Index |
อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า
فَأَقِمْ وَجْهَكَ لِلدِّينِ حَنِيفًا فِطْرَةَ اللَّهِ الَّتِي فَطَرَ النَّاسَ عَلَيْهَا لَا تَبْدِيلَ لِخَلْقِ اللَّهِ ذَلِكَ الدِّينُ الْقَيِّمُ وَلَكِنَّ أَكْثَرَ النَّاسِ لَا يَعْلَمُونَ
ดังนั้น เจ้าจงผินหน้าของเจ้าสู่ศาสนาที่เที่ยงธรรมเถิด เป็นธรรมชาติของอัลลอฮฺที่พระองค์ทรงบันดาลมนุษย์มาบนนั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในการบันดาลของอัลลอฮฺ นั่นคือศาสนาที่เที่ยงธรรม แต่มนุษย์ส่วนมากไม่รู้ (รูม / ๓๐)
คำว่า ดีน ตามหลักการหมายถึงความรู้โดยรวม กฏเกณฑ์ และคำสั่งต่าง ๆ ที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงกำหนดขึ้นมาและให้ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เป็นผู้ประกาศสั่งสอน เพื่อการชี้นำมนุษย์และนำพาสังคมไปสู่ความผาสุก กฏเกณฑ์ดังกล่าวประกอบด้วย ๓ ประเด็นหลักดังต่อไปนี้
๑. หลักการศรัทธา
๒. หลักจริยศาสตร์
๓. หลักการปฏิบัติ
ประเด็นที่จะอธิบายตรงนี้คือหลักการศรัทธา แต่ก่อนที่จะเข้าไปสู่เนื้อหาสาระจำเป็นต้องกล่าวถึงประโยชน์และความจำเป็นของการมีศาสนาโดยสังเขปเสียก่อน
มนุษย์บนโลกนี้ไม่ได้ถูกสร้างมาอย่างไร้จุดมุ่งหมายเนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ผู้ทรงรอบรู้ยิ่งมิอาจกระทำในสิ่งที่ไม่มีประโยชน์หรือไร้เป้าหมายได้ โองการอัล-กุรอานและริวายะฮฺจำนวนมากมายได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างมนุษย์ไว้ว่า พระองค์ประสงค์ให้มนุษย์มีความสมบูรณ์ มีความประเสริฐทางด้านจิตวิญญาณ และพัฒนาตนไปสู่ตำแหน่งที่สูงส่ง แน่นอนมนุษย์จะไม่มีวันไปถึงยังเป้าหมายที่สูงส่งได้อย่างเด็ดขาด ถ้าปราศจากการวางแผนที่ละเอียดอ่อน ขาดการปฏิบัติและปราศจากกฏเกณฑ์ ฉะนั้น การไปถึงยังตำแหน่งที่สูงส่งจำเป็นอย่างยิ่งต้องอาศัยกฏเกณฑ์และหลักการปฏิบัติที่ชัดเจน ซึ่งสามารถปกป้องสิทธิทั้งส่วนตัวและสังคมส่วนรวมได้ อีกทั้งเป็นการสนับสนุนให้เกิดความสงบสุขและเสรีภาพ พร้อมทั้งนำเสนอและแสดงแนวทางที่นำไปสู่ความสมบูรณ์ กิจกรรมที่ก่อให้เกิดความสมบูรณ์ทางจิตวิญญาณและความผาสุกต่าง ๆ แก่เขา
เป็นที่ชัดเจนว่าแนวทางที่สมบูรณ์เช่นนี้สติปัญญาของมนุษย์ที่อยู่ในขอบเขตจำกัด และความคิดที่ยังมีความบกพร่องไม่อาจทำให้สำเร็จได้ เนื่องจากมนุษย์มีความต้องการในรูปแบบต่าง ๆ อีกมากมายเช่น มนุษย์ต้องการพระผู้สร้างตนแต่มนุษย์ไม่รู้จักพระองค์ มนุษย์ไม่รู้จักแนวทางที่จะนำพาไปสู่เป้าหมาย ไม่รู้จักสิ่งที่จะทำให้มนุษย์พบกับความผาสุกทั้งโลกนี้และโลกหน้า แต่ทว่ามนุษย์ส่วนมากรู้ว่าความจำเริญและความผาสุกที่แท้จริงอยู่ที่การขวนขวายให้ได้มาซึ่งความปรารถนาทางวัตถุและผลประโยชน์ทางโลก โดยหลงลืมความต้องการทางด้านจิตวิญญาณและปรโลกหน้า และที่เลวร้ายไปกว่านั้นมนุษย์ได้เลือกและถือว่าผลประโยชน์และเครือญาติของตนใหญ่กว่าผลประโยชน์ของคนอื่น มนุษย์จึงทำทุกอย่างเพื่อให้สมใจปรารถนา
สรุปได้ว่าความสุขที่แท้จริงของมนุษย์ทั้งโลกนี้และโลกหน้า ขึ้นอยู่กับความศรัทธาที่ถูกต้องมั่นคง และการปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ที่อิสลามได้กำหนดไว้ พร้อมทั้งนำเอาหลักการเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันทั้งที่เป็นหน้าที่ส่วนตัวและสังคม ด้วยเหตุนี้ มนุษย์จึงไม่สามารถปฏิเสธความจำเป็นของการมีศาสนาได้
ประโชน์ของการมีศาสนาสามารถแบ่งออกเป็น ๒ ประการดังนี้
๑. ประโยชน์ต่าง ๆ สำหรับมนุษย์ที่เป็นส่วนตัว
๒. ประโยชน์ต่าง ๆ สำหรับมนุษย์ที่เป็นส่วนรวม
ประโยชน์ส่วนตัวของการมีศาสนานั้นมีอยู่มากมาย ซึ่งประเด็นหลักเป็นที่ชัดเจนไม่มีความคลางแคลงในแต่อย่างใด แต่จะขอยกตัวอย่างสัก ๓ ประการ ดังนี้
๑. ทำให้จิตใจสงบมั่น
๒. ทำให้จิตวิญญาณมีความมั่นคงแข็งแรง
๓. ปกป้องบุคลิกภาพของตน
อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า
الَّذِينَ آمَنُواْ وَتَطْمَئِنُّ قُلُوبُهُم بِذِكْرِ اللّهِ أَلاَ بِذِكْرِ اللّهِ تَطْمَئِنُّ الْقُلُوبُ
บรรดาผู้ศรัทธา และจิตใจของพวกเขาสงบด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮฺ พึงสังวรเถิดว่าการรำลึกถึงอัลลอฮฺเท่านั้นที่ทำให้จิตใจสงบ (อัรเราะอฺดุ / ๒๘)
ประโยชน์สำคัญประการหนึ่งของการมีศาสนาสำหรับทุกคนคือ การได้รู้จักพระผู้เป็นเจ้า มีความศรัทธามั่นต่อพระองค์ซึ่งพระองค์คือแก่นแท้ที่มั่นคงไม่มีการเปลี่ยนแปลง พระองค์คือแหล่งกำเนิดของทุกสรรพสิ่ง และพระองค์คือผู้ให้ความโปรดปรานแก่สรรพสิ่งเหล่านั้น การมีชีวิต เกียรติยศ และการมีความสุขล้วนอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ ด้วยเหตุนี้ จิตใจของผู้ศรัทธาจึงสงบมั่น มีสติ มีความพึงพอใจ ไม่หวั่นเกรงและมีความอดทน แน่นอนผู้ที่มีพระผู้เป็นเจ้าอยู่ในใจเขาย่อมมีทุกสิ่ง เมื่อจิตรำลึกถึงพระองค์ย่อมไม่มีความกลัวความสูญสิ้น หรือวิตกกังวลต่อเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นและเป็นไป
ศาสนาสามารถเปลี่ยนแปลงมนุษย์ให้ทีความมั่นใจ มีความเด็ดเดี่ยวในการตัดสินใจและสามารถควบคุมอารมณ์ปรารถนาของตนได้ อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสถึงครอบครัวของท่านอิมามอะลี (อ.) ว่่า
يُوفُونَ بِالنَّذْرِ وَيَخَافُونَ يَوْمًا كَانَ شَرُّهُ مُسْتَطِيرًا وَيُطْعِمُونَ الطَّعَامَ عَلَى حُبِّهِ مِسْكِينًا وَيَتِيمًا وَأَسِيرًا إِنَّمَا نُطْعِمُكُمْ لِوَجْهِ اللَّهِ لَا نُرِيدُ مِنكُمْ جَزَاءً وَلَا شُكُورًا
พวกเขาปฏิบัติตามคำบนบาน และกลัววันหนึ่งซึ่งโทษทัณฑ์และความชั่วร้ายของมันจะกระจายไปทั่ว และพวกเขาให้อาหารเนื่องด้วยความรักต่อพระองค์แก่คนยากจน เด็กกำพร้าและเชลยศึก (พวกเขากล่าวว่า) อันที่จริงเราให้อาหารแก่พวกท่าน โดยความบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮฺ เรามิได้ปรารถนาผลตอบแทนและการขอบคุณใด ๆ จากพวกท่าน (อินซาน / ๗-๙)
แน่นอนคุณลักษณะเหล่านี้จะเกิดบนจิตใจของผู้ที่มีความศรัทธามั่นคง และเชื่อในพลานุภาพที่ไม่สูญสิ้นของพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น ในทางตรงกันข้ามถ้าเป็นผู้ที่มีจิตใจอ่อนแอคุณลักษณะเหล่านี้จะไม่ปรากฏบนจิตใจของพวกเขาเด็ดขาด จิตใจที่เข็มแข็งที่มีความผูกพันกับพระผู้เป็นเจ้าสามารถกล่าวได้ว่า ถ้าเอาพระอาทิตย์วางไว้ในมือขว และเอาพระจันทร์วางไว้ในมือซ้ายเขาก็จะไม่เบี่ยงเบนจิตใจออกจากแนวทางและเป้าหมายที่มีความสูงส่งอย่างแน่นอน
ประโยชน์ประการที่สามคือ การปกป้องบุคลิกภาพ การดูแลและควบคุมมนุษย์ให้ออกห่างจากคุณลักษะที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียและการทำลายล้าง ศาสนาสามารถปกป้องผู้ที่มีความศรัทธาต่อการเริ่มต้น และการสิ้นสุดจากความเสียหาย บาปกรรม การริดรอนสิทธิของผู้อื่น และการกดขี่ข่มเหง
ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า ถ้าหากฉันต้องนอนบนต้นไม้ที่มีหนามแหลมคมในเวลากลางคืนและตื่นตลอดทั้งคืน หรือถูกกระชากด้วยโซ่ตรวนที่คล้องคออยู่นั้น สำหรับฉันแล้วยังดีกว่าการได้พบกับอัลลอฮฺและศาสดาของพระองค์ในวันกิยามะฮฺ ในสภาพของผู้กดขี่ปวงบ่าว ผู้ฉ้อฉลทรัพย์สินบางสิ่งบนโลก ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า ถ้าหากพระองค์ประทานสวรรค์ทั้งเจ็ดแก่ฉัน และทุกสิ่งที่อยู่ภายใต้ฟากฟ้าเพียงเพื่อให้ฉันขัดคำสั่งและแย่งเปลือกข้าวบาร์เล่จากปากมดฉันจะไม่ทำอย่างเด็ดขาด (นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ ซุบฮิ ซอลิฮฺ คุฏบะฮฺที่ ๒๒๔)
ด้วยเหตุนี้จะเห็นว่าศาสนาได้ทำให้มนุษย์สนใจต่อพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งผลที่ได้รับคือทำให้เขาเป็นผู้มีจิตใจสงบสุข จิตวิญญาณมีความเข็มแข็งและปกป้องเขาให้รอดพ้นจากสิ่งเลวร้ายทั้งหลาย
ถ้าหากมนุษย์เชื่อมั่นต่อศาสนาที่มีความถูกต้อง และใช้ประโยชน์อย่างดีที่สุดจากศาสนานั้น ความสุขที่เขามุ่งหวังเขาก็จะได้รับด้วยความสิริมงคลของศาสนา เนื่องจากศาสนาได้ให้ประโยชน์ทั้งด้านวัตถุและจิตใจ ศาสนาทำให้มนุษย์มีความเชื่อมั่นในตัวเอง เป็นคนมีจิตใจเข็มแข็ง มีความสงบ และเป้นผู้มีจิตใจสูงส่ง และศาสนายังได้ปกป้องให้มนุษย์รอดพ้นจากสิ่งเลวร้ายทั้งหลาย ซึ่งผลสุดท้ายทำให้เขาเป็นคนมีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง ทรัพย์สินที่หามาได้ถูกเก็บรักษาอย่างดี ชีวิตมีแต่ความราบรื่น มีชื่อเสียง และบั้นปลายสุดท้ายชีิวิตจะมีแต่ความสุข อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า
مَنْ عَمِلَ صَالِحًا مِّن ذَكَرٍ أَوْ أُنثَى وَهُوَ مُؤْمِنٌ فَلَنُحْيِيَنَّهُ حَيَاةً طَيِّبَةً وَلَنَجْزِيَنَّهُمْ أَجْرَهُم بِأَحْسَنِ مَا كَانُواْ يَعْمَلُونَ
ผู้ใดปฏิบัติความดีไม่ว่าจะเป็นบุรุษหรือสตรีโดยที่เขาเป็นผู้ศรัทธา ดังนั้น เราจะให้เขามีการดำรงชีวิตอย่างดี และแน่นอนเราจะตอบแทนพวกเขาอันเป็นรางวัลของพวกเขา เนื่องจากความดีงามที่พวกเขาได้กระทำไว้ (อัน นะฮฺลิ / ๙๗)
มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่รวมกันมีส่วนร่วมรับผิดชอบในผลกำำไร การขาดทุน เกียรติยศ ความไร้เกียรติ ชีิวิต และความตาย มนุษย์มีแนวความคิดและความรู้สึกคล้ายกันจึงได้จัดตั้งสังคมขึ้นมา
สังคมที่ดีเปรียบเสมือนเรือนร่างของมนุษย์คนหนึ่ง ซึ่งวางอยู่บนเงื่อนไขส่วนบุคคล สังคมที่ดีต้องวางอยู่บนหลักการ ๓ ประการซึ่งถือว่าเป็นแก่นทีมีความสำคัญจึงจะทำให้สังคมมีความสมบูรณ์ มีความมั่นคง มีความสงบสุขและสามารถดำรงสืบต่อไปได้ และที่สำคัญเป็นประโยชน์ที่สุดสำหรับสมาชิกในสังคม
ซึ่งหลักการ ๓ ประการอันเป็นพื้นฐานสำคัญของสังคมได้แก่
๑. ความรักที่เป็นหนึ่งเีดียวกัน เอกภาพ และการมีความรู้สึกร่วมระหว่างสมาชิกในสังคม
๒. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ชั่วร้ายและการเอาเปรียบคนอื่น
๓. ช่วยเหลือซึ่งกันและกันและยืนหยัดอยู่บนความถุกต้อง
ประการที่ ๑. ประโยชน์สำคัญของศาสนาที่มีต่อสังคมคือ สร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ความเป้นพี่น้อง และเอกภาำพในสังคม และศาสนายังมีบทบาทสำคัญที่สุดในการประสานดวงใจให้เป็นหนึ่งเดียวกัน อัล-กุรอานกล่าวว่า
وَاعْتَصِمُواْ بِحَبْلِ اللّهِ جَمِيعًا وَلاَ تَفَرَّقُواْ وَاذْكُرُواْ نِعْمَةَ اللّهِ عَلَيْكُمْ إِذْ كُنتُمْ أَعْدَاءً فَأَلَّفَ بَيْنَ قُلُوبِكُمْ فَأَصْبَحْتُم بِنِعْمَتِهِ إِخْوَانًا
และพวกเจ้าจงยึดสายเชือกของอัลลอฮฺโดยพร้อมกัน จงอย่าแตกแยกกันและจงรำลึกถึงความโปรดปรานของอัลลอฮฺที่มีต่อพวกเจ้า ขณะที่พวกเจ้าเป็นศัตรูกันพระองค์ได้ทรงประสานระหว่างหัวใจของพวกเจ้า แล้วพวกเจ้าก็กลายเป็นพี่น้องกันด้วยความโปรดปรานของพระองค์ (อาลิอิมรอน / ๑๐๓)
