อะฮฺกามตักลีด

         ข้อที่ ๑. มุสลิมทุุกคนต้องเชื่อมั่นต่อหลักศรัทธา (อุซูลุดดีน) ส่วนหลักปฏิบัติต้องเป็นมุจตะฮิดที่สามารถค้นคว้าอะฮฺกามได้ด้วยเหตุผล แต่ถ้าไม่ใช่ต้องปฏิบัติตามมุจตะฮิด (ตักลีด) หมายถึงปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของมุจตะฮิด หรือทำการอิฮฺติยาฎในการปฏิบัติในลักษณะที่ว่าตนได้ปฏิบัติหน้าที่แล้ว ซึ่งต้องมั่นใจว่าได้ปฏิบัติหน้าที่จริง เช่น มุจตะฮิดกลุ่มหนึ่งถือว่าการกระทำบางอย่างฮะรอม แต่อีกกลุ่มถือว่าไม่ฮะรอม หน้าที่ของผู้อิฮฺยาฏต้องไม่ทำสิ่งนั้น แต่ถ้ามุจตะฮิดบางกลุ่มถือว่าการกระทำบางอย่างเป็นวาญิบ และอีกบางกลุ่มถือว่าเป็นมุซตะฮับ หน้าที่ของผู้อิฮฺติยาฎต้องกระทำ ดังนั้น บุคคลที่ไม่ได้เป็นมุจตะฮิดและไม่สามารถอิฮฺติยาฏการกระทำได้ วาญิบต้องตักลีดกับมุจตะฮิด

          ข้อที่ ๒. การตักลีดในอะฮฺกามหมายถึง การปฏิบัติตามคำสั่งของมุจตะฮิด และมุจตะฮิดที่ต้องตักลีดตามต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

เป็นเพศชาย

-          บาลิฆ (บรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ)

-          มีสติสัมปชัญญะ

-          เป็นชีอะฮฺอิมามียะฮฺ (๑๒ อิมาม)

-          บิดามารดาแต่งงานถูกต้องตามหลักศาสนา

-          มีชีวิต

-          มีความยุติธรรม (ไม่ทำบาปทั้งบาปเล็กและบาปใหญ่)

-          เป็นอิฮฺติยาฏวาญิบมุจตะฮิดที่ต้องตักลีดตามต้องไม่มีความลุ่มหลงต่อโลก

-          มีความรู้สูงสุด (อะอฺลัม) กว่ามุจตะฮิดท่านอื่น หมายถึงมีความเข้าใจฮุกุมของอัลลอฮฺดีกว่ามุจตะฮิดท่านอื่นในสมัยของตน

          ข้อที่ ๓. สามารถรู้จักมุจตะฮิดและอะอฺลัมได้ ๓ วิธีคือ

-          บุคคลนั้นต้องเชื่อมั่นด้วยตัวเอง เข่น เป็นผู้มีความรู้และสามารถจำแนกการเป็นมุจตะฮิดและความอะอฺลัมได้

-          ผู้รู้ที่มีความยุติธรรม ๒ ท่าน ที่สามารถจำแนกการเป็นมุจตะฮิดและความอะอฺลัม ได้รับรองการเป็นมุจตะฮิดและอะอฺลัมของมุจตะฮิดท่านนั้น แต่มีเงื่อนไขว่าผู้รู้ที่มีความยุติธรรม ๒ ท่่านอื่นต้องไม่มีความเห็นขัดแย้ง

-          บุคคลที่มีความรู้กลุ่มหนึ่ง ที่สามารถจำแนกการเป็นมุจตะฮิดและความอะอฺลัม ซึ่งคำพูดของพวกเขาสามารถมั่นใจได้ ได้รับรองการเป็นมุจตะฮิดและความอะอฺลัม

