฎิลจึงได้ให้ความสนใจ และความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องวิลายะตุลฟะกีฮฺเป็นอย่างมาก ตลอดจนท่านได้ตอบปัญหาต่าง ๆที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวกับเรื่องวิลายะฮฺ เช่น ทัศนะของอิมามโคมัยนีเกี่ยวกับเรื่องวิลายะตุลฟะกีฮฺ ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับการเมือง ผู้ที่มาร่วมทำการสัมนาในหัวข้อเรื่อง “อิมามกับแนวความคิดการปกครองอิสลาม” ได้ขอเข้าพบกับท่านอายาตุลลอฮฺฟาฎิลและสนทนากับท่าน ซึ่งการสนทนาในครั้งนั้นได้ถูกบันทึกไวดังนี้
“ข้าพเจ้าได้ร่วมอยู่ในการบรรยายต่างๆของท่านอิมามโคมัยนีมากกว่า ๑๐ ปี และได้ร่วมเขียนหนังสือคำอธิบายหนังสือฟัตวาของท่านคือ ตะฮฺรีรุลวะซีละฮฺ อยู่ประมาณ ๒๖ ปี และถูกตีพิมพ์แล้วจำนวน ๒๐ เล่ม ซึ่งข้าพเจ้าได้ทำการเปรียบเทียบข้อมูลพื้นฐานของท่านอิมาม กับบรรดานักปราชญ์ร่วมสมัย หรือกับบรรดานักปราชญ์รุ่นก่อน ข้าพเจ้ายอมรับอย่างไม่มีข้อคลางแคลงใจว่า ข้าพเจ้าไม่มีความสามารถพอที่เข้าใจ หรือรับรู้ความรู้ต่าง ๆ ของท่านอิมามได้ และสำหรับบรรดาผู้ที่มีความเป็นธรรม และไม่มีอคติหากได้พิจารณาหนังสือที่ท่านอิมามได้เขียนขึ้นจะพบว่าจำเป็นต้องใช้ความคิดวิจารณญาณ และความอตุสาหะอย่างมาก จึงจะเข้าใจรากฐานแนวความคิดของท่านอิมามได้โดยละเอียด
ข้าพเจ้าขอแนะนำจุดเด่นของความรู้ของท่านอิมามจากการที่ข้าพเจ้าได้ทำการทบทวนหนังสือต่าง ๆ ของท่านและพบว่าท่านเป็นบุคคลหนึ่งที่ไม่เคยนิ่งเฉย เรื่องการแสวงหาความรุ้ ความมุ่งมั่นของท่านไม่ได้หยุดอยู่ที่การเมืองแต่อย่างใด แต่ทว่าผลของมันยังคงอยู่ตราบจนทุกวันนี้”
ท่านอายาตุลลอฮฺฟาฎิลได้อธิบายเพิ่มเติมว่า แนวคิดเรื่องการปกครองของท่านอิมามโคมัยนีเรื่องวิรายะตุลฟะกีฮฺ สามารถใช้สติปัญญาพิสูจน์ได้ เนื่องจากท่านอิมามโคมัยนีได้พิจารณาไปที่โครงสร้างโดยรวมของศาสนาอิสลาม คำสั่งหรือกฎต่างๆ ที่ครอบคลุมอยู่ทุกด้านไม่ว่าจะเป็น เรื่องการเคารพภักดี สังคม การเมือง กฎหมาย และความสมบูรณ์แบบของศาสนาอิสลาม กับยุคปัจจุบันจะพบว่าคำสอนของอิสลามไม่ได้อยู่แค่การเผยแพร่ศาสนา หรือการบรรยายหลักการต่าง ๆ เท่านั้นแต่ทว่าจำเป็นที่จะต้องให้ประชาชนมีความเข้าใจและรับรู้ว่า หน้าที่ของศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมาม (อ.) ที่ได้อถธิบายหลักการปฏิบัติต่าง ๆ ไว้นั้น ปัจจุบันคือ หน้าที่ของบรรดามัรญิอฺ ซึ่งเรื่องนี้ท่านอิมามโคมัยนีได้กำชับว่า อำนาจของวิลายะฮฺก็คือ อำนาจในการปกครองโดยนำหลักการของอัล-กุรอานขึ้นปกครองสังคม ซึ่งการปกครองนี้ในสมัยก่อนเป็นหน้่าที่ของท่านศาสดา หรืออิมาม แต่ปัจจุบันเป็นหน้าที่ของผู้ที่เป็นวิลายะตุลฟะกีฮฺ ฉะนั้น อำนาจวิลายะฮฺที่ท่านศาสดาหรืออิมามมี กับวิลายะตุลฟะกีฮฺในปัจจบันจึงไม่แตกต่างกัน
ท่านอายาตุลลออฮฺฟาฎิลกล่าวอีกว่า กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ตามหลักการของศาสนา และความจำเป็นในการปฏิบัติตามกฎหมายอิสลาม ไม่ได้เฉพาะเจาะจงอยู่แค่ยุคสมัยของบรรดามะอฺซูม (อ.) เท่านั้น เฉกเช่นในสมัยท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ที่ท่านมีหน้าที่รับผิดชอบกฎหมายตามหลักบัญญัติของศาสนา หลังจากท่านจากไปหน้าที่ดังกล่าวเป็นของอิมามผู้บริสุทธิ์ และในสมัยที่อิมามเร้นกาย หน้าที่นี้จึงเป็นของมัรญิอฺ หรือรู้จักกันในนามของวิลายะตุลฟะกีฮฺ กล่าวคือผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบการปกครอง หรือรับผิดชอบกฎหมายตามหลักการศาสนา และในตอนท้ายท่านอายะตุลลอฮฺฟาฎิลได้กล่าวอีกว่า ในทัศนะของข้าพเจ้าสิ่งที่สำคัญที่สุดของการได้มาซึ่งการปฏิวัติอิสลาม คือการรับใช้บรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ให้ดีที่สุด กล่าวคือ แนะนำแนวทางชีอะฮฺให้โลกได้รับรู้ก่อนอื่นใด แนวทางของชีอะฮฺ และคำสอนของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ยังไม่เป็นที่รู้จักเท่าที่ควร แต่ทว่าปัจจุบันนี้ด้วยบะเราะกัตของท่านอิมามโคมัยนีและการปฏิวัติอิสลามทำให้หลักคำสอนของอะฮฺลุลบัยตฺได้ขจรขจายเป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลก จนกระทั่งบรรดานักคิด และนักค้นคว้าทั้งหลายสามารถค้นหาและใช้ประโยชน์จากหลักทำสอนของอฮฺลุลบัยตฺได้อย่างดี