ประการที่ ๒. ศาสนาเป็นตัวป้องกันพฤติกรรมที่ไม่ดีและการเอาเปรียบที่เกิดสังคม หรืออย่างน้อยที่สุดได้ลดพฤติกรรมที่เลวร้ายเหล่านั้นลงไป ศาสนาได้ขจัดเจตนารมณ์ที่ไม่ดีอันเป็นบ่อเกิดของความเลวร้ายในสังคมให้หมดไป ศาสนาเป็นโซ่ตรวนที่คอยผูกมัดมือและเท้าที่เป็นความชั่วร้ายที่ซ่อนอยู่ในใจของมนุษย์ โดยมุ่งมั่นส่งเสริมให้มนุษย์กระทำความผิด ศาสนาเป็นอุปสรรคขว้างกั้นและยับยั้งไม่ให้มนุษย์ชักชวน หรือบีบบังคับให้คนอื่นทำความผิด หรือทำบาประหว่างมนุษย์ด้วยกัน และศาสนายังได้สนับสนุนให้มีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีทางครอบครัว อัล-กุรอานกล่าวว่า
اِنَّ اللّهَ يَأْمُرُ بِالْعَدْلِ وَالإِحْسَانِ وَإِيتَاءِ ذِي الْقُرْبَى وَيَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنكَرِ وَالْبَغْيِ يَعِظُكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ
แท้จริงอัลลอฮฺทรงบัญชาให้มีความยุติธรรม มีคุณธรรม และช่วยเหลือเกื้อกูลแก่ญาติสนิทและให้ละเว้นการทำลามกอนาจารและการอธรรม พระองค์ทรงเตือนพวกเจ้าเพื่อพวกเจ้าจะได้สำนึก (อัน นะฮฺลิ / ๙๐)
ประการที่ ๓. ศาสนาสนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนช่วยเหลือกันและกันในกิจการงาน การสร้างความดี มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีความสามัคคีและร่วมมือกันป้องกันไม่ให้สังคมทำบาป ห้ามไม่ให้สร้างความขัดแย้งและการเป็นศัตรูกัน ช่วยเหลือกันให้รอดพ้นการลงโทษในวันแห่งการตัดสิน อัล-กุรอานกล่าวว่า
وَتَعَاوَنُواْ عَلَى الْبرِّ وَالتَّقْوَى وَلاَ تَعَاوَنُواْ عَلَى الإِثْمِ وَالْعُدْوَانِ وَاتَّقُواْ اللّهَ إِنَّ اللّهَ شَدِيدُ الْعِقَابِ
และพวกจงช่วยเหลือกันในคุณธรรมและความยำเกรง แต่จงอย่าช่วยกันในเรื่องบาป และการเป็นศัตรูต่อกัน พวกเจ้าจงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด แท้จริงอัลลอฮฺทรงลงโทษอย่างรุนแรง (มาอิดะฮฺ /๒)
สรุปได้ว่าศาสนาพร้อมกฏระเบียบที่กำหนดขึ้นพร้อมกับมนุษย์ได้สร้างสังคมให้เกิดขึ้น ซึ่งจิตวิญญาณที่แท้จริงของสังคมคือความดีสัมบูรณ์ หรืออีกนัยหนึ่งโครงสร้างที่มั่นคงแข็งแรงของศาสนานั่นเองที่ทำให้มนุษย์พบกับความสมบูรณ์ มีความเจริญก้าวหน้าและทำให้สมาชิกในสังคมพบกับความสุขถาวรทั้งโลกนี้และโลกหน้า อินชาอัลลอฮฺ
จากคำอธิบายที่ผ่านมาทำให้ทราบถึงความหมาย ความจำเป็น และประโยชน์โดยสังเขปของศาสนาแล้วลำดับต่อไปจะกล่าวถึงประเด็นหลักสำคัญ ๓ ประการของศาสนาคือ หลักความศรัทธา จริยศาสตร์ และหลักการปฏิบัติ ซึ่งสิ่งที่จะอธิบายตรงนี้คือหลักความศรัทธาแต่ก่อนที่จะเข้าไปสู่ประเด็นดังกล่าว จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องกล่าวถึงประเด็นต่อไปนี้เสียก่อน
ดังที่กล่าวไว้ตั้งแต่แรกในหนังริซาละฮฺเตาฎีฮุลมะซาอิล (ตำราว่าด้วยหลักการปฏิบัติ) ว่ามุสลิมทุกคนต้องเชื่อมั่นไม่สงสัยต่อหลักศรัทธา อันเป็นความเชื่อที่เกิดจากสติปัญญาของตนไม่ใช่เชื่อหรือปฏิบัติตามคนอื่น (ตักลีด) ฉะนั้น ด้วยการตัดสินของสติปัญญา โองการ และริวายะฮฺที่เชื่อถือได้บ่งบอกว่าเป็นวาญิบสำหรับมุสลิมทุกคนที่ต้องเชื่อมั่นไม่สงสัยต่อหลักศรัทธา แต่ถ้ามุสลิมคนใดไม่ให้ความสำคัญต่อสิ่งนี้เขาจะต้องถูกลงโทษอย่างแน่นอน
แต่สิ่งที่จะลืมกล่าวเสียไม่ได้ก็คือ การได้มาซึ่งความเชื่อมั่นบนหลักการของศาสนาไม่ว่าจะได้มาด้วยเหตุผล หรือวิธีการใดก็ตามถือว่าเพียงพอ ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่ที่มีความเชื่อต่อหลักการของศาสนา เนื่องจากได้รับการถ่ายทอดมาจากอุละมาอฺ (ผู้รู้) หรือนักเผยแผ่ หรือได้เรียนรู้กับครูบาอาจารย์ หรือบางคนได้รับการถ่ายถอดโดยตรงจากบิดามารดา ซึ่งคำพูดของคนเหล่านั้นได้สร้างความมั่นใจโดยไม่ได้คิดถึงความผิดพลาด หรือไม่ได้คิดว่าเป็นคำพูดโกหก ความเชื่อเช่นนี้ถือว่าเพียงพอเช่นกัน แม้ว่าตนจะไม่สามารถอ้างเหตุผลหรือตอบข้อสงสัยได้ก็ตาม
บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายอิสลามได้กล่าวว่า การตักลีด เป็นเรื่องของอะฮฺกามซึ่งจัดอยู่ในเรื่องของหลักการปฏิบัติไม่ใช่หลักการศรัทธา ดังนั้น เรื่องการตักลีดจึงไม่เกี่ยวข้องกับหลักการศรัทธาแต่อย่างไร บรรดาผู้เชี่ยวชาญฏหมายอิสลามได้ให้คำจำกัดความคำว่า ตักลีด หมายถึงการปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของมุจตะฮิด (ผู้เชี่ยวชาญกฏหมายอิสลาม) โดยไม่ีคำถามว่าทำไม เพื่ออะไร แม้ว่าตนยังไม่ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเรื่องนั้นก็ตาม ขณะที่โองการต่าง ๆ และริวายะฮฺอีกจำนวนมากมายได้บ่งบอกว่าเรื่องหลักการศรัทธา จำเป็นต้องเกิดจากความเชื่อมั่น ซึ่งอีมานหรือความเชื่อมั่น ณ ที่นี้หมายถึงความเชื่อมั่นไม่สงสัยของจิตใจ หรือพลังความเชื่อที่เกิดภายในจิตใจ ซึ่งจะเห็นว่าความหมายนี้ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องการตักลีดแม้แต่นิดเดียว
อีกนัยหนึ่งสามารถกล่าวได้ว่าสิ่งที่ทำให้มนุษย์พบกับความสุขที่แท้จริงทั้งในโลกนี้และโลกหน้า หรือสิ่งทีช่วยให้มนุษย์รอดพ้นการลงโทษคือ ความเชื่อมั่นของจิตใจหรือความศรัทธานั้นเอง ขณะเดียวกันสิ่งที่ทำให้มนุษย์ได้รับประโยชน์สมบูรณ์จากศาสนาคือความเชื่อมั่นของจิตด้านใน ซึ่งในความหมายนี้ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับหลักการตักลีดแต่อย่างไร ด้วยเหตุนี้ การตักลีดจึงหมายถึงการปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของมุจตะฮิดเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีคำถามหรือเหตุผลแต่อย่างใด
สิ่งจำเป็นต้องกล่าวอีกประการหนึ่งคือ ความรู้และความเชื่อมั่นต่อหลักการศรัทธาเป็นความประเสริฐของจิตวิญญาณ การรู้จักและความศรัทธาที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้า ถือว่าเป็นคุณลักษณะที่สมบูรณ์ของเขา การรู้จักเหตุผลของพระผู้เป็นเจ้าเป็นสื่อที่นำไปสู่ความสงบมั่น การค้นหาความรู้และความเชื่อมั่นเกี่ยวกับมะอาดและการย้อนกลับคืนสู่พระองค์คือความสมาบูรณ์ของมนุษย์ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้จิตวิญญาณออกห่างจากความต่ำทรามและความโง่เขลา ดังนั้น โดยเหตุผลของสติปัญญาทำให้เราสามารถยอมรับสิ่งที่กล่าวมาได้อย่างสมบูรณ์
อัล-กุรอานกล่าวว่า
أَفِي اللّهِ شَكٌّ فَاطِرِ السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضِ
มีการสงสัยในอัลลอฮฺ พระผู้สร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินกระนั้นหรือ (อิบรอฮีม / ๑๐)
ความรู้และการยอมรับนในการมีอยู่ของพรระผู้เป็นเจ้าเป็นที่ประจักษ์ชัดเจน ขณะที่บรรดาผู้ปฏิเสธทั้งหลายต่างก็ยอมรับว่่าอัลลอฮฺคือพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก อัล-กุรอานกล่าวว่า
وَلَئِن سَأَلْتَهُم مَّنْ خَلَقَ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضَ وَسَخَّرَ الشَّمْسَ وَالْقَمَرَ لَيَقُولُنَّ اللَّهُ فَأَنَّى يُؤْفَكُونَ
และถ้าเจ้าถามพวกเขา่ว่า ใครเป็นผู้สร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน และเป็นผู้ทำให้ดวงตะวันและดวงเดือนเป็นประโยชน์ แน่นอนพวกเขาจะกล่าวว่าอัลลอฮฺ แล้วทำไมพวกเขาจึงหันเหออกไปทางอื่น (อังกะบูต / ๖๑)
ที่มาของคำสารภาพและการยอมรับว่าอัลลอฮฺ (ซบ.) คือพระผู้สร้างคือ พลังความรู้และความเข้าใจที่เป็นธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์ ที่พระองค์ทรงใส่ไว้ในมนุษย์ทุกคน ดังที่อัล-กุรอานกล่าวว่า
فَأَقِمْ وَجْهَكَ لِلدِّينِ حَنِيفًا فِطْرَةَ اللَّهِ الَّتِي فَطَرَ النَّاسَ عَلَيْهَا لَا تَبْدِيلَ لِخَلْقِ اللَّهِ ذَلِكَ الدِّينُ الْقَيِّمُ وَلَكِنَّ أَكْثَرَ النَّاسِ لَا يَعْلَمُونَ
ดังนั้น เจ้าจงผินหน้าของเจ้าสู่ศาสนาที่เที่ยงธรรมเถิด เป็นธรรมชาติของอัลลอฮฺที่พระองค์ทรงบันดาลมนุษย์มาบนนั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในการบันดาลของอัลลอฮฺ นั่นคือศาสนาที่เที่ยงธรรม แต่มนุษย์ส่วนมากไม่รู้ (รูม / ๓๐)
แน่นอนพระผู้เป็นเจ้าทรงประทานธรรมชาติดั้งเดิมนี้ไว้ในมนุษย์ทุกคน ดังนั้น โดยพื้นฐานของมนุษย์และตัวตนของเขาจึงมีความรู้สึกว่าเขาไม่ได้เกิดขึ้นเองและอยู่ตามลำพัง ทว่าเขาได้สัมพันธ์ไปยังศูนย์พลังหนึ่งที่เป็นต้นกำเนิดของทุกสรรพสิ่ง และเป็นผู้ดูแลพร้อมทั้งให้การช่วยเหลือ คอยระมัดระวังการคิดและการกระทำ แหล่งกำเนิดนั้นเป้นผู้ควบคุมโลกและจักรวาและสรรพสิ่งทั้งหลายล้วนขึ้นอยู่กับพระองค์ ซึ่งเราเรียกสิ่งนั้นว่าพระผู้เป็นเจ้าพระผู้สร้างและมีอำนาจเหนือทุกสรรพสิ่ง
บรรดานักวิชาการต่างยอมรับว่า สรรพสิ่งทั้งหลายบนโลกนี้อยู่ภายใต้กฏเกณฑ์และระเบียบต่าง ๆ และจากระบบระเบียบเหล่านั้นเองทำให้มวลสรรพสิ่งต่างได้รับประโยชน์ ตั้งแต่ประโยชน์ที่เล็กที่สุด เช่น อากาศที่ใช้หายใจ น้ำที่ใช้ดื่ม พืชพันธุ์ที่ใช้เป็นอาหาร และการได้รับประโยชน์จากพลังแสงอาทิตย์เป็นต้น นักวิชาการเหล่านั้นต่างยอมรับว่าสรรพสิ่งทั้งหลายบนโลกนี้กำเนิดมาจากแห่ลงเดียวกัน และอยู่ภายใต้กฏระเบียบเดียวกัน ธรรมชาติของมนุษย์ได้อธิบายว่าเมื่อมนุษย์ประสบความเดือดร้อน หรือมีความต้องการมนุษย์จะขอความช่วยเหลือไปยังสิ่งนั้น และเมื่อประสบปัญหาหรือภยันตรายมนุษย์จะขอความคุ้มครองจากพระองค์ และเมื่อได้รับความโปรดปรานมนุษย์ก็จะขอบคุณ แน่นอนความความเข้าใจและความรู้สึกเหล่านี้ไม่เกี่ยวข้องกับความอ่่อนแอและความโง่เขลา เพราะไม่ว่ามนุษย์จะเป็นใครก็ตามถ้าหากเขาได้ละทิ้งความรู้ ความเชื่อทางศาสนา ความเคยชิน และประเพณีต่าง ๆ และสมมุติว่าตนเป็นสรรพสิ่งหนึ่งที่เพิ่งจะเกิดขึ้นมาในตอนนั้น ไม่เคยเห็นใคร ไม่เคยได้ยินคำพูดใดมาก่อน ตอนนั้นลองพิจาณาตัวเองและโลก ดุูซิว่าเราจะเห็นอะไร
มนุษย์จะเห็นตัวเองว่ามีดวงตา มีหู มีสติปัญญา มีความเข้าใจและเป็นสิ่งหนึ่งที่อยู่บนโลกที่มีความกว้างใหญ่ไพศาล และเมื่อมองไปรอบ ๆ ตัวเองเขาก็จะไม่เห็นความสิ้นสุดของโลก แ่ต่จะเห็นว่าโลกนี้ช่างกว้างใหญ่เสียเหลือเกินเมือเทียบกับตัวเอง เมื่อก้มดูพื้นดินใต้ฝ่าเท้าก็ยิ่งพบความอัศจรรย์ต่าง ๆ มากมาย เมื่อแหงนดูท้องฟ้าก็จะเห็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ไกลแสนไกล เราได้มายืนอยู่บนโลกนี้ได้เห็นการหมุนและการโคจรรอบตัวเอง ได้เห็นดวงตะวันและดวงเดือนขึ้นและตก ได้เห็นการเปลี่ยนของกลางวันและกลางคืนอย่างต่อเนื่อง ได้เห้นการหมุนเวียนของเดือนและฤดูกาลต่าง ๆ อย่างเป็นระเบียบ เมื่อความมืดแห่งราตรีกาลได้ครอบงำเราก็จะเห็นดวงหมู่ดวงดาวส่งแสงระยิบระยับเต็มท้องฟ้า เราได้เห็นพืชพันธุ์และต้นไม้ขึ้นอยู่เต็มพื้นดิน ซึ่งต้นไม้บางประเภทมีเมล็ดเล็กเพียงนิดเดียวซึ่งในตอนแรกเล็กกว่าปลายนิ้วเสียอีก ต่อมาเมล็ดนั้นได้งอกเป็นต้นไม้มีกิ่งก้านสาขา ผลิดอกออกใบเป็นสีสันต่าง ๆ สวยงาม และให้ผลที่มีรสชาติแตกต่างกันออกไป เมื่อมองดูสรรพสัตว์จะเห็นว่ามีมากมายหลายพันธ์ทั้งเล็กและใหญ่ มีทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำแตกต่างกันออกไป เราได้เห็นสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นเกิดขึ้นมีชีวิต และตายจากไปเป็นวัฏจักรที่หมุนเวียนอยู่เป็นเวลานาน เราได้เห็นวิถีชีวิตทั้งของพืช สัตว์ และมนุษย์