ข้อที่ ๔. ถ้าการรู้จักความอะอฺลัมเป็นเรื่องลำบาก ให้ตักลีดกับมุจตะฮิดที่คาดว่าเป็นผู้ที่มีความรู้สูงสุด ถึงแม้ว่าจะเป็นการคาดการที่อ่อนแอแต่รู้ว่าไม่มีมุจตะฮิดท่านใดมีความรู้สูงไปกว่าท่าน ดังนั้น อิฮฺติยาฏวาญิบให้ตักลีดกับท่าน แต่ถ้าในทัศนะของตนมีมุจตะฮิดที่มีความรู้สูงสุดกว่ามุจตะฮิดท่านอื่นอยู่หลายท่าน และแต่ละท่านมีความรู้เท่าเทียมกัน ให้เลือกตักลีดกับมุจตะฮิดท่านหนึ่งท่านใด

ข้อที่ ๕. สามารถรู้จักคำฟัตวาหมายถึง คำวินิจฉัยของมุจตะฮิดได้ ๔ วิธีคือ

-          ได้ยินฟัตวาจากมุจตะฮิด

-          ได้ยินจากผู้ที่มีความยุติธรรม ๒ ท่านกล่าวถึงฟัตวาของมุจตะฮิด

-          ได้ยินจากผู้ที่สามารถเชื่อถือได้ในคำพูด และเป็นผู้สัตย์จริง

-          ได้เห็นคำฟัตวาปรากฏในหนังสือริซาละฮฺ และบุคคลนั้นมั่นใจในความถูกต้องของริซาละฮฺ

 

ข้อที่ ๖. ถ้าไม่มั่นใจว่าฟัตวาของมุจตะฮิดได้เปลี่ยนแปลงแล้ว สามารถปฏิบัติตามสิ่งที่บันทึกไว้ในริซาละฮฺต่อไปได้ แต่ถ้าสงสัยว่าฟัตวาอาจจะเปลี่ยนไปแล้ว ไม่จำเป็นต้องไปติดตาม

ข้อที่ ๗. ถ้ามุจตะฮิดอะอฺลัมได้ฟัตวาไว้ในริซาละฮฺของท่าน ผู้ที่ตักลีดตามไม่สามารถปฏิบัติตามฟัตวาของมุจตะฮิดท่านอื่นได้ แต่ถ้าท่านไม่ได้ฟัตวาและให้อิฮฺติยาฏแทน เช่น อิฮฺติยาฏว่า นมาซเราะกะอัตที่ ๓ และ ๔ ให้กล่าวตัซบีฮาตอัรบะอะฮฺ (ซุบฮานัลลอฮิ วัลฮัมดุลิลลาฮิ วะลาอิลาฮะอิลลัลลอฮุ วัลลอฮุอักบัร) ๓ ครั้ง ผู้ที่ตักลีดตามต้องปฏิบัติตามหลักอิฮฺติยาฏ ซึ่งเป็นอิฮฺติยาฏวาญิบโดยให้กล่าวตัซบีฮาต ๓ ครั้ง หรือให้ปฏิบัติตามคำฟัตวาของมุจตะฮิดท่านอื่น ซึ่งเป็นอิฮฺติยาฏวาญิบมุจตะฮิดท่านนั้นต้องมีความรู้น้อยกว่ามุจตะฮิดที่อะอฺลัม แต่ต้องมีความรู้มากกว่ามุจตะฮิดท่านอื่น ฉะนั้น ถ้าท่านฟัตวาว่าให้กล่าวตัซบีฮาตเพียง ๑ ครั้ง เขาสามารถกล่าวเพียงครั้งเดียวได้ เช่นเดียวกันสามารถปฏิบัติตามฟัตวาของมุจตะฮิดท่านอื่นได้ กรณีที่มุจตะฮิดอะอฺลัมกล่าวว่าปัญหานี้ยังไม่ชัดเจน หรือยังเป็นที่สงสัยอยู่