เราได้พบความยิ่งใหญ่และความพิศวงในการสร้างตัวเองทั้งโครงร่าง กระดูก เส้นเลือดทั้งเล็กใหญ่ทั่วร่างกาย ความประหลาดของกระโหลกศีรษะ ตา หู ใบหน้า ระบบขับถ่าย ระบบการหมุนเวียนของโลหิต การเ้ต้นของหัวใจ ลักษณะของนิ้วมือ และลายนิ้วมือ ขั้นตอนการจัดวางอวัยวะต่าง ๆ การย่อยของอาหาร และวัตถุดิบที่ใช้เสริมสร้างอาหาร อวัยยะส่วนที่ใช้ในการสืบพันธ์ หรือส่วนที่ใช้ห่อหุ้มทารกน้อยเมื่ออยู่ในครรภ์ จิตใจ สติปัญญา ความต้องการ การนึกคิด การจินตนาการ หรือดวงตาและส่วนประกอบต่าง ๆ ของตาที่ใช้ในการมองและบันทึกภาพเมื่อมนุษย์พิจารณาอย่างถี่ถ้วน เขาต้องสารภาพว่าทุกสิ่งที่เห็นและเป็นไปไม่ใช่ความบังเอิญ แต่ทุกสิ่งมีที่มาและที่ไปของมัน
ในสภาพเช่นนั้นมนุษย์จะได้เห็นความประสงค์ที่เป็นหนึ่งเดียว ความปรารถนาที่เป็นหนึ่ง ชีวิตที่เป็นหนึ่ง อำนาจ ความรู้ และการมีอยู่ที่เป็นหนึ่ง ซึ่งคุณลักษณะเช่นนี้คือหัวใจและชิีวิตของจักรวาล พระองค์เป็นผู้ควบคุมดูแลเหนืือสรรพสิ่งทั้งมวล ทรงรอบรู้ และมีอำนาจเหนือทุกสรรพสิ่ง ทรงทำให้สรรพสิ่งเหล่านั้นเคลื่อนไหวและหมุนเวียนไปตามกาลเวลา หรือแม้แต่ตัวเองการดำรงอยู่และเป็นไปล้วนเกี่ยวข้องกับพระองค์ทั้งสิ้น
ถึงแม้ว่าเราไม่สามารถมองเห็นแก่นแท้ของพระองค์ หรือเข้าใจถึงความเร้นลับในการสร้างของพระองค์ได้ แต่อย่างน้อยเราก็รับรู้ว่าโลกนี้มีพระผู้สร้างและรู้ว่ามนุษย์ทุกคนก็มีความรู้สึกนี้ สรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ล้วนเกี่ยวข้องกับพระองค์และยอมรับในการมีอยู่ของพระองค์ แน่นอนเป็นธรรมชาติของสรรพสิ่งเมื่อยอมรับในความยิ่งใหญ่ของพระองค์แล้วก็จะก้มกราบพระองค์ด้วยความนอบน้อม อัล-กุรอานกล่าวว่า
وَلِلّهِ يَسْجُدُ مَن فِي السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضِ طَوْعًا وَكَرْهًا
และผู้อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินต่างก็สญูดต่ออัลลอฮฺด้วยความภักดีและด้วยความจำยอม (อัร เราะอฺดุ / ๑๖)
อัล-กุรอานกล่าวว่า
إِنَّ فِي خَلْقِ السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضِ وَاخْتِلاَفِ اللَّيْلِ وَالنَّهَارِ لآيَاتٍ لِّأُوْلِي الألْبَابِ
แท้จริงในการสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน และการเปลี่ยนของกลางวันและกลางคืน ล้วนสัญญาณสำหรับผู้มีวิจารณญาน (อาลิอิมรอน / ๑๙๐)
สำหรับผู้ที่มีสติปัญญาถ้าไตร่ตรองสักนิดเขาจะรู้สึกว่าทั่วทั้งจักรวาลเต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิต มีความรู้สึก มองเห็น และได้ยิน สรรพสิ่งเหล่านั้นได้ใช้ภาษาใจเรียกร้อง วิงวอน แซ่ซ้องสรรเสริญ ยอมรับการมีอยู่และสดุดีในความบริสุทธิ์ของพระองค์ อัล-กุรอานกล่าวว่า
يُسَبِّحُ لِلَّهِ مَا فِي السَّمَاوَاتِ وَمَا فِي الْأَرْضِ الْمَلِكِ الْقُدُّوسِ الْعَزِيزِ الْحَكِيمِ
สิ่งที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลาย และสิ่งที่อยู่ในแผ่นดินต่างแซ่ซ้องสดุดีแด่อัลลอฮฺ ผู้ทรงอภิสิทธิ์ ผู้ทรงบริสุทธิ์ ผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงปรีชาญาณ (ญุมุอะฮฺ / ๑)
เป็นธรรมดาาที่มนุษย์ให้ความสำคัญต่อพระผู้สร้างตน และถวิลหาพระองค์ซึ่งเป็นไปไ่ม่ได้ที่จะไม่เป้นเช่นนี้ ตรงนี้เองที่การเคารพภักดีและการเชื่อฟังปฏิบัติตามได้เกิดขึ้น ส่วนบุคคลที่กระทำความผิดก็จะวิงวอนขอการลุแก่โทษเพื่อการกลับตัวกลับใจ และปรารถนาที่จะปฏิบัติหน้าที่การเป็นบ่าวของตนให้ดีที่สุด ปรารถนาที่จะรู้จักพระองค์ ยอมเชื่อฟังและปฏิบัติตาม และจะไม่กระทำความผิดอีกต่อไป
ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า
وَجَدتُ عِلْم النَّاس كُلِّهِم مِنْ اَربعَ : اوَّلها ، ان تعرف ربَّكَ ، وَالثَّانى ان تعرف ما صنع بك ، والثَّالث ان تعرف ما ارادَ منك ، والرابع ان تعرف مايخرجك من دينك
ฉันพบว่าความรู้ทั้งหมดของมนุษย์พบได้ใน ๔ ประการกล่าวคือ
๑. การรู้จักพระผู้อภิาลของตน
๒. การรู้จักสิ่งที่พระองค์ได้สร้างมาเพื่อเจ้า
๓. การรู้จักสิ่งที่พระองค์ประสงค์จากเจ้า
๔. การรู้จักสิ่งที่ชักชวนเจ้าออกจากศาสนา (คิซอล เชคซะดูก บาบที่ ๔ ฮะดีซที่ ๘๗)
ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า อัลลอฮฺ ทรงประทานศาสดาลงมาเพื่อนำพามนุษย์ไปสู่การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เพื่อให้มนุษย์รำลึกถึงความโปรดปรานของพระองค์ นำพามนุษย์ไปสู่เหตุผลของพระองค์ เปิดเผยความลับของพระองค์ที่อยู่ในใจของมนุษย์ และชี้นำให้มนุษย์พิจารณาสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของพระองค์ที่อยู่ในฟากฟ้าและแผ่นดิน (นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คุฏบะฮฺทีท ๑)
หลักเอกภาพ ถือเป็นรากฐานเบื้องต้นของศาสนา
หลักเอกภาพหมายถึง ความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าแห่งเอกภพ พระองค์ไม่มีส่วนประกอบและคุณลักษณะที่เพิ่มไปเหนือซาตของพระองค์ ซึ่งขอชี้แจงเหตุผลบางประการเกี่ยวกับเรื่องนี้
แน่นอน เมื่อมนุษย์พิจารณาเกี่ยวกับสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเอกภพเขาจะเห็นได้อย่างชัดเจนถึงความเป็นระบบระเบียบที่เฉพาะระหว่างสรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ ซึ่งแต่ละสิ่งมีความสมบูรณ์แตกต่างกัน ไม่เท่ากับในเชิงปริมาตรและคุณลักษณะของการสร้าง ทว่า ทุกสรรพสิ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างกลมกลืน เช่น อวัยวะต่าง ๆ บนเรืองร่างมนุษย์ถูกบริหารภายใต้กฏเกณฑ์ที่มั่นคงเดียวกัน มนุษย์สามารถประจักษ์ถึงความเป็นระบบระเบียบที่รัดกุมเป็นหนึ่งเดียวกันของเอกภพ ซึ่งสิ่งนี้ไม่อาจบ่งบอกเป็นอย่างอื่นได้ นอกจากความเป็นเอกานุภาพของพระผู้สร้าง พระองค์ตรัสไว้ในอัล-กุรอานว่า
وَمَا كَانَ مَعَهُ مِنْ إِلَهٍ إِذًا لَّذَهَبَ كُلُّ إِلَهٍ بِمَا خَلَقَ وَلَعَلَا بَعْضُهُمْ عَلَى بَعْضٍ
ไม่มีพระเจ้าอื่นใดร่วมเป็นภาคีกับพระองค์ หากเป็นเช่นนั้น พระเจ้าแต่ละองค์ก็จะเอาสิ่งที่ตนสร้างไปเสียหมด และแน่นอนพระเจ้าบางองค์ในหมู่พระเจ้าเหล่านั้นย่อมมีอำนาจเหนือกว่าอีกบางองค์[๑]
อีกนัยหนึ่งปรากฎการณ์ต่าง ๆ ของทุกสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นในเอกภพนี้ ถึงแม้ว่าจะมีลักษณะที่แตกต่างและมีแก่นแท้ไม่เหมือนกัน ทว่าทั้งหมดเหล่านั้นอยู่ภายใต้ระบบเดียว และทุกสรรพสิ่งต่างดำเนินไปตามครรลองของตัวเองที่ถูกกำหนดไว้เฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษสำหรับสิ่งนั้น ด้วยเหตุนี้เองจึงได้รับการปกป้องจากความเสียหายและความระส่ำระสายต่าง ๆ สิ่งที่กล่าวมาไม่สามารถอธิบายเป็นอย่างอื่นได้ นอกจากความเป็นเอกานุภาพของพระผู้สร้าง ผู้ทรงบันดาลปรากฏการต่าง ๆ และเป็นผู้จัดระเบียบให้กับจักรวาล
อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสเกี่ยกับเรื่องนี้ว่า
لَوْ كَانَ فِيهِمَا آلِهَةٌ إِلَّا اللَّهُ لَفَسَدَتَا
หากในชั้นฟ้าและแผ่นดินมีพระเจ้าหลายองค์นอกจากอัลลอฮ์แล้ว ก็จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างแน่นอน [๒]
เมื่อมนุษย์ถ้าพิจารณาเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับตัวเอง สิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่อยู่รอบด้านไม่ว่าจะเป็น ภูเขา ทะเลทรายที่กว้างใหญ่ไพศาล ป่าไม้ มหาสมุทร ท้องฟ้า พื้นดิน ดวงตะวัน ดวงดาว กลางคืน กลางวัน และฤดูกาลต่าง ๆ ในรอบปี พร้อมทั้งพิจารณาถึงความเป็นระบบระเบียบที่ครอบคลุมเหนือสรรพสิ่งเหล่านั้น จะเห็นได้ว่าจักรวาลกับระบบที่คอยควบคุมมีความสัมพันธ์กันอย่างกลมกลืน สิ่งนี้ได้สร้างความอัศจรรย์ใจยิ่งถึงการมีอยู่ของพระผู้สร้างผู้เป็นหนึ่งเดียวที่ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือน ดังที่พระองค์ได้ยืนยันถึงความเป็นเอกานุภาพของพระองค์ว่า
شَهِدَ اللّهُ أَنَّهُ لاَ إِلَهَ إِلاَّ هُوَ
อัลลอฮฺ (กับการสร้างจ้กรวาลและระบบ) ทรงยืนยันว่า แท้จริงไม่มีผู้ใดคู่ควรต่อการเคารพภักดี นอกจากพระองค์เท่านั้น [๓]
พระองค์ทรงอธิบายถึงความเป็นเอกานุภาพของพระองค์ที่ไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนไว้ว่า
قُلْ هُوَ اللَّهُ أَحَدٌ اللَّهُ الصَّمَدُ لَمْ يَلِدْ وَلَمْ يُولَدْ وَلَمْ يَكُن لَّهُ كُفُوًا أَحَدٌ
จงกล่าวเถิด มุฮัมมัด พระองค์คืออัลลอฮฺผู้ทรงเอกะ อัลลอฮฺทรงเป็นที่พึ่ง พระองค์ไม่ให้กำเนิดและพระองค์ไม่ถูกดำเนิด และไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ [๔]
ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวกับอิมามฮะซัน (อ.) บุตรชายของท่าน ว่า “โอ้บุตรชาย จงมั่นใจเถิดว่า ถ้าหากพระผู้อภิบาลของเจ้าทรงมีหุ้นส่วน พระองค์ก็ต้องส่งศาสนทูตทั้งหลายมายังเจ้า และเจ้าก็จะได้เห็นอำนาจปกครองและเดชานุภาพของพระองค์ และเจ้าก็คงจะรู้ถึงการกระทำและคุณลักษณะของพระองค์า ทว่าพระองค์คือพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเป็นเอกะ ดุจดังเช่นที่พระองค์ได้อธิบายถึงคุณลักษณะของพระองค์ไว้” [๕]
แน่นอน เอกภพนี้มีพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเอกะเพียงองค์เดียว พระองค์ทรงวิทยปัญญา ทรงเดชานุภาพ ซึ่งการกำเนิด การดำรงอยู่ และความเป็นไปของเอกภพทั้งหมดนี้ขึ้นอยุ่พระองค์ ไม่มีสิ่งใดอยู่นอกเหนือพลานุภาพของพระองค์ พระองค์คือผู้ทรงเมตตา ทรงกุรณา ทรงโอบอ้อมอารี พระองค์ไม่ได้สร้างสิ่งใดมาอย่างไร้แก่นสาร และพระองค์ปราศจากเรือนร่างและไม่ใช่วัตถุ ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ ไม่มีข้อจำกัดใด ๆ สำหรับพระองค์ พระองค์ทรงรอรู้และมีอำนาจครอบคลุมเหนือทุกสรรพสิ่งในสากลโลก พระองค์ทรงดำรงอยู่เสมอและจะดำรงต่อไปเป็นนิรันดร์
หนึ่งในหลักความเชื่อของแนวทางชีอะฮฺคือ ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า เนื่องจาก ความยุติธรรมเป็นคุณลักษณะสมบูรณ์ประการหนึ่งของพระองค์ ซึ่งพระองค์ทรงมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์ทุกประการปราศจากความบกพร่อง ดังนั้น พระองค์จะไม่อธรรมหรือประกอบการงานที่เลวร้ายอย่างเด็ดขาด เนื่องมาจากปฐมเหตุของความอธรรม การกดขี่ ความเลวร้าย และคุณลักษณะที่ไม่เหมาะสมทั้งหลายเกิดมาจาก การขาดความรู้และความไร้ความสามารถ ขณะที่พระองค์ทรงรอบรู้เหนือสรรพสิ่งทั้งหลาย และทรงปรีชาสามารถในทุกกิจการงานโดยไม่ต้องพึ่งพาสิ่งใด ด้วยเหตุนี้ มุสลิมทุกคนต้องมีความเชื่อว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม และทรงรักษาความยุติธรรมในทุกกิจการงานเสมอ อัล-กุรอานกล่าวว่า