ข้อที่ ๘. หลังจากมุจตะฮิดที่อะอฺลัมฟัตวาไว้ในหนังสือริซาละฮฺแต่ให้อิฮฺติยาฏ เช่น กล่าวว่าภาชนะที่เปื้อนนะยิซให้ล้างด้วยน้ำที่มีปริมาตกุรเพียงครั้งเดียวถือว่าสะอาด แม้ว่าอิฮฺติยาฏให้ล้าง ๓ ครั้งก็ตาม ฉะนั้น ผู้ที่ตักลีดตามท่านไม่สามารถปฏิบัติตามฟัตวาของมุจตะฮิดท่านอื่นได้ ทว่าต้องปฏิบัติตามฟัตวาของมุจตะฮิดที่ตักลีดตาม หรือปฏิบัติตามหลักอิฮฺติยาฏซึ่งเป็นอิฮฺติยาฏมุซตะฮับ ยกเว้นถ้าฟัตวาของมุจตะฮิดท่านอื่นใกล้เคียงกับการอิฮฺติยาฏ

ข้อที่ ๙. ถ้ามุจตะฮิดที่ตักลีดตามถึงอสัญกรรม ต้องตักลีดกับมุจตะฮิดที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ถ้าได้ปฏิบัติตามฟัตวาของมุจตะฮิดบางเรื่องหลังจากที่ท่านได้อสัญกรรมไปแล้ว สามารถปฏิบัติตามฟัตวาทั้งหมดได้

ข้อที่ ๑๐. ถ้าปัญหาบางประการได้ปฏิบัติตามฟัตวาของมุจตะฮิด แต่หลังจากที่ท่านได้อสัญกรรมได้ปฏิบัติตามฟัตวาของมุจตะฮิดที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้น ปัญหาดังกล่าวไม่สามารถกลับมาปฏิบัติตามฟัตวาของมุจตะฮิดที่อสัญกรรมไปแล้วได้อีก  ในกรณีที่มุจตะฮิดที่มีชีวิตไม่ได้ฟัตวาแต่ให้อิฮฺติยาฏ ซึ่งผู้ปฏิบัติตามได้อิฮฺติยาฏการกระทำในระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้น สามารถกลับมาปฏิบัติตามฟัตวาของมุจตะฮิดที่อสัญกรรมไปแล้วได้อีก เช่น ถ้ามุจตะฮิดกล่าวว่าในเราะกะอัตที่ ๓ และ ๔ ให้กล่าวตัซบีฮาตอัรบะอะฮฺ (ซุบฮานัลลอฮิ วัลฮัมดุลิลลาฮิ วะลาอิลาฮะอิลลัลลอฮุ วัลลอฮุอักบัร) ๑ ครั้งถือว่าเพียงพอ ซึ่งผู้ปฏิบัติตามได้ถือปฏิบัติโดยกล่าวเพียงครั้งเดียวในระยะเวลาหนึ่ง ต่อมาท่านได้อสัญกรรม และมุจตะฮิดที่ยังมีชีวิตให้อิฮฺติยาฏวาญิบโดยกล่าว ๓ ครั้ง ผู้ปฏิบัติตามได้ถืออิฮฺติยาฏโดยกล่าว ๓ ครั้ง ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติตามสามารถกลับไปปฏิบัติตามฟัตวาของมุจตะฮิดที่อสัญกรรมไปแล้วได้อีก โดยกล่าวตัซบีฮาตเพียงครั้งเดียว

ข้อที่ ๑๑. ปัญหาบางประการที่โดยปกติคนเรามีความต้องการ เป็นวาญิบต้องเรียนรู้

ข้อที่ ๑๒. ถ้ามีปัญหาบางประการเกิดขึ้นโดยไม่ทราบว่ากฏเป็นอย่างไร  สามารถรอจนกว่าจะรู้ฟัตวาของมุจตะฮิดที่อะอฺลัม หรือถ้าอิฮฺติยาฏได้ให้อิฮฺติยาฏในการกระทำ แต่ถ้าอิฮฺติยาฏไม่ได้และไม่สามารถหลีกเลี่ยงการกระทำนั้นได้ให้ทำและรอจนกว่าจะรู้เรื่อง ดังนั้น ถ้ารู้แน่นอนว่าไม่ตรงกับคำพูดของมุจตะฮิดหรือไม่ตรงกับความจริง ให้ปฏิบัติใหม่อีกครั้ง

ข้อที่ ๑๓. ถ้าบอกฟัตวาของมุจตะฮิดกับคนอื่นต่อมามุจตะฮิดได้เปลี่ยนแปลงฟัตวา ไม่จำเป็นต้องแจ้งให้เขาทราบว่าฟัตวาได้เปลี่ยนไปแล้ว แต่ถ้ารู้ภายหลังว่าได้บอกฟัตวาผิดกรณีที่เป็นไปได้ให้แ้ก้ใขข้อผิดพลาด

ข้อที่ ๑๔. ถ้ามุกัลลัฟได้ปฏิบัติหน้าที่ระยะเวลาหนึ่งโดยปราศจากการตักลีด ซึ่งการกระทำนั้นจะถูกต้องก็ต่อเมื่อรู้ว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ ๆ แท้จริงแล้ว หรือการกระทำของเขาตรงกับฟัตวาของมุจตะฮิดที่ตนมีหน้าที่ต้องตักลีดตาม หรือตรงกับฟัตวาของมุจตะฮิดที่ปัจจุบันต้องตักลีดตาม หรือการกระทำนั้นตรงหรือใกล้เคียงกับหลักอิฮฺติยาฏของมุจตะฮิดถือว่าถูกต้อง

อะฮฺกามเฏาะฮาเราะฮฺ

น้ำบริสุทธิ์และน้ำผสม

ข้อที่ ๑๕. น้ำบริสุทธิ์หรือน้ำผสม น้ำผสมหมายถึง น้ำที่ได้สะกัดออกมาจากสิ่งอื่น เช่น น้ำผลไม้ น้ำแตงโม หรือน้ำกุหลาบเป็นต้น หรือน้ำที่ผสมกับสิ่งอื่น เช่น น้ำที่ผสมกับดอกไม้หรือสิ่งอื่นถึงขั้นที่ว่าไม่สามารถเรียกน้ำได้อีกต่อไป ส่วนน้ำที่นอกเหนือจากนี้เป็นน้ำบริสุทธิ์ แบ่งออกเป็น ๕ ประเภทกล่าวคือ น้ำกุร น้ำน้อย น้ำไหล น้ำฝน น้ำบ่อ

น้ำที่มีปริมาตรกุร

ข้อที่ ๑๖. น้ำกุรหมายถึง ปริมาณน้ำเมื่อเทใส่ภาชนะที่มีความกว้าง ยาว ลึก ๓.๕ คืบเต็มพอดี หรือปริมาณน้ำที่มีน้ำหนัก ๓๘๓/๙๐๖ กิโลกรัม ถือเป็นอิฮฺติยาฏ แต่ส่วนมากจะให้น้ำหนักเพียง ๓๗๗/๔๑๙ กิโลกรัม

ข้อที่ ๑๗. ถ้านะยิซ เช่น ปัสสาวะ หรือเลือดตกลงในน้ำกุรและทำให้สี กลิ่น และรสของน้ำเปลี่ยนไปน้ำนะยิซ แต่ถ้าไม่เปลี่ยนไม่นะยิซ

ข้อที่่ ๑๘. ถ้ากลิ่นของน้ำกุรเปลี่ยนไปเพราะสาเหตุอื่นที่ใช่นะยิซ ไม่นะยิซ

ข้อที่ ๑๙. ถ้านะยิซ เช่น เลือดตกลงในน้ำที่มีปริมาณมากกว่ากุร และทำให้สี กลิ่น หรือรสอย่างใดอย่างหนึ่งเปลี่ยนไป ซึ่งส่วนที่ไม่ได้เปลี่ยนมีจำนวนน้อยกว่ากุรถือว่าน้ำทั้งหมดนะยิซ แต่ถ้ามีจำนวนเท่ากับกุรหรือมากกว่าเฉพาะส่วนที่สี กลิ่น หรือรสเปลียนแปลงนะยิซ

ข้อที่ ๒๐. น้ำพลุที่เชื่อมต่อกับน้ำกุรสามารถล้างนะยิซได้กรณีที่น้ำพลุได้ผสมกับน้ำนะยิซ แต่ถ้าน้ำพลุหยดลงบนน้ำนะยิซที่ละหยดไม่สามารถล้างนะยิซได้ นอกเสียจากว่านำภาชนะไปกั้นไว้ด้านบนให้น้ำไหลลงมาผสมกับน้ำนะยิซก่อนที่จะกลายเป็นหยดน้า