شَهِدَ اللّهُ أَنَّهُ لاَ إِلَهَ إِلاَّ هُوَ وَالْمَلاَئِكَةُ وَأُوْلُواْ الْعِلْمِ قَآئِمَاً بِالْقِسْطِ لاَ إِلَهَ إِلاَّ هُوَ الْعَزِيزُ الْحَكِيمُ
อัลลอฮฺ (กับการสร้างจ้กรวาลและระบบ) ทรงยืนยันว่า แท้จริงไม่มีผู้ใดคู่ควรต่อการเคารพภักดี นอกจากพระองค์เท่านั้น มวลมลาอิกะฮฺและผู้ทรงความรู้ต่างยืนยันตามนั้น ขณะที่พระองค์ทรงยืนหยัดบนความยุติธรรม ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงปรีชาญาณ[๖]
โดยเหตุผลของสติปัญญา โองการต่าง ๆ และฮะดีซอีกจำนวนมากมายเป็นเหตุผลยืนยันอย่างชัดเจนว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม และทุกสรรพสิ่งในเอกภพนี้ พระองค์ได้สร้างมาอย่างมีระเบียบ และการคำนวณอย่างปราณีต ทุกสรรพสิ่งทั่วทั้งจักรวาลถูกจัดวางไว้บนความสมดุลและความเสมอภาค ท่านศาสนศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า “ชั้นฟ้าและแผ่นดินถูกจัดวางไว้อย่างสมดุล
แน่นอนมนุษย์ไม่ได้มีความรู้ครอบคลุมจักรวาล ไม่ได้ค้นคว้าเกี่ยวกับสรรพสิ่งทั้งหมด และจะไม่สามารถกระทำเช่นนั้นได้อย่างเด็ดขาด ทว่าทุกส่วนที่รู้มนุษย์ก็ได้ประจักษ์ถึงความมีระบบระเบียบ การคำนวนอย่างแม่นยำและความสมดุล จากสาเหตุนี้ทำให้มั่นใจถึงความยุติธรรมของพระผู้สร้างทุกสรรพสิ่ง
ด้วยเหตุนี้ พระผู้เป็นเจ้าทรงไว้ซึ่งความยุติธรรมทั้งในการสร้างและการตัดสินตอบแทนในวันฟื้นคืนชีพ (กิยามัต) ทุกปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ทุกการตอบแทนและการลงโทษ พระองค์ได้จัดวางไว้ในที่ของมันบนพื้นฐานของความถูกต้องและความเป็นธรรม พระองค์มิทรงเอาเปรียบหรือริดรอนสิทธิของสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งพระองค์จะไม่ทรงกระทำเช่นนั้นเด็ดขาด แต่สิ่งที่มักจะเป็นข้อวิพากกันเสมอคือ ความขาดแคลน ความน่ารังเกียจ ภยันตรายต่าง ๆ ความเลวร้าย และสิ่งที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะการนำเอาสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ไปเปรียบเทียบกันกับสิ่งหรือสภาวะที่อยู่ตรงกันข้าม เช่น ความสมบูรณ์ ความสวยงาม ประโยชน์ ความดีงาม ซึ่งในความเป็นจริงแล้วทุกสรรพสิ่งถูกจัดวางไว้บนสภาพและในที่ ๆ ดีที่สุดสำหรับตัวเอง
พระผู้เป็นเจ้าทรงบันดาลมนุษย์มาบนพื้นฐานของการเลือกสรร ทรงประทานสติปัญญาและความนึกคิดแก่มนุษย์เพื่อจะได้จำแนกความถูกผิด ทรงประทานบรรดาศาสนทูตลงมาเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ในการแบ่งแยกสัจธรรมและความเท็จ เชิญชวนมนุษย์ไปสู่ความผาสุขและแนวที่ถูกต้องและห้ามกระทำความชั่วร้ายอันเป็นสาเหตุนำไปสู่การลงโทษ ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้ล้วนเป็นความดีงามทั้งสิ้น ดังนั้น ถ้้ามนุษย์เลือกแนวทางแห่งความดีงามที่อยู่ตรงหน้าเขา ๆ ก็มีสิทธิ์ได้รับรางวัลตอบแทน แต่ถ้ามนุษย์เลือกแนวทางที่ไม่ดีและดำเนินชีวิตไปตามแนวทางนั้นต้องถูกลงโทษอย่างแน่นอน และในวันฟื้นคืนชีพ (กิยามัต) พระผู้เป็นเจ้าทรงตอบแทนผลรางวัลแก่ผู้ที่ประกอบคุณงามมความดี และลงโทษผู้ที่ประกอบกรรมชั่วทั้งหลายบนความยุติธรรมของพระองค์ และสิ่งนี้คือความยุติธรรมที่ไม่มีการเอาเปรียบแม้เท่าผงธุลี อัล-กุรอานกล่าวว่า
وَنَضَعُ الْمَوَازِينَ الْقِسْطَ لِيَوْمِ الْقِيَامَةِ فَلَا تُظْلَمُ نَفْسٌ شَيْئًا
และเราได้วางตราชูที่เที่ยงธรรมสำหรับวันกิยามะฮฺ ดังนั้น จะไม่มีชีวิตใดถูกอธรรมแม้เพียงเล็น้อย [๗]
บรรดานักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลกอิสลามกล่าวว่า “พระผู้เป็นเจ้าตรัสว่า ถ้าหากฉันไม่ลงโทษผู้กดขี่ ฉันคือผู้กดขี่”
จากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่า ในส่วนลึกนั้นมนุษย์มีความต้องในพระผู้เป็นเจ้าและความใกล้ชิดยังพระองค์ แต่สิ่งนี้ต้องอาศัยคำแนะนำและการอธิบายที่ชัดเจนเพื่อสร้างความเข้าใจต่อไป
อีกด้านหนึ่งโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์มีความาต้องการที่หลากหลายและตรงกันข้าม ถ้าหากมนุษย์ไม่ใช้ความพอดีหรือใช้ความเป็นกลางในการช่วยเหลือ และถ้ามนุษย์ปล่อยให้เป็นไปตามความต้องการของตนเอง แน่นอนเท่ากับว่าได้ผลักดันทั้งตัวเองและสังคมให้พบกับความเสีื่อมเสียและบาปกรรม ด้วยเหตุนี้ จะเห็็นว่าความกรุณาของพระผู้เป็นเจ้าได้บอกกับเราว่า จำเป็นอย่างยิ่งต้องมีผู้ชี้นำคอยแนะนำทาง ถ้ามิเช่นนั้นถือว่าไม่กินต่อสติปัญญาเนื่องจากพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงเมตตา ซึ่งพระองค์รอบรุ้ถึงความต้องการทั้งที่เป็นวัตถุปัจจัย และสภาพจิตด้านในของมนุษย์ รอบรู้ถึงความเจริญผาสุก และความสบูรณ์แข็งแรงของจิตใจ แต่พระองค์กลับปล่อยให้มนุษย์ดำเนินชีวิตไปตามยถากรรมของตนเอง ด้วยเหตุนี้เองพระองค์จึงแต่งตั้งผู้นำที่มาจากมนุษย์ ที่มีความเหมาะสมในการประกาศสารของพระองค์ เป็นสื่อกลางที่เชื่อมระหว่างพระผู้เป็นเจ้ากับมนุษย์ มีหน้าที่รับสารจากพระองค์และนำไปประกาศแก่มนุษย์
ด้วยจุดประสงค์ดังกล่าวตามริวายะฮฺกล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าได้ประทานศาสดาลงมาถึง ๑๒๔,๐๐๐ องค์ให้มาทำหน้าที่ชี้นำมนุษย์ ซึ่งจากจำนวนดังกล่าวมีเฉพาะ ๕ องค์เท่านั้นที่ได้รับสารจากพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งเรียกว่าอูลุลอัซมิ (เจ้าของบทบัญญัติ) ได้แก่ ท่านศาสดานูฮฺ (อ.) ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ศาสดามูซา (อ.) ศาสดาอีซา (อ.) และท่านศาสดามุฮัมมัด (อ.) เป็นหน้าที่ของเราที่ต้องยอมรับและให้ความเคารพ และต้องเชื่อว่าท่านเหล่านั้นบริสุทธิ์จากบาปทั้งปวง
ประเด็นสำคัญอยู่ที่ท่่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) บุตรชายของท่านอับดุลลอฮฺ ผู้เป็นบรมศาสดา และเป็นผู้ทำให้ศาสนาแห่งพระผู้เป็นเจ้า (อิสลาม) สมบูรณ์กว่าศาสนาก่อนหน้านั้น ท่านศาสดายอมรับคำสอนศาสนาของบรรดาศาสดาก่อนหน้าท่าน เพี่ยงแต่ว่ากฏเกณฑ์คำสอน และข้อชี้นำต่าง ๆ ของศาสนาที่ท่่านศาสดา (ซ็อล ฯ) นำมานั้นสมบูรณ์และดีกว่าศาสนาอื่น ๆ จึงเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องยอมรับคำสอนและการปฏิบัติจากท่าน และที่สำคัญต้องมีความเชื่อมั่นพร้อมนำไปสู่การปฏิบัติ อินชาอัลลอฮฺ
ชีวประวัติโดยสังเขปของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)
ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) เป็นชนเผ่ากุเรชมาจากตระกูลบนีฮาชิม บิดาของท่านชื่อว่า อับดุลลอฮฺ เป็นบุตรของท่านอับดุลมุฏ็อลลิบ ซึ่งเป็นหลานของฮาชิม มารดาของท่านชื่อว่า ท่านหญิงอามีนะฮฺ คอตูน เป็นบุตรีของวะฮับ ซึ่งมาจากตระกูล บนี ซุฮฺเราะฮฺเป็นชนเผ่ากุเรชเช่นกัน
ท่่านอับดุลลอฮฺ หลังจากแต่งงานแล้วได้เดินทางไปเมืองชาม (ซูเรีย) แต่หลังจากเดินทางกลับจากเมืองชาม ท่านได้ไปสิ้นชีวิตที่เมืองมะดีนะฮฺและฝังอยู่ที่นั่น
หลังจากท่านอับดุลลอฮฺได้สิ้นชีวิตประมาณสองสามเดือน ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นมาที่เมื่องมักกะฮฺ ในเืดือนเราะบีอุลเอาวัล ปี ๕๗๑ ซึ่งการกำเนิดของท่านได้สร้างความสว่างไสวให้กับโลกอย่างยิ่ง หลังจากที่ท่่านได้ถือกำเนิดขึ้นมาท่านหญิงอามินะฮฺมารดาของท่าน ได้มอบท่านให้กับท่านหญิงฮะลีมะฮฺ ซะอฺดียะฮฺ ซึ่งเป็นชนเผ่าซะอฺดฺตามประเพณีนิยมของชนอาหรับในสมัยนั้น เพื่อให้ท่านหญิงให้นมแก่ท่านศาสดา ท่านได้ดื่มนมฮะลีมะฮฺอยู่นานถึง ๔ ปี หลังจากนั้นท่านหญิงอามินะฮฺได้มารับตัวท่่านเพื่อเดินทางไปเยี่ยมญาติผู้ใหญ่ฝ่ายบิดาที่เมื่องมะดีนะฮฺ ซึ่งระหว่างเดินทางกลับมารดาของท่านได้สิ้นชีวิตลง และได้ฝังร่างอยู่ที่หมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่งชื่อว่า อับวาอฺ เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ระหว่างเส้นทางมักกะฮฺกับมะดีนะฮฺ
หลังจากนั้นท่านได้อยู่ในการดูแลของปู่คือ ท่านอับดุลมุฏ็อลลิบ และท่านอบูฏอลิบบิดาของท่านอิมามอะลี (อ.) ผู้เป็นลุงในเวลาต่อมา เมื่ออายุได้ ๒๕ ปีบริบูรณ์ ท่านได้สมรสกับท่านหญิงคอดิญะฮฺซึ่งขณะนั้นมีอายุ ๔๐ ปี ท่านได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับท่านหญิงนานถึง ๒๕ ปี และท่านหญิงได้เสียชีวิตลงเมื่ออายุครบ ๖๕ ปี
เมื่อท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) มีอายุได้ ๔๐ อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้เลือกให้ท่านเป็นศาสนทูตของพระองค์ พร้อมทั้งประทานอัล-กุรอานคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ ที่ทั้งมนุษย์และญินไร้ความสามารถในการนำซึ่งสิ่งที่คล้ายเหมือน พระองค์ได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นศาสดาองค์สุดท้ายและเป็นผู้มีมารยาทสมบูรณ์ที่สุด
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ใช้ชีวิตอยู่บนโลกนี้เพียงแค่ ๖๓ ปีเท่านั้น ซึ่งสามารถแบ่งช่วงชีวิตอันจำเริญของท่านออกเป็น ๓ ช่วงดังนี้
๔๐ ปีแรกจนถึงช่วงที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดา
๑๓ ปีหลังจากได้รับการแต่งตั้งท่านได้ประกาศศาสนาอยู่ที่มักกะฮฺจนกระทั่งอพยพไปมะดีนะฮฺ
๑๐ ปีหลังจากอพยพจนกระทั่งสิ้นชีวิต ในวันจันทร์ เดือนเซาะฟัร ปี ฮ.ศ. ที่ ๑๑ ณ เมืองมะดีนะฮฺ
แนวทางในการรู้จักบรรดาศาสดาโดยสรุปแล้วมีอยู่ ๓ แนวทางกล่าวคือ
๑. การกล่าวอ้างและยืนยันการเป็นศาสดา
๒. ความเหมาะสมในการเป็นศาสดา
๓. แสดงอภินิหาร (มุอฺญิซะฮฺ)
ไม่ได้เป็นที่ปิดบังสำหรับใครคนใดคนหนึ่งทีว่าประมาณปี ค.ศ. ที่ ๖๑๑ ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ประกาศการเป็นศาสดาของท่าน ณ เมืองมักกะฮฺ ขณะที่โลกส่วนใหญ่ได้เคารพบูชารูปปั้น เจว็ดต่าง ๆ บูชาไฟ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่น ๆ อีกมากมาย ท่านศาสดาได้ประกาศเชิญชวนประชาชนมาสู่ศาสนาอิสาลาม จนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิตอันจำเริญ ซึ่งมีประชาชนจำนวนมากได้ยอมรับคำประกาศและเข้าสู่อิสลาม
ผู้ที่ประกาศตนเป็นศาสดาต้องมีมารยาทและคุณลักษณะที่เหมาะสมอันเป็นที่ยอมรับ ต้องเป็นผู้ที่มีความสมบูรณ์ มีจิตใจสูงส่ง สมบูรณ์ และมีความประเสริฐกว่าคนอื่นทั่วไป และต้องบริสุทธิ์จากมารยาท การกระทำที่ไม่ถูกยอมรับ และคุณลักษณะที่ไมดีทั้งหลาย ซึ่งสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดสำหรับท่านศาสดาแล้วเป็นที่ยอมรับและไม่มีข้อคลางแคลงใจใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งมิตรและศัตรูต่างยอมรับในความดีงาม คุณลักษณะที่สมบูรณ์ และการกระทำทั้งหมด ทุกคนยอมรับว่าท่านบริสุทธิ์จากการมีมารยาทที่ไม่ดี ความประพฤติที่ต่ำทรามอันเป็นอุปสรรคต่อการเป็นศาสดา