ข้อที่ ๒๑. ถ้าล้างสิ่งของเปื้อนนะยิซใต้ก๊อกน้ำที่เชื่อมกับน้ำกุร น้ำที่ราดลงบนของสิ่งนั้นถ้าเชื่อมกับน้ำกุร ซึ่งนะยิซไม่ได้ทำให้สี กลิ่น หรือรสของน้ำเปลี่ยนไป ถือว่าสะอาด

ข้อที่ ๒๒. ถ้าน้ำส่วนหนึ่งกลายเป็นน้ำแข็งและน้ำส่วนที่เหลือมีจำนวนไม่ถึงกุร ถ้ามีนะยิซตกลงไปถือว่าน้ำนะยิซ แม้ว่าน้ำแข็งจะละลายกลายเป็นน้ำบ้างแล้วก็ตาม ก็ยังถือว่าน้ำนะยิซ

ข้อที่ ๒๓. น้ำที่เคยมีปริมาณเท่ากับกุรแต่สงสัยว่าได้น้อยกว่ากุรแล้วหรือไม่ ถือว่าเป็นน้ำกุร หมายถึงสามารถล้างสิ่งที่เปื้้อนนะยิซได้ หรือถ้ามีนะนิซตกลงไปในน้ำไม่ถือว่าน้ำนะยิซ แต่น้ำที่มีปริมาณน้อยกว่ากุร ถ้าสงสัยว่ามีปริมาณเป็นน้ำกุรแล้วหรือยัง ไม่ถือว่าเป็นน้ำกุร

ข้อที่่ ๒๔. น้ำกุรสามารถพิสูจน์ได้ ๒ วิธีกล่าวคือ ตนเองเป็นผู้จำแนกน้ำ หรือผู้ชายที่มีความยุติธรรม ๒ คนได้บอก

น้ำน้อย

ข้อที่ ๒๕. น้ำน้อยหมายถึง น้ำที่ไม่ได้ไหลออกจากพื้นดิน หรือน้ำที่มีปริมาณน้อยกว่ากุร

ข้อที่ ๒๖. ถ้านำเอาน้ำน้อยไปราดบนสิ่งของที่เปื้อนนะยิซ หรือมีสิ่งที่เปื้อนนะยิซไปโดน น้ำเป็นนะยิซทันที แต่ถ้าราดน้ำจากด้านบนลงบนสิ่งของที่เปื้อนนะยิซเฉพาะส่วนที่โดนกับสิ่งของนะยิซ แต่น้ำที่อยู่เหนือขึ้นไปไม่นะยิซ เช่นกันถ้าน้ำพลุได้พุ่งจากด้านล่างไปสู่ด้านบน และนะยิซได้ลอยไปด้านบน ถือว่าด้านล่างไม่นะยิซ  แต่ถ้านะยิซได้ตกมาสู่ด้านล่างถือว่าด้านบนนะยิซ

ข้อที่ ๒๗. ถ้าำนำเอาน้ำน้อยไปล้างนะยิซและได้ราดน้ำลงบนนะยิซ น้ำที่กระเด็นออกมานะยิซ น้ำน้อยที่ใช้ล้างนะยิซที่ถูกขจัดนะยิซออกแล้ว ซึ่งได้ราดน้ำลงบนบริเวณดังกล่าวน้ำที่กระเด็นออกมาจำเป็นต้องหลีกเลี่ยง แต่น้ำที่ใช้ล้างช่องทวารหนักหรือเบาจะสะอาดต่อเมื่อมีเงื่อนไข ๕ ประการดังนี้

-          สี กลิ่น หรือรสของน้ำไม่ได้เปลี่ยนแปลงเนื่องจากนะยิซ

-          ไม่มีนะยิซจากภายนอกมาโดนน้ำ

-          นะยิซ เช่น เลือด ปัสสาวะ หรืออุจจาระไม่ได้ไหลออกมา

-          เศษอุจจาระไม่ได้ตกลงในน้ำ

-          บริเวณรอบ ๆ ทวารไม่ได้มีนะยิซกระเด็นเปื้อนมากเกินกว่าปกติ

น้ำไหล

ข้อที่ ๒๘. น้ำไหลหมายถึง น้ำที่ได้ผุดออกจากพื้นดินและไหลอย่างต่อเนื่อง เช่น ตาน้ำ หรือแ่อ่งน้ำ

ข้อที่ ๒๙. น้ำไหลแม้ว่าจะมีปริมาณน้อยกว่ากุร ถ้ามีนะยิซตกลงไปและสี กลิ่น หรือรสของน้ำไม่ได้เปลี่ยนไปเนื่องจากนะยิซ ถือว่าสะอาด

ข้อที่ ๓๐.ถ้ามีนะยิซตกลงไปในน้ำไหล เฉพาะส่วนที่สี กลิ่น หรือรสได้เปลี่ยนไปนะยิซ แต่ส่วนที่เชื่อมกับตาน้ำแม้ว่าจะมีปริมาณน้อยกว่ากุรถือว่าสะอาด น้ำในสถานที่อื่นเช่นกัน เช่น ลำธารหรือคลองถ้ามีปริมาณเท่ากับกุร หรือเนื่องจากน้ำที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงได้เชื่อมกับตาน้ำถือว่าสะอาด แต่ถ้าไม่ถือว่านะยิซ

ข้อที่ ๓๑. ตาน้ำที่ไม่ไหล แต่ถ้าต้กน้ำออกน้ำจะผุดขึ้นเท่าเดิมถือว่าอยู่ในกฏของน้ำไหล หมายถึงถ้ามีนะยิซตกลงไปและสี กลิ่น หรือรสของน้ำไม่ได้เปลี่ยนไปเนื่องจากนะยิซถือว่าสะอาด

ข้อที่ ๓๒. น้ำที่มากันรวมอยู่บริเวณข้าง ๆ แม่น้ำซึ่งเชื่อมกับน้ำไหล ถือว่าอยู่ในกฏของน้ำไหล

ข้อที่ ๓๓. ตาน้ำที่ไหลเฉพาะฤดูหนาวส่วนฤดูร้อนน้ำไม่ไหล เฉพาะช่วงเวลาที่น้ำไหลถือว่าอยู่ในกฏของน้ำไหล

ข้อที่ ๓๔.น้ำในสระที่อยู่ในห้องอาบน้ำแม้ว่ามีปริมาณน้อยกว่ากุร ให้ถือว่าอยู่ในประเภทของน้ำไหล แต่อิฮฺติยาฏวาญิบน้ำในสระนั้นต้องเชื่อมกับบ่อน้ำซึ่งน้ำในบ่อเพียงอย่างเดียว หรือเชื่อมติดกับน้ำในสระอื่นที่มีปริมาณกุร

ข้อที่ ๓๕. น้ำที่ไหลจากก๊อกหรือฝักบัวในห้องอาบน้ำถ้าเชื่อมกับน้ำกุร ถือว่าอยู่ในกฏของน้ำไหล แต่น้ำที่ไหลจากก๊อกน้ำตามอาคารต่าง ๆ ถ้าเชื่อมกับน้ำกุรถือว่าอยู่ในกฏของน้ำกุร

ข้อที่ ๓๖. น้ำที่ไหลผ่านบนพื้นดินซึ่งไม่ได้ออกมาจากพื้้นดินโดยตรง ถ้ามีปริมาณน้อยกว่ากุรและมีนะยิซตกลงไปถือว่านะยิซ แต่ถ้าน้ำได้ไหลจากด้านบนลงมาและนะยิซได้ไหลตามไปสู่ด้านล่าง น้ำด้านบนไม่นะยิซ

น้ำฝน

ข้อที่ ๓๗. ถ้าฝนตกลงสิ่งของที่เปื้อนนะยิซที่ไม่มีนะยิซติดอยู่เพียงครั้งเดียว บริเวณที่โดนน้ำฝนถือว่าสะอาด ถ้าเป็นพรม เสื้อผ้า หรือสิ่งที่คล้ายคลึงกันไม่จำเป็นต้องบิด แต่ถ้าฝนตกเพียงเล็กน้อยถือว่าไม่เป็นประโยชน์ ทว่าฝนต้องตกถึงขั้นที่กล่าวได้ว่าฝนกำลังตก