มารยาทที่สง่างาม คุณลักษณะที่สูงส่ง และความดีงามต่าง ๆ ของท่านศาสดาเป็นที่รู้จักกันของคนทั่วไปทั้งมิตรและศัตรูต่างยอมรับและสรรเสริญเกียรติคุณข้อนี้ของท่าน สรุปได้ว่าท่านเป็นคนนำมารยาทที่ดีงาม คุณลักษณะที่สูงส่งในการเป็นมนุษย์ และการเปลียนแปลงมาสู่โลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนในฮิญาซ และคราบสมุทรอาหรับทั้งหมด
นอกจากนี้แล้วท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ยังได้ประกาศให้โลกได้ประจักษ์ชัดถึงถ้อยคำที่มีความประเสริฐยิ่งเกี่ยวกับความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า คุณลักษณะที่สมบูรณ์ของพระองค์ บทบัญญัติต่าง ๆ สิ่งที่อนุมัต และไม่อนุมัติ คำตักเตือนที่ดีงาม และมารยาทที่สูงส่ง และสิ่งอื่นอีกมากมาย ซึ่งทุกประเด็นที่กล่าวมาล้วนเป็นสิ่งยืนยันให้เห็นถึงความเหมาะสมในการเป็นศาสดาของท่าน และสำหรับบุคคลที่มีความยุติธรรมแล้วจะไม่มีความคลางแคลงใจในการเป็นศาสดาของท่านอย่างเด็ดขาด
มุอฺญิซาตหรืออภินิหารหมายถึง การกระทำที่เกินความสามารถของบุคคลทั่วไป ไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้หรือการฝึกฝน แต่เป็นอภินิหารที่พระผู้เป็นเจ้าได้ประทานให้กับศาสดาหรือบุคคลที่พระองค์ทรงประสงค์ เพื่อแสดงหรือพิสูจน์สิ่งที่กำลังกล่าวอ้างอยู่ เช่น การทำให้คนตายฟื้นคืนชีพของท่านศาสดาอีซา (อ.) หรือการโยนไม้เท้าไปแล้วกลายเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายงูของท่านศาสดามูซา (อ.) หรือการเีรียกอูฐออกจากภูเขาของท่านศาสดาซอลิฮฺ (อ.) เป็นต้น การกระทำเหล่านี้เรียกว่าอภินิหาร
แต่อภินิหารของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เป็นสิ่งที่นอกเหนือไปจากอภิหารของบรรดาศาสดาก่อนกน้านั้น สามารถแบ่งออกเป็น ๕ ประการดังนี้
๑. อภินิหารด้านจริยธรรม
๒. อภินิหารด้านความรู้
๓. อภินิหารด้านการปฏิบัติ
๔. อภินิหารด้านจิตวิญญาณ
๕. อภินิหารด้านการมีอยู่ของท่าน
ซึ่งอภินิหารทั้ง ๕ ประเภท ท่านได้แสดงอย่างครบสมบูรณ์ที่สุด
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) นับตั้งแต่วัยหนุ่นเป็นต้นมาท่านจะถูกรู้จักในนามของผู้มัสัจจะ เป็นผู้รักษาอามานะฮฺ (ทรัพย์สินผู้อื่นที่ฝากไว้) มีความอดทนสูง ยืนหยัดมั่นคง มีความเมตตาอารีย์ รู้จักการให้อภัย และนอบน้อมถ่อมตนเป็นอุปนิสัยประจำของท่านศาสดาที่ไม่มีใครเหมือน อัล-กุรอานกล่าว่า และแท้จริง เจ้านั้นอยู่บนคุณธรรมอันยิ่งใหญ่ (เกาะลัม ๔) ( وَإِنَّكَ لَعَلى خُلُقٍ عَظِيمٍ) คุณลักษณะของการให้อภัยและความเมตตาที่มีอยู่ในตัวท่านเป็นหนึ่งเดียวกัน เมื่อต้องเผชิญกับผู้คนที่ชอบดูถูกเหยียดหยามและชอบเยาะเย้ยท่านมักกล่าวเสมอว่า (اَللَّهُمَّ اغْفِرْ لِقَوْمِى فَاِنََّهُمْ لاَ يَعْلَمُوْنَ ) โอ้อัลลอฮฺ โปรดอภัยให้กับประชาชาติของข้าฯด้วยเถิด เพราะพวกเขาเป็นผู้ไม่รู้ ท่านศาสดาเป็นผู้หวังดีและเป็นห่วงเป็นใยคนอื่นเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาผู้ศรัทธาท่านจะให้ความรักและเอ็นดูพวกเขาอย่างมาก อัล-กุรอานกล่าวว่า
عَزِيزٌ عَلَيْهِ مَا عَنِتُّمْ حَرِيصٌ عَلَيْكُم بِالْمُؤْمِنِينَ رَؤُوفٌ رَّحِيمٌ
เป็นที่ลำบากใจแก่เขาในสิ่งที่พวกท่านได้รับความทุกข์ยาก เป็นผู้ห่วงใยท่านเป็นผู้เมตตาและกรุณาสงสารต่อบรรดาผู้ศรัทธา [๘]
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เป็นผู้มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสไม่เคยแสดงสีหน้าบึ้งตึงเมื่อพบกับบรรดามิตรสหาย (เซาะฮาบะฮฺ) ท่านพยายามแสดงมารยาทที่ดีงามและต้องการให้คนอื่นเป็นเหมือนกับท่าน สำหรับท่านแล้วบุคคลที่ที่ดีที่สุดคือ ผู้ที่หวังดีและมีความเมตตาต่อพีน้องมุสลิมด้วยกัน ผู้ที่มีเกียรติที่สุดในทัศนะของท่านคือ บุคคลที่มีความเป็นห่วงเป็นใยคนอื่น ท่านศาสดาให้ความช่วยเหลือและทำดีกับประชาชนมากกว่าใครทั้งหมด ท่านจะไม่นั่งหรือลุกขึ้นเว้นเสียแต่ว่าเป็นการรำลึกถึงอัลลอฮฺ ซึ่งส่วนมากท่านจะนั่งหันหน้าตรงกับกิบละฮฺและจะไม่เลือกที่นั่งเฉพาะสำหรับตัวเอง ท่านอยู่ร่วมและมีความสัมพันธ์กับประชาชานถึงขั้นที่พวกเขาคิดว่า สิ่งถูกสร้างที่ประเสริฐที่สุดได้อยู่กับเขา ท่านศาสดาเป็นคนไม่พูดมาก และไม่พูดตัดตอนหรือพูดขัดกับคำพูดของคนอื่นยกเว้นถ้าเป็นการพูดที่ไม่ถูกต้อง ท่านไม่ว่าร้ายใคร และไม่เคยพูดจาเสียดสีให้คนอื่นเสียหาย ไม่เคยสอดแนมหรือเปิดเผยความผิดพลาดของคนอื่น มารยาทที่สูงส่งของท่านได้ครอบคลุมเหนือบรรดาสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย ท่านได้อดทนต่อกริยามารยาทที่กักขฬะของชาวอาหรับและไม่ใช่อาหรับ ท่านนั่งกับพื้น และนั่งร่วมกับคนจนและคนอนาถา ท่านรับประทานอาหารร่วมกับพวกเขา อาหารและเครื่องนุ่งห่มของท่นไม่ได้แตกต่างไปจากประชาชนคนอื่น ท่านให้สลามกับทุกคนที่พบเห็น และจะกล่าวสลามก่อนเสมอพร้อมกับจับมือแนบแน่น ท่านไม่เคยให้ใครต้องยืนให้เกียรติท่าน แต่ท่านมักให้เกียรติคนอื่นเสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีความรู้ และมีมารยาทดีงาม ท่านมีความรู้ ฉลาด มีความยุติธรรม กล้าหาญ และมีความเมตตาปรานีมากกว่าคนอื่น ท่านให้ความเคารพต่อผู้ใหญ่ และให้เกียรติเด็ก เอาใจใส่ต่อคนแปลกหน้า ท่านไม่เคยรับประทานอาหารคนเดียว ฉะนั้น เมืื่อสิ้นชีวิตลงท่านจึงไม่เหลือทรัพย์สินสักดิรฮัม
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เป็นผู้มีความกล้าหาญชาญชัย ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า ทุกครั้งที่สงครามมีความรุนแรงอย่างหนัก พวกเราจะไปหาและให้ท่านปกป้อง
การให้อภัยของท่านถึงขนาดที่ว่าหลังจากพิชิตมักกะฮฺได้แล้ว ท่านได้กล่าวกับชาวมักกะฮฺว่า พวกท่านจะเรียกร้องสิทธิ์อันใดบ้าง พวกท่านคิดอย่างไร (ทั้งที่ก่อนการอพยพชาวมักกะฮฺได้สร้างความเจ็บให้ท่านกับพรรคพวกของท่านอย่างมาก) พวกเขาพูดว่่า : เราจะพูดและคิดแต่สิ่งที่ดี โอ้น้องชายผู้มีเกียรติของพวกเรา โอ้หลานชายผู้มีเกียรติของพวกเรา ตอนนี้ท่่านมีอำนาจเหนือพวกเราแล้ว สุดแล้วแต่ท่านว่าจะคิดอย่่างไรกับพวกเรา
ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ได้กล่าวคำพูดจากก้นบึ้งของหัวใจพร้อมกับน้ำตา เมื่อชาวมักกะฮฺเห็นเช่นนั้นต่างพากันร้องไห้ครำ่ครวญออกมา ท่่านจึงกล่าวว่า ฉันจะพูดในสิ่งที่พี่ของฉันยูซุฟได้เคยพูดไว้ กล่าวว่า
قَالَ لاَ تَثْرَيبَ عَلَيْكُمُ الْيَوْمَ يَغْفِرُ اللّهُ لَكُمْ وَهُوَ أَرْحَمُ الرَّاحِمِينَ
เขา (ยูซุฟ) กล่าวว่า ไม่มีการกล่าวโทษพวกท่านในวันนี้ อัลลอฮฺจะทรงอภัยพวกท่าน และพระองค์เมตตายิ่งในหมู่ผู้เมตตาทั้งหลาย [๙]
ท่านศาสดาได้อภัยในความผิดพลาดของพวกเขา และกล่าวว่า พวกท่่านไปเถิด พวกท่านทั้งหลายเป็นอิสระแล้ว
อภินิหารด้านความรู้ นั้นสามารถค้นคว้าได้จากตำราที่บันทึกคำพูด คำตักเตือน และข้อแนะนำต่าง ๆ ของท่าน สิ่งเหล่านี้จะสะท้อนให้เห็นถึงภูมปัญญาและวิชาการที่สูงส่งของท่าน
สามารถกล่าวได้ว่าการกระทำและความประพฤติของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ตั้งแต่ถือกำเนิดจนกระทั่งสิ้นชีวิตทั้งหมดเป็นอภินิหารทั้งสิ้น ถ้าหากพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมของสังคมที่ท่านใช้ชีวิต ประชาชนชาวฮิญาซ สภาพจิตใจของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนในยุคนั้นสามารถพิสูจน์ได้อย่างดีว่า การกระทำของท่านล้วนเป็นอภินิหารทั้งสิ้น เสมือนดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมขึ้นอยู่ท่่ามกลางดอกไม้ที่กลิ่นเหม็น นอกจากจะไม่ได้ดูดกลิ่นของดอกอื่นแล้ว ยังสามารถเปลี่ยนกลิ่นของดอกเหล่านั้นได้อีกต่างหาก ท่านศาสดานอกจากจะไม่ตามกระแสสังคมในสมัยนั้นแล้ว ท่่านยังได้ทำให้สภาพแวดล้อมของสังคมเปลียนไปตามท่าน
ตลอดระยะเวลา ๒๓ ปี ท่านได้เผชิญอุปสรรคปัญหาต่าง ๆ มากมาย กระนั้นท่่านยังสามารถวางภารกิจอันเป็นรากหลักสำคัญได้ ๔ ประการ ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วภารกิจแต่ละอย่างเหล่านั้นต้องใช้เวลาในการปฏิบัตินานหลายปีจึงจะเป็นรูปเป็นร่าง แต่ท่านกลับสามารถทำให้แล้วเสร็จได้ภายใน ๒๓ ปี ภารกิจทั้ง ๔ ประการได้แก่
๑. ท่านได้วางรากฐานของศาสนาแห่งพระผู้เป็นเจ้า ที่แตกต่างไปจากศาสนาเดิมที่มีอยู่ในสมัยนั้นขึ้นแทนที่ และได้ผลิตบุคลากรที่มีความเชื่อมั่นเยี่ยงท่่านไว้มากมาย จนถึงปัจจุบันสภาพจิตวิญญาณที่สูงส่งของท่านยังซึมซับและแผ่คลุมหัวใจของผู้ศรัทธาไว้อย่างมั่นคงนับหลายร้อยล้านดวง การสร้างบุคคลให้ภักดีแต่ภายนอกเป็นเรื่องง่าย แต่การสร้างบุคคลากรให้จงรักภักดีด้วยหัวใจโดยไม่มีเงื่อนใด ๆ ซึ่งพวกเขาได้ยอมจำนนหัวใจเป็นเรื่องยาก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งประชานที่มีอคติ ดื้อดึง ถืออัตตาตัวตน และโง่เขาเบาปัญญา
๒.ท่านสามารถประสานรอยร้าวของหัวใจแต่ละดวงจากเผ่าต่าง ๆ ที่มีความขัดแย้ง เป็นศัตรู อาฆาตแ้ค้นและได้เข่นฆากันมาตลอดให้รวมเป็นประชาชาติเดียวกัน ท่านได้สร้างความเป็นพีน้อง ความเสียสละ ความช่วยเหลือจุนเจือซึ่งกันและกัน และสร้างความเป็นเอกภาพที่แท้จริงให้เกิดขึ้นในหมู่พวกเขา และหลังจากนั้นไม่นานเชื้อชาติและเผ่าพันธ์ต่าง ๆ ได้รวมกันเป็นหนึ่งเดียวภายใต้ชื่อใหม่ว่า ประชาชาติมุฮัมมะดียฺ (ซ็อล ฯ) ซึ่งดำเนินมาจวบจนถึงปัจจุบันและจะดำเนินต่อไปอีกยาวนานในอนาคตอันไกลโพ้น
๓. ท่ามกลางเผ่าพันธ์ต่างเหล่านั้น ซึ่งแต่ละเผ่าต่างมีหัวหน้าเป็นของตนเอง และยังไม่มีใครเคยชินกับการยอมรับหัวหน้าจากเผ่าอื่น ไม่เคยจัดตั้งรัฐบาลกลางมาก่อน แต่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้จัดตั้งการปกครองที่มีรากฐานอยู่บนความอิสระและเสรีภาำพที่สมบูรณ์ รัฐบาลอิสลามได้เติบโตอย่างรวดเร็วถึงขนาดที่ว่าช่วงเวลาเพียงศตวรรษเดียว กลับกลายเป็นรัฐบาลที่มีความเข็มแข็ง มั่นคง และเป็นหนึ่งเดียวในโลก
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ส่งสาส์นถึง ๖ ฉบับภายในวันเดียว เพื่อเชิญชวนบรรดากษัตริย์ตามประเทศต่าง ๆ ในสมัยของท่าน ซึ่งกำลังเรืองอำนาจที่สุดและไม่เคยเห็นอาหรับอยู่ในสายตา ให้เข้ารับอิสลาม
เมื่อสาส์นของท่านได้ไปถึงมือกษัตริย์แห่งอิหร่าน ขณะที่อ่านสาส์นได้เห็นนามของท่านศาสดาเขียนไว้ก่อนนามกษัตริย์ สร้างความโกรธแค้นให้กษัตริย์อย่างมาก จึงได้มีบัญชาแก่ทหารให้รีบเดินทางไปมะดีนะฮฺเพื่อนำตัวท่านศาสดามาพบกษัตริย์