ข้อที่ ๓๘. ถ้าฝนตกลงบนนะยิซและได้กระเด็นหรือไหลไปบริเวณอื่น ถ้าไม่มีนะยิซไหลร่วมปนไปหรือสี กลิ่น รสไม่ได้เปลี่ยนไปเนื่องจากนะยิซถือว่าสะอาด ฉะนั้น ถ้าฝนตกลงบนเลือดและได้ไหลไปบริเวณอื่น ถ้ามีเศษเลือดไหลร่วมปนไปหรือสี กลิ่น รสอย่างใดอย่างหนึ่งได้เปลี่ยนไปถือว่านะยิซ

ข้อที่ ๓๙. ถ้าบนหลังคาตึกหรืออาคารมีนะยิซติดอยู่ ขณะที่ฝนกำลังตกน้ำฝนได้ไหลไปโดนนะยิซและไหลลงมาตามตามหลังคาหรือรางน้ำถือว่าสะอาด แต่ถ้าฝนหยุดตกและน้ำที่ไหลลงมาถ้ามั่นใจว่าไหลผ่านนะยิซถือว่านะยิซ

ข้อที่ ๔๐. พื้นดินที่เปื้อนนะยิซถ้ามีฝนตกลงมาถือว่าสะอาด หรือน้ำฝนได้ไหลไปบนพื้นดินผ่านบริเวณนะยิซที่อยู่ภายใต้หลังคา ถือว่าสะอาดเช่นกัน

ข้อที ๔๑. ดินที่เปื้อนนะยิซได้กลายเป็นโคนเนื่องจากฝนตกและน้ำฝนได้ไหลท่วมดิน ถือว่าสะอาด แต่ถ้าเฉพาะความชื้นได้ไปโดนถือว่าไม่สะอาด

ข้อที่ ๔๒. เมื่อใดก็ตามที่น้ำฝนได้ไหลมารวมกันแม้ว่าจะมีปริมาณน้อยกว่ากุร ขณะที่ฝนกำลังตกได้นำสิ่งที่เปื้อนนะยิซไปล้างในนั้น ถ้าสี กลิ่น หรือรสไม่ได้เปลี่ยนไปถือว่าสิ่งนั้นสะอาด

ข้อที่ ๔๓. ถ้าน้ำพรมไปปูบนพื้นที่เปื้อนนะยิซ และฝนได้ตกลงมาทำให้นะยิซไหลไปบนพื้นดิน ถือว่าพรมไม่นะยิซและพื้นดินก็สะอาดตามไปด้วย

น้ำบ่อ

ข้อที่ ๔๔. น้ำบ่อที่ไหลออกจากพื้นดินแม้ว่าจะมีปริมาณน้อยกว่ากุร ถ้ามีนะยิซตกลงไปตราบที่สี กลิ่น หรือรสไม่ได้เปลี่ยนไปเนื่องจากนะยิซ ถือว่าสะอาด แต่มุซตะฮับหลังจากนะยิซบางประเภทตกลงไปให้ตักน้ำในบ่อทิ้งจำนวนหนึ่งตามประเภทของนะยิซ

ข้อที่ ๔๕. ถ้านำนะยิซไปเทใส่บ่อและสี กลิ่น หรือรสของน้ำได้เปลี่ยนไปซึ่งทำให้น้ำทั้งบ่อเปลี่ยนแปลง และน้ำจะสะอาดอีกครั้งหนึ่งเมื่อน้ำที่ผุดขึ้นมาใหม่ได้ผสมกับน้ำในบ่อ

ข้อที่ ๔๖. ถ้าน้ำฝนหรือน้ำอย่างอื่นได้ไหลมารวมกันในแอ่ง ซึ่งมีปริมาณน้อยกว่ากุร หลังจากฝนได้หยุดตกถ้ามีนะยิซตกลงไปถือว่านะยิซ