แน่นอนพวกเขาคิดแต่เพียงว่าพวกอาหรับก็คือ พวกขี้ขลาดตาขาวเพียงแค่กองทัพเล็ก ๆ เคลื่อนพลมาจากประเทศฮะบะชะฮฺ พวกอาหรับก็ทิ้งบ้านเรือนทิ้งมักกะฮฺวิ่งหนีแตกกระเจิงไปหลบซ่อนตัวอยู่ตามภูเขาเสียแล้ว ทว่าพวกเขาไม่สามารถเข้าใจได้เลยว่า อาหรับปัจจุบันมีผู้นำที่มาจากพระผู้เป็นเจ้า มีคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์พวกเขาไม่เหมือนกับอาหรับสมัยก่อนแล้ว
๔. ภายใน ๒๓ ปี ท่านได้วางรากฐานกฏหมายขึ้นปกครองอาณาจักร์ ซึ่งสามารถปรับปรุงแก้ไขและให้คำตอบแก่ความต้องการทั้งหลายของประชาชนได้ กฏหมายฉบับดังกล่าวได้ดำเนินมาจนถึงปัจจุบันและจะำดำเนินต่อไปตราบถึงกาลอวสานของโลก การปฏิบัติตามกฏหมายด้งกล่าวจะทำให้มนุษย์พบกับความผาสุกทั้งโลกนี้และโลกหน้า ไม่มีวันเก่าและล้าสมัยอย่างเด็ดขาด ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า สิ่งอนุมัติของมุฮัมมัด จะอนุมัติตลอดไปตราบจนถึงวันแห่งการอวสาน และสิ่งใดที่ไม่อนุมัติของมุฮัมมัด จะไม่อนุมัติตลอดไปตราบจนถึงวันแห่งการอวสาน [๑๐]
แน่นอนกฏหมายฉบับดังกล่าวจะดำรงตลอดไป เนื่องจากปัจจุบันสถาบันศาสนาและนักปราชญ์ผู้มีความเชี่ยวชาญได้นำกฏหมายฉบับดังกล่าวมาบูรณาการ ค้นคว้าวิจัย และนำไปเป็นตำราสอนภายใต้ชื่อว่า หน้าที่การปฏิบัติและหลักการของศาสนา
อภินิหารที่เป็นอมตนิรันดร์ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) คืออัล-กุรอาน ซึ่งมีสายรายงานที่แน่นอน และเป็นความมหัศจรรย์ที่เป็นอมต อัล-กุรอานที่ถูกประทานลงมาแก่ท่านภายใน ๒๓ ปี และจนถึงปัจจุบันสังคมต่าง ๆ ได้มีการสัมนา และวิเคราะห์วิจัยกันอย่างกว้างขวาง ไ้ด้สร้างความประหลาดใจให้กับนักวิชาการเหล่านั้น อีกด้านหนึ่งอัล-กุรอานได้ปกป้องเกียรติยศและความสูงศักดิ์ของตัวเองให้รอดพ้นจากเปลี่ยนแปลงแก้ไขไม่ว่าจะมากหรือน้อย ขณะเดียวกันมีตำราอธิบายอัล-กุรอาน และตำราอื่นหลายร้อยชุดได้เขียนขึ้นมาเพื่ออธิบายคำ ความหมาย และแก่นแท้ของอัล-กุรอาน อัล-กุรอานกล่าวถึงการปกป้องตัวเองว่า
إِنَّا نَحْنُ نَزَّلْنَا الذِّكْرَ وَإِنَّا لَهُ لَحَافِظُونَ
แท้จริงเราได้ให้ข้อตักเตือน (อัล-กุรอาน) ลงมา และแท้จริงเราเป็นผู้ปกป้องรักษาอย่างแน่นอน[๑๑]
อีกหนึ่งในอภินิหารของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) คือการมีทายาทที่บริสุทธิ์ ซึ่งเฉพาะตำแหน่งศาสดาที่สูงส่งเท่านั้นทีสามารถให้บุตรีและอิมามที่บริสุทธิ์เป็นมรดกแก่สังคม ถ้าหากเราพิจารณาความรู้ วิถีชีวิต คำพูด และการกระทำของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ด้วยจิตใจที่เป็นธรรม สามารถกล่่าวได้อย่างบริสุทธิ์ใจว่า พวกเขาแต่ละคนเสมือนอัล-กุรอาน ที่เป็นความมหัศจรรย์หนึ่งเดียว และเป็นเหตุผลที่ยืนยันถึงการเป็นศาสดา สมมุติว่า ไม่มีเหตุผลอื่นยืนยันการเป็นศาสดาอีกแล้ว การมีอยู่ของบรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ เฉกเช่นอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) นั้นเป็นเหตุผลที่เพียงพอและมีความสมบูรณ์ทีสุด
อิมามมัต เป็นหนึ่งในหลักการศรัทธาของชีอะฮฺ ซึ่งหลังจากได้อธิบายถึงนะบูวัตแล้วทำให้ประจักษ์ชัดว่าการมีอยู่ขออิมามเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับศาสนาและสังคมเหมือนกับตำแหน่งของศาสดา ตำแหน่งศาสดาได้รับการแต่งตั้ง่จากอัลลอฮฺ (ซบ.) ตำแหน่งอิมามัตและเคาะลิฟะฮฺของท่านศาสดาผู้มีหน้าที่พิทักษปกป้องอิสลาม และหลักการภายหลังจากศาสดาก็ต้องได้รับการแต่งตั้งจากอัลลอฮฺ (ซบ.) เหมือกัน ภาระกินนี้ไม่ใช่หน้าที่ของประชาชน ซึ่งประชาชนไม่สามารถและไม่มีสิทธิ์ทำการกำหนด หรือเลือกตั้งตัวแทนของท่านศาสดาเด็ดขาดเพราะไม่ใช่หน้าที่ของตนที่จะมาเลือกสรรตัวบุคคลขึ้น เพื่อทำการอธิบายกฏระเบียบต่างของอัลลอฮฺ (ซบ.) ประเด็นนี้มีเหตุผลอ้างอิงมากมาย แต่จะะนำเสนอเ่ท่าที่จำเป็นเท่านั้น
ประการที่ ๑. ดังที่กล่าวไปแล้วว่าตำแหน่งอิมามัตกับตำแหน่งนะบูวัตไม่ได้แตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้เหตุผลที่ใช้พิสูจน์การมีอยู่ของนะบูวัต ก็เป็นเหตุผลที่ใช้พิสูจน์การมีอยู่ของอิมามเช่นกัน หรืออีกนัยหนึ่งคือการมีอยู่ของอิมามัตสามารถพิสูจน์ได้ด้วยเหตุผลของการมีอยู่ของนะบูวัต
ประการที่ ๒. เป็นที่ประจักษณ์ชัดสำหรับทุกคนว่าอิมามได้เป็นผู้พิทักษ์ความถูกต้องศาสนา อัล-กุรอาน และประชาช่าาติให้รอดพ้นจากความตกต่ำและความชั่วทั้งหลาย ฉะนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ความยุติธรรมและความเมตตาของอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้เป็นตัวกำหนดว่าเป็นความจำเป็นสำหรับพระองค์ที่ต้องทำการแต่่งตั้งอิมาม ถ้าสมมติว่าพระองค์ไม่ได้กำหนด นอกจากจะทำให้หลักาการและความถูกต้องของศาสนาต้องหมดไปแล้ว ยังก่อให้เกิดความเสียหายอื่น ๆ และทำให้ประชาชนลืมความเพียรพยายามของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) คำสอนของศาสนา และอัล-กุรอานอีกต่างหาก ซึ่งถือว่าเป้าหมายของพระผู้เป็นเจ้าบกพร่อง ขณะที่ความบกพร่องจะไม่เกิดกับพระองค์อย่างเด็ดขาด ดังนั้น การไม่แต่งตั้งอิมามจึงเป็นไปไม่ได้
ประการที่ ๓. ดังที่กล่าวถึงเหตุผลของความจำเป็นในการมีอิมามไปแล้ว บรรดาอิมามต้องเป็นผู้บริสุทธิื์์์ (มะอฺซูม) จากบาป มีคุณลักษณะสมบูรณ์ในการเป็นมนุษย์ ปราศจากการครอบงำของอบายมุขทั้งหลาย เป็นผู้มีจิตใจสะอาด ต้องมีความรู้ครอบคลุมเหนือความต้องการของมนุษย์ทั้งหมด และต้องสามารถแก้ใขปัญหาและข้อสงสัยต่าง ๆ ของประชาชนได้ สรุปอิมามต้องเป็นผู้มีความสมบูรณ์ในทุก ๆ ด้านเหนือคนอื่น ซึ่งภารกิจเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นศาสตร์ด้านใน ไม่มีใครสามารถเข้าใจได้นอกจากผู้ที่ล่วงรู้ในความเร้นลับ ดังนั้น การแต่งตั้งบุคคลเช่นนี้เป็นสิ่งพ้นญาณวิสัยของมนุษย์ อัล-กุรอานกล่าวว่า
اللّهُ أَعْلَمُ حَيْثُ يَجْعَلُ رِسَالَتَهُ
อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงรอบรู้ยิ่ง ที่พระองค์ทรงให้มีสารของพระองค์ขึ้น [๑๒]
وَرَبُّكَ يَخْلُقُ مَا يَشَاءُ وَيَخْتَارُ مَا كَانَ لَهُمُ الْخِيَرَةُ سُبْحَانَ اللَّهِ وَتَعَالَى عَمَّا يُشْرِكُونَ
และพระผู้อภิบาลของเจ้าทรงสร้างสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์และทรงเลือก สำหรับพวกเขาไม่มีสิทธิ์ในการเลือก [๑๓]
ด้วยเหตุนี้ การแต่งตั้งอิมามผู้เป็นตัวแทนของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) ที่อยู่นอกเหนือความรับผิดชอบของมนุษย์ บนหลักการดังกล่าวชีอะฮฺจึงมีความเชื่อโดยหลักการว่า ด้วยพระบัญชาของพระองค์ และการดำการของท่่านศาสดา (ซ็อล ฯ) บรรดาสิบสองอิมามผู้ทำหน้าที่ชี้นำประชาชาติภายหลังจากท่านศาสาดา (ซ็อล ฯ) จึงได้ถูกแต่งตั้งขึ้น ซึ่งท่านศาสดาเป็นผู้ประกาศการแต่งตั้งพร้อมนามของท่านเหล่านั้นอย่างชัดเจนแก่ประชาชน
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้แนะนำอิมามท่านที่หนึ่งให้ประชาชนได้รู้จัก ตั้งแต่วันแรกที่ท่่านทำการประกาศเชิญชวนประชาชนเข้ารับอิสลาม
หลังจากได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดาท่านได้เผยแผ่อิสลามอย่างลับ ๆ อยู่นานถึง ๓ ปี จนกระทั่งโองการ จงตักเตือนวงศาคณาญาติของเจ้าที่ใกล้ชิด (อัชชุอะรออฺ ๒๑๔) ถูกประทานลงมา ท่านจึงได้เชิญญาติชั้นใกล้ชิดประมาณ ๔๐ คนมาที่บ้านของท่าน หลังจากรับประทานอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้วท่านได้กล่าวกับแขกที่อยู่ ณ ที่นั้นว่า โอ้บุตรหลานของอับดุลมุฏ็อลลิบเอ๋ย ฉันไม่คิดว่าจะมีชายหนุ่มแห่งคราบสมุทรอาหรับคนใดนำสิ่งหนึ่งมายังเผ่าชนของเขา ที่ดีไปกว่าสิ่งที่ฉันได้นำมายังพวกท่าน ฉันได้นำความดีทั้งโลกนี้และโลกหน้ามาให้พวกท่าน พระผู้เป็นเจ้าได้มีับัญชาแก่ฉันให้ทำเชิญชวนพวกท่านมาสู่ศาสนาที่เที่ยงธรรม และสู่การเคารพภักดีในพระเจ้าองค์เดียว จะมีใครในหมู่พวกท่านช่วยเหลือฉันปฏิบัติภารกิจที่ยิ่งใหญ่นี้บ้างไหม เพื่อฉันจะได้แต่งตั้งให้เขาเป็นพี่น้องและเป็นเคาะลิฟะฮฺของฉันภายหลังจากฉัน แขกส่วนใหญ่ต่างส่ายศีรษะบ่งบอกความไม่พอใจและการไม่ยอมรับภาระอันยิ่งใหญ่ของท่าน ยกเว้นท่านอะลีซึ่งมีอายุน้อยที่สุดเพียงคนเดียวได้ยืนขึ้นและกล่าวด้วยเสียงดังฟังชัดว่า โอ้ยาเราะซูลัลลอฮฺ ฉันขอเป็นผู้ช่วยเหลือท่านเอง
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้จับมือท่านอะลีชูขึ้นพร้อมทั้งกล่าวว่า
اِنَّ هَذَا اَخِى وَ وَصِيي وَ خَلِيْفَتِي فِيْكُمْ فَاسْمَعُوْا لَهُ وَ اَطِيْعُوهُ
แท้จริงเขาคือพี่น้องและเป็นตัวแทนของฉันในหมู่พวกท่าน พวกท่านจงเชื่อฟังและปฏิบัติตามเขา
แขกที่อยู่ ณ ที่นั้นได้พากันลุกขึ้นยืนพร้อมทั้งยิ้มและหัวเราะเยาะเย้ยท่านศาสดา พวกเขาได้กล่าวเสียดสีท่านอบูฏอลิบว่า เขาได้สั่งให้เจ้าเชื่อฟังและปฏิบัติตามบุตรชายของเจ้า
ฮะดีซดังกล่าวนักวิชาการส่วนใหญ่ฝ่ายอะฮฺลิซซุนนะฮฺ เช่น ท่านอิบนุญะรีร อิบนุอบีฮาตัม อิบนุมัรดะวียะฮฺ อบูนะอีม บัยฮะกียฺ ซุอฺละบียฺ ฏ็อบรียฺ อิบนุอะซีร อบุลฟิดาอฺ และอีหลายท่านได้เป็นผู้บันทึกและรายงานฮะดีซไว้ [๑๔]
จากฮะดีซดังกล่าวทำให้รู้ว่าการเชิญชวนไปสู่นะบูวัตและอิมามมัตนั้นเป็นไปพร้อมกันและเคียงคู่กันเสมอ การให้ความเคารพภักดีและการยอมรับที่มีต่อนะบูวัตอย่างไรก็มีต่ออิมามัตอย่างนั้น การยอมรับนะบูวัตโดยปราศจากการยอมรับอิมามัตมิใช่เป้าหมายของอิสลาม และมิได้เป็นการทำให้อุดมการณ์ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) สมบูรณ์
หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ประกาศแต่งตั้งท่านอิมามอะลี (อ.) ตามวาระต่าง ๆ อีกหลายต่อหลายครั้ง พร้อมทั้งอัล-กุรอานอีกหลายโองการที่ถูกประทานลงมายืนยันถึงเรื่องการแต่งตั้งท่านอิมามอะลี (อ.) จนกระทั่งโองการสุดท้ายถูกประทานลงมา ขณะเดินทางกลับจากการบำเพ็ญฮัจญ์ครั้งสุดท้ายในปี ฮ.ศ. ที่ ๑๐ ซึ่งเป็นวาระสุดท้ายแห่งชีวิตอันจำเริญของท่านพอดี จึงได้เรียกพิธีฮัจญ์ครั้งนั้นว่า ฮัจญะตุลวะดา มีผู้ร่วมรับรู้เหตุการณ์ดังกล่าวประมาณ ๑๒๐,๐๐๐ คน
ขณะทีท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เดินทางกลับจากการบำเพ็ญฮัจญ์ครั้งสุดท้าย โดยมุ่งหน้าไปสู่มะีดีนะฮฺเมื่อมาุึถึงยังสถานที่หนึ่งชือว่า เฆาะดีรคุม ญิบรออีลได้ลงมาพร้อมทั้งสั่งให้ท่านหยุดการเดินทางไว้ก่อน ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จึงได้สั่่งกองคาราวานของท่านให้หยูด ทุกคนต่างนแปลกใจและคิดว่าต้องมีอะำไรเกิดขึ้นอย่าง แน่นอนท่านจึงได้สังให้หยุดการเดินทางอย่างกระทันหันท่ามกลางอากาศที่ร้อนระอุ แห้งแล้ง ปราศจากน้ำและต้นไม้ ต่างพูดกันไปต่าง ๆ นานา บางกล่าวว่าคงจะมีโองการประทานลงมาอย่างแน่นอน ในเวลานั้นโองการนี้ได้ถูกประทานลงมาพอดี
يَا أَيُّهَا الرَّسُولُ بَلِّغْ مَا أُنزِلَ إِلَيْكَ مِن رَّبِّكَ وَإِن لَّمْ تَفْعَلْ فَمَا بَلَّغْتَ رِسَالَتَهُ وَاللّهُ يَعْصِمُكَ مِنَ النَّاسِ إِنَّ اللّهَ لاَ يَهْدِي الْقَوْمَ الْكَافِرِينَ
โอ้เราะซูลเอ๋ย จงประกาศสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เจ้าจากพระผู้อภิบาลของเจ้า และถ้าเจ้ามิได้ปฏิบัติ เท่ากับเจ้ามิได้ประกาศสารของพระองค์ และอัลลอฮฺทรงคุ้มกันเจ้าจากมนุษย์ แท้จริงอัลลอฮฺมิทรงนำทางกลุ่มชนผู้ปฏิเสธ[๑๕]
ผู้อะซานได้อะซานเพื่อเชิญชวนให้ทุกคนนมาซซุฮฺริพร้อมกัน หลังจากนมาซซุฮฺรฺเสร็จเีรีัยบร้อยแล้วท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ประกาศให้ทุกคนหยุดอยู่กับที่เพื่อฟังคำกล่าวเทศนา หลังจากนั้นท่านได้สั่งให้เอาอานอูฐมาเรียงทับกันเพื่อทำเป็นมิมบัร และท่่านได้ขึ้นไปยืนอยู่บนนั้นเมื่อกล่าวสรรเสริญพระผู้อภิบาลเรียบร้อยแล้ว ท่านได้กล่าวว่า เหลือเวลาอีกไม่นานฉันคงต้องจากพวกท่านทั้งหลายไปอย่างถาวร เราทุกคนต่างมีภาระหน้าที่ต้องรับผิดชอบ ท่านได้กล่าวเทศนาไปจนถึงประโยคที่ว่า
ฉันขอฝากสิ่งหนักสองสิ่งที่ค่ายิ่งไว้ในหมู่พวกท่าน ซึ่งพวกท่านจะตัดสินใจอย่างไรเกี่ยกับสิ่งสำคัญทั้งสองนี้
หนึ่งจาำกหมู่ชนได้ยืนขึ้นและร้องถามว่าสิ่งสำคัญสองสิ่งนั้นคืออะไร
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า สิ่งหนักประการแรกคือ อัล-กุรอานอันเปรียบเสมือนสายเชือกที่ทอดตรงมาจากฟากฟ้า ซึ่งปลายเชือกด้านหนึ่งอยู่ในพระหัตถ์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) ส่วนอีกด้านหนึ่งอยู่ในมือของพวกท่าน จงจับสายเชือกไ้วให้มั่นเพื่อพวกท่านจะได้ไม่หลงทาง ส่วนสิ่งหนักอีกประการหนึ่งได้แก่ ครอบครัวของฉัน (อิตเราะตี) อัลลอฮฺ ผู้ทรงปรีชาญาณ ผู้ทรงรอบรู้ยิ่งได้แจ้งกับฉันว่า สิ่งสองสิ่งนี้จะไม่มีวันแยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด จนกว่าทั้งสองจะย้อนคืนสู่ฉัน ณ บ่อน้ำแห่งสรวงสวรรค์ พวกท่านทั้งหลายจงอย่าได้ล้ำหน้าและอย่าล้าหลังจากทั้งสองเพราะจะทำให้พวกท่านพบกับความหายนะตลอดไป
ช่วงเวลานั้นทุกคนต่างมองเห็นว่าท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กำลังกวาดสายตามองหาของสำคัญสิ่งหนึ่ง และสายตาของท่านได้จดจ้องอยู่ที่ท่่านอะลี ท่านได้ก้มลงพร้อมกับจับมือของท่านอะลีชูขึ้นจนเห็นความขาวนวลใต้รักแร้ของทั้งสอง ซึ่งทุกคนได้เห็นและจำได้ว่าเป็นท่านอะลี เวลานั้นท่านศาสดาได้ร้องถามทุกคนว่า ใครมีฐานะภาพดีกว่าผู้ศรัทธาและชีวิตของเขา
ทุกคนตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า อัลลอฮฺ และเราะซูลของพระองค์เป็นผู้รู้ดียิ่ง
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นผู้คุ้มครองและเป็นนายฉัน ส่วนฉันเป็นผู้ปกครองและเป็นนายของบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย หลังจากนั้นท่านได้กล่าวว่า
فمن كنت مولاه فعليٌ مولاه
ฉะนั้น ใครก็ตามที่ฉันเป็นผู้ปกครองเขา อะลีก็เป็นผู้ปกครองเขาด้วย ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้กล่าวประโยคนี้ซ้ำถึง ๓-๔ ครั้ง ด้วยกันหลังจากนั้นท่านได้กล่าวต่ออีกว่า
اللهمَّ والٍ من والاهُ وعاد من عاداه وأحبّ من احبّه وابغِض من ابغضه وانصر من نصره واخذل من خذله وادر الحق معه حيث مادار
โอ้ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ขอพระองค์ทรงเป็นมิตรผู้ที่เป็นมิตรกับเขา ทรงเป็นศัตรูกับผู้ที่เป็นศัตรูกับเขา ทรงรักผู้ที่รักเขา ทรงเกลียดชังผู้ที่เกลียดชังเขา ทรงช่วยเหลือผู้ที่ช่วยเหลือเขา ทรงหันห่างผู้ที่หันห่างจากเขา ขอทรงให้สัจธรรมอยู่กับเขา และทรงอย่าแยกเขาออกจากสัจธรรม
เมื่อการเทศนาจบลงโองการได้ถูกประทานลงมาเพื่อเป็นการสำทับว่า
الْيَوْمَ يَئِسَ الَّذِينَ كَفَرُواْ مِن دِينِكُمْ فَلاَ تَخْشَوْهُمْ وَاخْشَوْنِ الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمُ الإِسْلاَمَ دِينًا
วันนี้บรรดาผู้ปฏิเสธต่างหมดหวังในศาสนาของสูเจ้า ดังนั้นจงอย่ากลัวพวกเขา แต่จงกลัวฉัน วันนี้ฉันได้ทำให้ศาสนาของเจ้าสมบูรณ์สำหรับสูเจ้าแล้ว และฉันได้ให้ความโปรดปรานของฉันครบถ้วนแก่สูเจ้าแล้ว และฉันได้เลือกอิสลามให้เป็นศาสนาสำหรับสูเจ้า [๑๖]
ในเวลานั้นทุกคนต่างแสดงความดีใจกับท่านอะลีกันอย่างถ้วนหน้า อบูบักรฺและอุมัร เคาะลิฟะฮฺที่ ๑ และ ๒ ได้เข้ามาแสดงความดีใจกับท่านอะลี (อ.) ต่อหน้าประชาชน และกล่าวว่า
بخٍّ بَخِّ لك يابن أبي طالب اصبحت و امسيت مولاي و مولا كلِّ مؤمن و مؤمنةٍ
ยินดีด้วย ยินดีด้วย สำหรับท่านโอ้บุตรของอบีฏอลิบ ท่านได้กลายเป็นผู้ปกครองและเป็นนายของฉัน และของผู้ศรัทธาชนชายและหญิงถ้วนหน้า
ในช่วงท้ายสุดของการกล่าวเทศนา ท่่านอัซซาน บิน ซาบิต ได้ลุกขึ้นขออนุญาตท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และกล่าวบทกลอนว่า
فقَال له قُم يا علي فانّني رضيتك من بعدي امامُا و هاديا
ดังนั้น ท่านศาสดาได้กล่าวกับท่านอะลีว่า ลุกขึ้นเถิด โอ้อะลีเอ๋ย ฉันได้เลือกเจ้าให้เป็นอิมาม และผู้ชี้นำหลังจากฉัน
สิ่งที่กล่าวมาเป็นบทสรุปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นของฮะดีซเฆาะดีรคุม นอกจากอุละมาอฺฝ่ายชีอะฮฺได้่รายรายงานไว้แล้ว อุละมาอฺฝ่ายซุนนียฺจำนวนมากได้รายงานฮะดีซดังกล่าวไว้เช่นกัน เช่น ท่านฮาฟิซ อบู ซะอีด ซะญิซตานียฺ, อบูนะอีม เอซฟาฮานียฺ, อบุลฮะซัน วาฮิดียฺ นีชาบูรียฺ, อิบนุ อะซากิร ชาฟีอียฺ, ฟัครุร รอซียฺ, ฮุมูวัยนียฺ, อิบนุซิบาฆ มาลิกียฺ, ญะลาลุดดีน ซุยูฏียฺ, อาลูซียฺ, กันดูซียฺ, บัดรุดดีน ฮะนะฟียฺ, เชคมุฮัมมัด อับดุ มิซรียฺ และยังมีอุละมาอฺอีกจำนวนมากที่รายงานฮะดีซเฆาะดีรไว้[๑๗]
แต่น่าเสียดายที่ว่าอุละมาอฺฝ่ายซุนนียฺจำนวนมากมายได้รายงานฮะดีซเฆาะดีรไ้ว้ในตำราของตน แต่เนื่องจากกลัว หรือสภาพแวดล้อม หรือสถานการณ์ไม่เอื้ออำนวย หรือเป็นเพราะความอคติ จึงเป็นสาเหตุทำให้พวกเขาไม่สนใจฮะดีซ หรือให้ความสำคัญน้อยทั้งที่พวกเขาเป็นผู้รายงานไว้เอง อย่างไรก็ตาม โอ้ยาอัลลอฮฺ ขอพระองค์โปรดรวมพวกเราเข้ากับมวลมิตรของอัลลอฮฺผู้เป็นนายของเรา และรวมพวกเขาเข้ากับผู้เป็นนายของพวกเขาด้วยเถิด
สมมุติว่าไม่ให้ความสนใจต่อฮะดีซเฆาะดีร แต่ไม่สามารถละเลยฮะดีซบทแรกที่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้กล่าวขณะประกาศเชิญชวนพี่น้องชั้นใกล้ชิดให้เข้ารับอิสลาม ตลอดจนฮะดีซซะเกาะลัยนฺ และฮะดีซบทอื่น ที่ท่่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ประกาศแต่งตั้งท่านอิมามอะลี (อ.) และอะอิมมะฮฺท่านอื่นทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ซึีงอุละมาอฺฝ่ายซุนนียฺจำนวนไม่น้อยได้รายงานเอาไว้ และทั้งหมดล้วนเป็นเหตุผลทที่ถูกต้องทั้งสิ้น
เนื่องจากฮะดีซในทำนองนี้มีมากประกอบกับผู้รายงานก็มีจำนวนมากจนถึงขั้น ตะวาติร (หมายถึงไม่อาจคิดถึงความเท็จของฮะดีซได้ทั้งตัวบท กระแสรายงาน และผู้รายงาน) จึงไม่อาจหาข้อกล่าวอ้าง หรือเปลี่ยนแปลง หรือแก้ใขให้ไกลจากความเป็นจริงเพื่อหลอกลวงประชาชนได้ อัล-กุรอานกล่าวสำทับว่า
لِّيَهْلِكَ مَنْ هَلَكَ عَن بَيِّنَةٍ وَيَحْيَى مَنْ حَيَّ عَن بَيِّنَةٍ وَإِنَّ اللّهَ لَسَمِيعٌ عَلِيمٌ
เพื่อว่าผู้พินาศจะได้พินาศลงโดยหลักฐานอันชัดแจ้ง และผู้มีชีวิตอยู่จะได้มีชีวิตอยู่โดยหลักฐานอันชัดแจ้ง และแท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงได้ยินผู้ทรงรอบ [๑๘]
นามของบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ท่านอื่น ๆ ซึ่งจะขอกล่าวนามเพียงอย่างเดียวโดยไม่กล่าวถึงประวัติ
๒. ท่านอิมาม ฮะซัน มัจตะบา (อ.)
๓. ท่านอิมาม ฮุซัยนฺ (อ.)
๔. ท่านอิมาม อะลี บิน ฮุซัยนฺ ซัยนุลอาบิดีน (อ.)
๕. ท่านอิมาม มุฮัมมัด บิน อะลี อัล บากิร (อ.)
๖. ท่านอิมาม ญะอฺฟัร บินมุฮัมมัด อัซ ซอดิก (อ.)
๗. ท่านอิมาม มูซา บิน ญะอฺฟัร อัล กาซิม (อ.)
๘. ท่านอิมาม อะลี บิน มูซา อัร ริฎอ (อ.)
๙. ท่านอิมาม มุฮัมมัด บิน อะลี อัล ญะวาด (อ.)
๑๐. ท่านอิมาม อะลี บิน มุฮัมมัด อัล ฮาดียฺ (อ.)
๑๑. ท่านอิมาม ฮะซัน บิน อะลี อัล อัซการียฺ (อ.)
๑๒. ท่านอิมาม ฮุจญะติบนิลฮะซัน อัล มะฮฺดียฺ (อ.)
อิมามท่านที่ ๑๒ ชีอะฮฺเชื่อโดยหลักการว่าท่านยังมีชีวิตอยู่ตราบจนถึงปัจจุบัน แต่อยู่ในสภาพของการเร้นกายตามพระบัญชาของอัลลอฮฺ (ซบ.) และท่านจะปรากฏกายอีกครั้งตามพระประสงค์ของพระองค์ เพื่อทำการจัดตั้งรัฐบาลอิสลามขึ้นปกครองโลกด้วยความยุติธรรมเหมือนดั่งที่โลกได้ถูกปกครองด้วยการกดขี่ ยาอัลลอฮฺ ขอทรงโปรดให้ท่านปรากฏกายโดยเร็วด้วยเถิด
สิ่งจำเป็นอีกประการหนึ่งที่ต้องกล่าวคือ ชีอะฮฺเชื่อโดยหลักการเช่นกันว่า ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) บุตรีของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ภิริยาของท่านอิมามอะลี (อ.) มารดาของบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ และเป็นหัวหน้าสตรีทั้งโลกนี้และโลกหน้า ท่านหญิงเป็นแบบอย่างของมนุษย์ในทุกยุคทุกสมัยและทุกกาลเวลา และเนื่องจากท่านหญิงเป็นหนึ่งใน ๑๔ มะอฺซูมผู้บริสุทธิ์ ดังนั้น คำพูด การกระทำ และการนิ่งเฉยของท่านจึงเป็นฮุจญัต (เหตุผล) สำหรับมุสลิมทั้งหลาย
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า ความพึงพอใจของฟาฏิมะฮฺคือ ความพึงพอใจของอัลลอฮฺและฉัน ความโกรธของฟาฏิมะฮฺคือ ความโกรธของอัลลอฮฺและฉัน ฉะนั้น ผู้ใดทำให้เธอโกรธเท่ากับทำให้อัลลอฮฺและฉันโกรธ
ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นนามของบรรดาอิมามผู้เป็นอิตเราะตีอะฮฺลุบัยตียฺ (ลูกหลานชั้นใกล้ชิด) ของท่านศาสดา และเป็นผู้มีคุณลักษณะทั้งหมดของท่านศาสดาอยู่ในตัว ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้แนะนำลูกหลานของท่่านแก่ประชาชนครั้งแล้วครั้งเล่า และได้บอกกับประชาโลกทั้งหลายว่าอะฮฺลุลบัยตฺของท่านอยู่เคียงข้างกับอัล-กุราอานเสมอโดยที่ทั้งสองจะไม่แยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด ท่านกล่าวว่า
انّي مخلّف فيكم الثقلين: كتاب الله و عترتي اهل بيتي، لن تضلّوا ما تمسكتم بهما
แท้จริงฉันได้ฝากสิ่งหนักสองสิ่งไว้ในหมู่พวกท่านได้แก่ คัมภีร์ของอัลลอฮฺ และทายาทของฉัน ทั้งสองจะไม่แยกออกจากันและจงยึดมั่นทั้งสองไว้ให้มั่น [๑๙]
อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้กำหนดภารกิจอันยิ่งใหญ่ ๒ ประการให้เป็นความรับผิดชอบของมนุษย์ได้แก่ การชี้นำและการเป็นผู้นำด้านศาสนจักร ซึ่งการรู้จักกับพวกเขาจะเป็นสิ่งโน้มนำไปสู่ความเข้าใจในความรู้ต่าง ๆ ของอิสลาม จริยธรรมอันสูงส่ง และกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ทางศาสนาและทางโลกจากเนื้อหาสาระของอัล-กุรอาน แบบฉบับของท่านศาสดา และการอิลฮาม (ดลใจ) จากอัลลอฮฺ (ซบ.)
ประการที ๒. ผู้นำด้านอาณาจักร หมายถึงการปกครองสังคมและการนำเอากฏเกณฑ์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) ออกมาปฏิบัติกับสังคม หรืออีกนัยหนึ่งคือ การดำเนินการปกครองตามระบอบของอิสลามโดยมีอัล-กุรอานเป็นธรรมนูญสูงสุดในการปกครอง ดังดุอาอฺที่กล่าวเป็นประจำว่า
اَللَّهُمَّ إِنَّا نَرْغَبُ إِلَيْكَ فِي دَوْلَةٍ كَرِيْمَةٍ تُعِزُّبِهَا الْاسْلاَمَ وَ اَهْلَهُ، وَتُذِلُّ بِهَا النِّفَاقَ وَ اَهْلَهُ، وَ تَجْعُلُنَا فِيْهَا مِنَ الدُّعّاةِ إِلى طَاعَتِكَ وَ الْقَادَةِ إِلَى سَبِيْلكَ، وَ تَرْزُقْنَا بِهَا كَرَامَةَ الدُّنْيَا وَ الْآخِرَةِِ، بِحَقِّ مُحَمَّدٍ وَ آلِهِ الطَّاهِرِيْن، آمِيْنَ رَبَّ العَالَمِيْنَ
โอ้ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พวกเราปรารถนาให้พระองค์จัดตั้งรัฐบาลแห่งเกียรติยศ และทรงทำให้อิสลามและมุสสลิมได้ยิ่งใหญ่ด้วยรัฐบาลนั้น ขอพระองค์ทรงทำให้บรรดาผู้ฝ่าฝืนและพลพรรคตกต่ำ ขอพระองค์โปรดทำให้พวกเราเป็นผู้ได้รับเชิญไปสู่การเคารพภักดีและนำเราไปสู่วิถีทางของพระองค์ด้วยเถิด และโปรดอนุญาตให้พวกเราได้รับเกียรติยศอันยิ่งใหญ่ทั้งโลกนี้และโลกหน้าโดยรัฐบาลนั้น โดยสิทธิ์ของมุฮัมมัดและลูกหลานของมุฮัมมัด ขอพระองค์ทรงโปรด โอ้พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก
สมควรอย่างยิ่งหากได้รับทราบริวายะฮฺต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอิมามมะฮฺดี (อ.) ซึ่งรายงานไว้ทั้งซุนนียฺและชีอะฮฺ แต่ ณ ที่นี้จะไม่ขอกล่าวถึงรายละเอียดของริวายะฮฺจะนำเสนอเฉพาะเนื้อหาสั้น ๆ พร้อมแหล่งที่มาของริวายะฮฺ ดังนี้
๑. ริวายะฮฺที่กล่าวว่า อะอิมมะฮฺ มี ๑๒ ท่าน ท่านแรกคืออะลีและท่านสุดท้ายคือมะฮฺดี (อ.) มีทั้งสิ้น ๙๑ ฮะดีซ
๒. ริวายะฮฺที่กล่าวว่า อิมามมะฮฺดี (อ.) สืบเชื้อสายมาจากครอบครัวของท่านศาสดา (ซ้อล ฯ) มีทั้งสิ้น ๓๘๙ ฮะดีซ
๓. ริวายะฮฺที่กล่าวว่า อิมามมะฮฺ (อ.) เป็นลูกหลานของท่านอิมามอะลี (อ.) มีทั้งสิ้น ๒๑๔ ฮะดีซ
๔. ริวายะฮฺที่กล่าวว่า อิมามมะฮฺดี (อ.) เป็นบุตรหลานของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) มีทั้งสิ้น ๑๙๒ ฮะดีซ
๕. ริวายะฮฺที่กล่าวว่า อิมามมะฮฺดี (อ.) เป็นบุตรคนที่ ๙ ที่สืบเชื้อสายมาจากท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ) มีทั้งสิ้น ๑๔๘ ฮะดีซ
๖. ริวายะฮฺที่กล่าวว่า อิมามมะฮฺดี (อ.) เป็นบุตรหลานของท่านอิมามซัจญาด (อ.) มีทั้งสิ้น ๑๘๕ ฮะดีซ
๗.ริวายะฮฺที่กล่าวว่า อิมามมะฮฺดี (อ.) เป็นบุตรของท่านอิมามฮะซัน อัซการียฺ (อ.) มีทั้งสิ้น ๑๔๘ ฮะดีซ
๘. ริวายะฮฺที่กล่าวว่า อิมามมะฮฺดี (อ.) เป็นอิมามท่านที่ ๑๒ และเป็นอิมามท่านสุดท้าย มีทั้งสิ้น ๑๓๖ ฮะดีซ
๙. ริวายะฮฺที่กล่าวถึง การประสูติของท่านอิมามมะฮฺดี (อ.) มีทั้งสิ้น ๒๑๔ ฮะดีซ
๑๐. ริวายะฮฺที่กล่าวถึงชีวิตที่ยาวนานของท่านอิมามมะฮฺดี (อ.) มีทั้งสิ้น ๓๑๘ ฮะดีซ
๑๑. ริวายะฮฺที่กล่าวถึงการเร้นกายที่ยาวนานของท่านอิมามมะฮฺดี (อ.) มีทั้งสิ้น ๙๑ ฮะดีซ
๑๒. ริวายะฮฺที่กล่าวถึงการปรากฏกายของท่านอิมามมะฮฺดี (อ.) อีกครั้งตามพระประสงค์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) มีทั้งสิ้น ๖๕๗ ฮะดีซ
๑๓. ริวายะฮฺที่กล่าวว่า ท่านอิมามมะฮฺดี (อ.) จะทำให้โลกนี้เต็มเปี่ยมไปด้วยความยุตฺธรรม มีทั้งสิ้น ๑๒๓ ฮะดีซ
๑๔. ริวายะฮฺที่กล่าวว่า ท่านอิมามมะฮฺดี (อ.) จะทำให้โลกมีแต่ความสวยงาม มีทั้งสิ้น ๔๗ ฮะดีซ
ริวายะฮฺที่กล่าวถึงอิมามมะฮฺดี (อ.) ณ ที่นี้รวมได้ทั้งสิ้น ๒๙๕๓ ฮะดีซ [๒๐]
หลักศรัทธาอีกประการหนึ่งซึ่งเป็นที่ยอมรับของศาสนาทั่วไปและคัมภีร์ที่มาจากพระผู้เป็นเจ้าคือ การฟื้นคืนชีพอีกครั้งภายหลังความตายในโลกหน้า หมายถึงชีวิตของมนุษย์ไม่ได้จบสิ้นลงเนื่องจากความตาย ทว่าหลังจากโลกนี้แล้วยังมีอีกโลกหนึ่ง เป็นโลกแห่งการตอบแทนผลรางวัลแก่ผู้ที่ประกอบคุณงามความดี และลงโทษผู้ที่ประกอบกรรมชัวทังหลาย อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า
يَوْمَئِذٍ يَصْدُرُ النَّاسُ أَشْتَاتًا لِّيُرَوْا أَعْمَالَهُمْ َفمَن يَعمَل مِثقَالَ ذَرَّةِ خَيْرًا يَرَهُ وَمَن يَعمَل مِثقَالَ ذَرَّةِ شَرّاً يَرَهُ
ในวันนั้นมนุษย์จะกระจายออกมาเป็นหมู่ ๆ เพื่อให้เห็นผลงานของพวกเขาที่ได้กระทำไว้า ดังนั้น ผู้ใดกระทำความดีหนักเท่าผงธุลี เขาก็จะได้เห็น ส่วนผู้ใดกระทำความชั่วหนักเท่าผงธุลีเขาก็จะเห็นได้ [๒๑]แน่นอนสิ่งเดียวที่่สามาถทำให้มนุษย์หยุดยั้งความประพฤติชั่ว หยุดยั้งการกระทำอบายมุข การกดขี่ข่มเหง การริดรอนสิทธิของคนอื่น และเป็นอุปสรรคขวางกั้นความต้องการของอารมณ์ใฝ่ต่ำ และความอานาจารทั้งหลายได้คือ ความเชื่อในมะอาด หรือเชื่อเรื่องการฟื้นคืนชีพเพีือรอรับการสอบสวนและตอบแทนหรือลงโทษไปตามการกระทำที่ได้ก่อไว้ มะอาดเปรียบเสมือนตำรวจลับที่คอยจับกุมและคอยระวังความประพฤติที่ไม่ดีทั้งเปิดเผยและปิดบังของมนุษย์
ถ้าสังเกตอัล-กุรอานจะพบว่าที่ใดก็ตามที่กล่าวถึงความศรัทธาและผู้ศรัทธา จะกล่าวว่ารากฐานที่มั่นคงของทั้งสองอยู่ที่ความเชื่อเรื่องพระผู้สร้างและวันแห่งการฟื้นคืนชีพ หลังจากนั้นจะกล่าวถึงส่วนประกอบสำคัญของความศรัทธาอันได้แก่ ความยำเกรงและการปฏิบัติคุณงามความดี (อมัลซอลิฮฺ)
ทว่าในความเป็นจริงความเชื่อเรื่องมะอาดเป็นความจำเป็นของความเชื่อเรื่องพระผู้สร้าง ดังนั้น บุคคลใดก็ตามที่สารภาพว่าตนมีความเชื่อเรื่องพระผู้สร้าง เท่ากับเขาได้เชื่อเรืองการฟื้นคืนชีพไปโดยปริิยาย ด้วยเหตุนี้ พื้นฐานความเชื่อของศาสนาที่มาจากพระผู้เป็นเจ้า หรือศาสนาที่มีความเชื่อต่อศาสดาองค์ใดองค์หนึ่งจะยอมรับเรื่องการฟื้นคืนชีพไปในตัว
สรุป เหตุผลทั้งทางสติปัญญา รายงานฮะดีซ และอัล-กุรอานได้บ่งบอกถึงความจำเป็นของการทีมะอาด ในความหมายก็คือ บุคคลใดก็ตามที่ยอมรับการมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า เขาก็จะยอมรับมะอาด หมายถึงยอมรับเรื่องการฟื้นคืนชีพ การรวมตัวกัน ณ สนามสอบสวน การสอบสวน การตอบแทนผลบุญ การลงโทษไปตามบาปกรรม สวรรค์และนรก ดังที่กล่าวไปแล้วว่าอัล-กุรอานและริวายะฮฺได้บ่งชี้ว่าการศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้าเป็นความจำเป็นของความศรัทธาที่มีต่อมะอาด อีกนัยหนึ่งความเชื่อในเรื่องพระผู้สร้างและมะอาดเป็นสิ่งคู่กัน และวางอยู่บนรากฐานความเชื่อเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ เหตุผลที่โน้มนำเราไปสู่ความเชื่อต่อหลักศรัทธา ๔ ประการตามที่กล่าวมาแล้ว ย่อมเป็นเหตุผลที่ทำให้เรามีความเชื่อเรื่องมะอาดด้วยเช่นกัน
สิ่งที่ได้นำเสนอมาทั้งหมดเป็นบทสรุปของหลักการศรัทธาทางศาสนาและนิกาย ฉะนั้น ถ้าต้องการศึกษาเพิ่มเติมเกียวกับหลัศรัทธาโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักศรัทธาของนิกายชีอะฮฺ ๑๒ อิมาม และความรู้ทั่วไปของอิสลาม สามารถศึกษาได้จากตำราต่าง ๆ ที่ได้เขียนถึงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ซึ่งมีจำนวนมากมาย ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า
اَوَّلُ الدِّيْنِ مَعْرِفَتَهُ، وَكَمَالُ المْعَرِْفَتِهِ التَّصْدِيْقُ بِهِ، وَ كَمَالُ التَّصْدِيْقُ بِهِ تَوْحِيْدُهُ، وَكَمَالُ التَّوْحِيْدِهِ الْاِخْلاَصُ لَهُ
สิ่งสำคัญประการแรกของศาสนาคือการรู้จักพระองค์ ความสมบูรณ์ของการรู้จักคือการยอมรับในอาตมันสากลของพระองค์ ความสมบูรณ์ของการยอมรับในอาตมันสากลอยู่ที่ความเป็นเอกะของพระองค์ และความสมบูรณ์ในการยอมรับความเป็นเอกะของพระองค์อยู่ที่ความบริสุทธิ์ใจที่มีต่อพระองค์ [๒๒]
اَللَّهُمَّ عَرِّقْنِي نَقْسَكَ فَانَّكَ اِنْ لَمْ تُعَرِّفْنِيْ نَفْسَكَ لَمْ اَعْرِفْ رَسُوْلَكَ، اَللَّهُمَّ عَرِّفْنِيْ رَسُوْلَكَ فَانَّكَ اِنْ لَمْ تُعَرِّفْنِيْ رَسُوْلَكَ لَمْ اَعْرِفْ حُجَّتَكَ ، اَللَّهُمَّ عَرِّقْنِي حُجَّتَكَ فَانَّكَ اِنْ لَمْ تُعَرِّفْنِيْ حُجَّتَكَ ضَلَلْتُ عَنْ دِيْنِي
โอ้ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โปรดแนะนำข้าฯให้รู้จักพระองค์ ถ้าหากพระองค์ไม่โปรดให้ข้าฯรู้จักพระองค์ ข้าฯก็ไม่อาจรู้จักศาสดาของพระองค์ โอ้ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โปรดแนะนำข้าฯให้รู้จักศาสดาของพระองค์ ถ้าหากพระองค์ไม่โปรดให้ข้าฯรู้จักศาสดาของพระองค์ ข้าฯก็ไม่อาจรู้จักข้อพิสูจน์ของพระองค์ โอ้ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โปรดแนะนำข้าฯให้รู้จักข้อพิสูจน์ของพระองค์ ถ้าหากพระองค์ไม่โปรดให้ข้าฯรู้จักข้อพิสูจน์ของพระองค์ ข้าฯก็จะหลงทางออกไปจากศาสนาของข้าฯ
และท้ายสุดขอวิงวอนต่อพระองค์ว่า โอ้ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โปรดทำให้ภารกิจในบั้นปลายสุดท้ายของพวกเรากลายเป็นสิ่งดีงาม โดยสิทธิของมุฮัมมัดและลูกหลานผู้บริสุทธิ์ของมุฮัมมัด ขอพระองค์ทรงประสาทพรแก่พวกเขาตลอดไป และทรงสาปแช่งกลุ่มชนที่เป็นศัตรูกับพวกเขาไปตลอดกาลตราบจนถึงวันแห่งการฟื้นคืนชีพ ขอพระองค์ทรงโปรด โอ้พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก
ศูนย์ตอบข้อวินิจฉัยและคำถามเกี่ยวกับศาสนาประจำสำนักงานของท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา ฟาฎิล ลันกะรอนียฺ
[๑] (มุอฺมินุน ๙๑)
[๒] (อัมบิยาอฺ ๒๒)
[๓] (อาลิอิมรอน ๑๘)
[๔] (อิคลาซ)
[๕] (นะญุลบะลาเฆาะฮฺ ซุบฮิซอลิฮฺ จดหมายที่ ๓๑)
[๖] (อาลิอิมรอน ๑๘)
[๗] (อัมบิยา ๔๗)
[๘] (เตาบะฮฺ ๑๒๘)
[๙] (ยูซุฟ ๙๒)
[๑๐] (อุซูลกาฟียฺ เล่ม ๑ หน้า ๕๘ ฮะดีซ ๑๙)
[๑๑] (ฮิจรฺ ๙)
[๑๒] (อันอาม ๑๒๔)
[๑๓] (เกาะซ็อซ ๖๘)
[๑๔] (โปรดค้นคว้าเพิ่มเติมได้จากหนังสือ มุรอญิอาต และหนังสืออิฮฺกอกุลฮัก เล่ม ๔ )
[๑๕] (มาอิดะฮฺ ๖๗)
[๑๖] (อัล มาอิดะฮฺ ๓)
[๑๗] (ศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือ อัล-เฆาะดีร เขียนโดย อัลลามะฮฺ อามีนียฺ)
[๑๘] (อัล-อันฟาล ๔๒)
[๑๙] (บิฮารุลอันวาร เล่ม ๕ หน้า ๖๘ ฮะดีซที่ ๑)
[๒๐] (มะฮฺดี เมาอูด หน้า ๕)
[๒๑] (อัลซัลซะละฮฺ ๖-๘)
[๒๒] (นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คุฏบะฮฺที่ ๑)
Index |